ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้โพสข้อความระบุว่า
กบฎก้าวไกล ลุ้นประหารชีวิต
จากกรณี เมื่อ วันที่ 31 มกราคม 2567 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง นั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย ก่อนมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล มีพฤติกรรม สนับสนุน อ้างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อให้เกิดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมสั่งยุติการกระทำ
1 ก.พ.2567 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เดินทางไปยื่น หนังสือถึง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. เพื่อขอให้ นำคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสิน อาจเป็นการกระทำเข้าข่ายฐานความผิด ข้อหาเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.113(1)
ที่ระบุว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(๒) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(๓) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
”ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต“
จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีผู้ถูกประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ในหลายเหตุการณ์ เช่น
กบฏ ร.ศ. 130 เป็นความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสาธารณรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สาเหตุเกิดจากนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่งไม่พอใจต่อการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการบริหารราชการของพระมงกุฎเกล้า
1 เมษายน พ.ศ. 2455 (111 ปีที่แล้ว ณ จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม
เมื่อการปฏิวัติล้มเหลว ร้อยเอก ยุทธ คงอยู่ ยอมรับสารภาพโดยเปิดเผยแผนและชื่อทั้งหมดก่อนการก่อกบฎ
ในกลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิด มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตสามคน จำคุกตลอดชีวิต 20 คน, จำคุก 20 ปี 32 คน, จำคุก 15 ปี 6 คน และอีก 30 คนจำคุก 12 ปี
ผู้สมรู้ร่วมคิดส่วนใหญ่ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือลดหย่อนโทษ
ส่วนกรณีพิธาพร้อมกับกรรมการบริหารพรรค และ สส.อีก 44 คนนั้น ไม่น่าเกินกลางเดือนมีนาคม 2567 คงจะรู้ผลว่าอะไรจะเกิดขึ้น และจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เหมือน “กบฎ” คณะอื่นๆหรือไม่
” กรรมเกิดจากการกระทำ กรรมยุติธรรมเสมอ “
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
7 กุมภาพันธ์ 2567