น้ำท่วมขังรอการระบายจากปริมาณฝนตกยังคงจะเป็นปัญหาของคนในหลายจังหวัด ไม่เพียงแค่ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น
ทว่า ยังมีอีกหลายจังหวัดที่จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับอิทธิพลจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมพื้นที่ตอนบนของประเทศ รวมทั้งผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จนถึงวันที่ 9 ก.ย. นี้
สถานการณ์ในวันนี้ สำหรับคนในกรุงเทพฯ นายอาสา สุขขัง ระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลสื่อมวลชนว่า จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า วันนี้ (7 ก.ย.) และวันพรุ่งนี้ (8 ก.ย.) จะยังมีฝนหนักถึงหนัก โดยคาดว่า ในวันนี้ฝนจะตกในช่วงตั้งแต่ราว 15.00 น. และตกเพิ่มขึ้นในช่วงเย็น-ค่ำ ราวเวลา 18.00-21.00 น. และเที่ยงคืนจนถึง 03.00 น. ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งน
ส่วน สถานการณ์ในต่างจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า อิทธิพลจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมใน 13 จังหวัด รวม 18 อำเภอ 23 ตำบล 33 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 62 ครัวเรือน
แม้ว่า ขณะนี้สถานการณ์จะคลี่คลายแล้ว แต่ยังมีพื้นที่น้ำท่วมจากผลกระทบพายุหมาอ๊อน รวม 4 จังหวัด ได้แก่ จ.อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี จำนวน 14 อำเภอ 124 ตำบล 596 หมู่บ้าน
เตือน 55 จังหวัดเสี่ยงผลกระทบจากฝนตกหนัก
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกคำเตือนประชาชนใน 55 จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก จนถึงเวลา 6.00 น. ของวันพรุ่งนี้ (8 ก.ย.) ประกอบด้วย
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, แพร่, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, ตาก, กำแพงเพชร, พิจิตร, พิษณุโลก, และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, อำนาจเจริญ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, สมุทรสงคราม, และสมุทรสาคร
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, และตราด
- ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, และกระบี่
ฝนตกสะสมสัปดาห์แรก ก.ย. สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี 100%
ในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายคนแชร์กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ กทม. ซึ่งบีบีซีไทยตรวจสอบข้อมูลล่าสุดในวันนี้ (7 ก.ย.) พบว่ามีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. – 7 ก.ย. มี 1
ขณะที่ ปริมาณฝนตกนับตั้งแต่วันที่ 1-7 ก.ย. หรือสัปดาห์แรกของเดือน ก.ย. ปริมาณฝนสะสมสูงถึง 156.5 มิลลิเมตร คิดเป็น 54.2% ของปริมาณฝนตกทั้งเดือน ก.ย. ในปี 2564 ในเขตกรุงเทพฯ และหากเทียบกับช่วงค่าเฉลี่ยฝนตกในรอบ 30 ปี ถือว่าสูงกว่าถึง 142.3%
สรุป 5 พื้นที่ที่มีปริมาณฝนสูงสุดในกรุงเทพฯ
จุดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดหลังจากฝนที่ตกหนักตั้งแต่วานนี้จนถึงเช้าของวันนี้ (7 ก.ย.)ประกอบด้วย 5 จุดใหญ่ หากพิจารณาจากจุดวัดในเขตกรุงเทพฯ โดยข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
- อันดับที่ 1: คลองบางบัว เขตบางเขน 178 มม.
- อันดับที่ 2: สำนักงานเขตหลักสี่ 124 มม.
- อันดับที่ 3: สำนักงานเขตพญาไท 99 มม.
- อันดับที่ 4: สำนักงานเขตห้วยขวาง 93 มม.
- อันดับที่ 5: สถานีสูบน้ำรัชดา-วิภาวดี เขตจตุจักร 90.5 มม.