เพลงเคารพในโรงหนังในยุคคณะราษฎร
– การบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงภาพยนตร์ มีมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่เป็นเพียงธรรมเนียม มิใช่กฎหมาย และเป็นการบรรเลง “หลัง” ฉายภาพยนตร์จบ
-3 ปี หลังรัฐประหารของ คณะราษฎร ในปี 2475 “พระยาพหลฯ” หัวหน้าคณะราษฎรได้ทำให้การยืนเคารพเพลงสรรเสริญในโรงหนังเป็น “ระเบียบ”
-ในปี 2484 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามรับรองกฎหมายให้มีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยืนเคารพ เพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์
-ในปี 2485 จอมพล ป. ผู้นำคณะราษฎรได้ประกาศให้กฎหมายมีผล “บังคับ” และผนวกระเบียบเกี่ยวกับการบรรเลงเพลงสรรเสริญในโรงหนังเป็นส่วนหนึ่งของกลไกเครื่องมือในการปฏิวัติวัฒนธรรมตามแนว “รัฐนิยม”
-ยิ่งไปกว่านั้น จอมพล ป.ยังริเริ่มให้เกิดธรรมเนียมบรรเลงเพลงเคารพ “ก่อน” ภาพยนตร์จะเริ่มฉาย แต่เพลงที่บรรเลงมิใช่เพลงสรรเสริญพระบารมีแต่เป็นเพลง “สดุดี” จอมพล ป.เอง
1. “ยืนเคารพเพลงสรรเสริญถูกใช้เป็นเครื่องมือ” รัฐนิยม” ของจอมพล ป.”
80 ปีที่แล้ว วันที่ 8 กันยายน 2482
จอมพล ป.พิบูลสงคราม “ท่านผู้นำ” จากคณะราษฎรที่ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ในปี 2475 ได้ออกประกาศ (คำสั่ง) 12 ฉบับ
ตามนโยบาย “#ปฏิวัติวัฒนธรรม” แบบ รัฐนิยมของชาติไทยเสียใหม่
หนึ่งในประกาศ 12 ฉบับก็คือ คำสั่งให้ยืนเคารพ ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี
2. เนื้อหาในคำสั่งระบุว่า
“ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า #ธงชาติ #เพลงชาติ และ #เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับการเชิดชูเคารพของชาวไทยทั้งมวล จึ่งประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดั่งต่อไปนี้
… (4) เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในโรงมหรสพหรือในงานสโมสรใด ๆ ก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงาน หรือที่อยู่ในวงงาน หรือในโรงมหรสพนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพดั่งกล่าว….พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี….
ประกาศมา ณ วันที่ 8 กันยายน พุทธศักราช 2482
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี”
(ที่มา: ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ ๔ เรื่องการเคารพธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี)
3. ประกาศ12 ฉบับ ตามนโยบาย รัฐนิยม ของ จอมพล.ป.ท่านผู้นำจากคณะราษฎร เริ่มจากเดือนมิถุนายน พ.ศ.2482 ถึงเดือนมกราคม 2485 เป็นมาตรการ “ชักชวน” และ “บังคับ” (ดูใน 8-9)
4. เหตุผลส่วนหนึ่งของการปฏิวัติวัฒนธรรมก็คือ
“…ประเทศไทยยังไม่มีประเพณี ระเบียบแบบแผนเหมือนอารยะประเทศทั้งหลาย อันประเพณีหรือขนบธรรมเนียมของชาติ เท่าที่สังเกตมารู้สึกว่าคนไทยยังละเลยอยู่มาก เช่น การแต่งกายก็ยังไม่มีระเบียบ มีนุ่งผ้าบ้าง กางเกงบ้าง ผ้าขาวม้าบ้าง กางเกงชั้นในบ้าง ฯลฯ เป็นเหตุให้ชาวต่างประเทศที่ได้พบเห็น นำไปพูดในทางที่ไม่ดี….”
5. ประกาศ คำสั่ง รัฐนิยม ของ” ท่านผู้นำ” แห่งคณะราษฎร ครอบคลุม
-การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย
-การเปลี่ยนเนื้อร้องและทำนองเพลงชาติ และเพลงสรรเสริญบารมี
-การกำหนดให้ประชาชนต้องเคารพธงชาติ
-การฟังวิทยุกรมโฆษณาการ (สถานีเดียวในขณะนั้น)
ฯลฯ
6. “เพลงสรรเสริญในโรงหนังมีมานาน เป็นธรรมเนียมไม่ใช่กฎหมาย”
โดม สุขวงศ์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ระบุว่าธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีโรงภาพยนตร์แล้ว โดยเฉพาะโรงหนังญี่ปุ่นหลวง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งแรกในสยาม และเป็นโรงแรกที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดิน
พิธีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์นั้นมีต้นตอมาจากประเทศอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษที่ 1910 ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 5 โดยจะมีการบรรเลง God save the King หลังจากฉายภาพยนตร์เสร็จ
เพลงสรรเสริญพระบารมีในยุคหนังเงียบ ต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมบรรเลงประกอบการฉายเพื่อถวายความเคารพเมื่อภาพยนตร์ฉายจบ หรือ “หลัง” ฉายภาพยนตร์
โดยแรกๆ คงบรรเลงอย่างเดียว ต่อมาจึงฉายกระจกพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินขึ้นบนจอด้วย ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด
7. พระยาพหลฯ(หน.คณะราษฏร) เปลี่ยน “ธรรมเนียม” บรรเลงเพลงสรรเสริญให้เป็น “ระเบียบ”
หลังรัฐประหาร 2475 ใหม่ๆ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2478 รัฐบาลพลเอกพหลพลพยุหเสนา (หัวหน้าคณะราษฎร) มีการออกพระราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “ประกาศระเบียบการบรรเลงเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี” โดยในข้อ 6 มีการระบุไว้ว่า
“ในการมหรสพ สมควรบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบสังเขป แต่ถ้ามีการแสดงเป็นพิธีใหญ่ก็สมควรบรรเลงแบบพิสดาร”
8. “ปรีดี’ ลงนามเอาผิดคนไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญ จอมพล ป.ประกาศบังคับเป็นกม.”
