คุณอาจจะยังไม่รู้ !! อันตรายจากการกิน “ปลานิล”
ไม่ว่าจะนำไปประกอบอาหารอะไร อาทิ ทอด ต้มแกง ปลานิลเป็นอาหารที่ทำง่ายๆและทุกบ้านก็ต้องมี
ปลานิลอาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแอฟริกา และพบทั่วไปตามหนองน้ำ บึง และทะเลสาบ
แต่ทว่าสำนักข่าวต่างประเทศออกมารายงานว่า 5 สาเหตุที่ไม่ควรกินปลานิลคือ…
1. ทำลายธรรมชาติ
เพราะจะมีการบริโภคปลานิลมากกว่าปลาชนิดอื่น ทำให้ผู้ผลิตหลายแห่ง และมีเว็บไซต์เกี่ยวกับสุขภาพออกมาแสดงความคิดเห็นว่า : “เมื่อปลาไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เมื่อปลาออกจากฟาร์มปลา จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รวมทั้งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมระบบนิเวศท้องถิ่น ก่อให้เกิดมลพิษในน้ำทำให้สัตว์ชนิดอื่นๆติดเชื้อโรคไปด้วย”
2. ปริมาณไขมันที่ไม่ดีสูงเกินไป
ปลานิลกินพืชและสาหร่ายเป็นอาหาร แต่ปลานิลที่เลี้ยงเพื่อจำหน่ายกลับกินข้าวโพด ถั่วเหลืองเป็นอาหาร โดยเจ้าของฟาร์มปลาบอกว่า ปลานิลเป็นปลาที่มีไขมันมาก ตัวอ้วนใหญ่ แต่ไขมันในร่างกายของปลาไม่มีประโยชน์กับร่างกายของมนุษย์มากเท่าไร มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐรายงานว่า “กรดไขมันโอเมก้า 6 ในปลานิลมีมากกว่าเบอร์เกอร์และเบคอน”
3.มีส่วนผสมของสารเคมี
โชคร้าย! ที่ส่วนใหญ่ปลานิลที่เราซื้อตามซุปเปอร์มาร์เกต นั้นได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมและเต็มไปด้วยยาฆ่าแมลงและยาปฏิชีวนะ ความจริงของเกษตรกรที่พยายามป้องกันการป่วยและการแพร่กระจายของโรค ปลานิลจึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่อันตราย
เมื่อเร็วๆมานี้ได้ตรวจพบสารดีบุกไดบิวทิล ทิน(DBT)ในเนื้อปลา ที่เป็นสารเคมีจากท่อพลาสติกPVC ผู้เชียวชาญต่างประเทศยังกล่าวอีกว่า สารเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคอ้วน, โรคภูมิแพ้, หอบหืด, โรคการเผาผลาญและปัญหาอื่น ๆ
4. ปลานิลกินอุจจาระเป็นอาหาร
เพราะการเพาะเลี้ยงที่มีความหนาแน่สูง ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่แออัดมาก ทำให้ปลากินอุจจาระกันเอง ที่ผ่านมาการเลี้ยงปลานิลที่ประเทศจีนถูกเปิดโปงว่า ใช้อุจจาระของหมูและห่านเป็นอาหารให้ปลานิล มหาวิทยาลัยจอร์เจียศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร “ไมเคิลดอยล์” ได้ออกมาเปิดเผยว่า
“บริษัทเพาะเลี้ยงปลานิลจำนวนมากในประเทศจีน ใช้อุจจาระแทนอาหารที่มีจุลินทรีย์และมีเชื้อซัลโมเนลลา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง”
5.อาจเป็นสารก่อมะเร็ง
ปลานิลยังมีสารไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วต้องใช้เวลาถึง 11 ปีเพื่อชะล้างสารตกค้างในร่างกายออกได้หมด
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการอ้างอิงจากการตรวจพบในเนื้อปลานิลที่เพาะเลี้ยงในต่างประเทศเท่านั้น !
ที่มา:http://ka.tsgclub.net/56949/
AdminPhaitong สำนักข่าว vihok news