เป็น”คณะราษฏร” ที่เปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัตินี้เป็นการ “บังคับ” โดยออกเป็นกฎหมาย พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า อาทิตย์ทิพอาภา และ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงนามใน วันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480
และวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2484 และมาประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายในปี 2485 สมัยจอมพล ป.
9. โดยในพระราชกฤษฎีกาวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 6 วรรค 3
บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี คือ
(3) เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่นๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ
ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา6 (ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ.2485)
มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท (ในสมัยนั้น) หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
(หมายเหตุ: ปัจจุบันพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ได้ถูกยกเลิกแล้ว และได้ถูกแทนที่โดยพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. 2553 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว พระราชบัญญัติใหม่นี้)
10. จอมพล ป. แห่ง “คณะราษฎร” ได้มีหนังสือไปถึงคณะกรรมการจัดหวัดทุกจังหวัด และอธิบดีกรมตำรวจให้สอดส่องดูแลตักเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเกี่ยวกับการแต่งกายของประชาชน
11. ในวันคล้ายวันเกิดของ จอมพล ป. (14 กรกฎาคม) ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดงาน และมีการชักชวนให้ประชาชน ชักธงชาติขึ้นเสาตามข้อเสนอของหลวงวิจิตรวาทการ
12. “จอมพล ป.” ให้คนยืนเคารพตัวเอง “ก่อน” หนังฉาน
ยิ่งไปกว่านั้น จอมพล ป.ยังได้ได้ริเริ่มธรรมเนียม ทางโรงภาพยนตร์จะต้องเปิดเพลงมหาฤกษ์มหาชัย และให้ผู้ชมทุกคนยืนตรงเพื่อทำความเคารพรูปของท่านผู้นำ “ก่อน” ฉายภาพยนตร์
กระทั่งมีการแต่งเพลงประจำตัวของท่านผู้นำ “สดุดีพิบูลสงคราม”
“ไชโย วีรชนชาติไทย
ตลอดสมัย ที่ไทยมี
ประเทศไทย คงชาตรี
ด้วยคนดี ผยองชัย
ท่านผู้นำ พิบูลสงคราม
ขอเทิดนาม เกริกไกร
ขอดำรง คงไทย
ตลอดสมัย เทิดไทย ชะโย”
โดย มีสง่า อารัมภีร์ เป็นผู้ประพันธ์ เนื้อร้อง และพระเจนดุริยางค์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง
13. เพลง “สดุดี ป. พิบูล-สงคราม” จะถูกเปิดก่อนฉายภาพยนตร์ โดยโรงหนังประกาศขอให้ผู้ชม “ลุกขึ้นคารวะท่านผู้นำ”
เมื่อหนังจบจึงขึ้นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพลงสรรเสริญพระบาร
14. “ยกตัวเทียบฟ้า ถูกชาวบ้านด่า ” กูไม่เคารพ…ไม่ใช่ในหลวง” จนต้องเลิก
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เปิดเพลงและขึ้นรูป “ท่านผู้นำ” คือ “บ้านไร่นาเรา” ซึ่งฉายในช่วงต้นปี 2485
สง่า อารัมภีร์ คนแต่งเพลงเล่าว่า “ศาลาเฉลิมกรุงดำริเปิดการแสดงด้วยคณะปรีดาลัย ฯลฯ ก่อนแสดงละครก็ฉายภาพยนตรฺ์โฆษณา มีการฉายภาพจอมพล ป. และเพลงนี้(สดุดี ป. พิบูล-สงคราม)ทุกรอบ…
….ภายหลังมีประกาศของให้ผู้ชมลุกขึ้นยืนคารวะท่านผู้นำ มีเสียงตะโกนว่า
“กูไม่ยืนเคารพโว้ย ท่ามจอมพลไม่ใช่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของเรา”
ก็มีเสียงตะโกนดังนี้ทุกรอบๆ เจ้าหน้าที่โรงไปแจ้งความตำรวจ ตำรวจเข้ามาก็จับใครไม่ได้ เขาตะโกนตรงโน้นตรงนี้ จนไม่รู้ว่าใครบ้างที่ตะโกน… ต่อมามีการสร้างความเสียหาย
จึงมีคำสั่งให้หยุดฉายเพลงจอมพล ป. พิบูลสงครามในที่สุด
(ที่มา สง่า อารัมภีร “ผมก็ร่วมแต่งเพลง สดุดี ป.พิบูลสงคราม