จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังมีหลายพื้นที่เสี่ยงที่อาจเป็นพื้นที่แพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนคลองเตย และชุมชนโดยรอบที่มีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
กระทรวงกลาโหมร่อนหนังสือขอความร่วมมือด่วนไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้พิจารณาจัดตั้งโรงพยาบาลสนามคลองเตย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยมีเนื้อความระบุว่า
ตามที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงงกลาโหม มีบัญชาการและห่วงใยในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ขยายเป็นวงกว้างและพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้้น โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อเตรียมการรองรับ หากทีการแพร่ระบาดในชุมชนจำนวนมาก เป็นการลดภาระด้านสาธารณสุขในระบบ ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรแพทย์และเตียงรับผู้ป่วย
กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นว่า ชุมชนคลองเคยและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีสภาพแออัดและประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กรณีพบการติดเชื้อฯ หากไม่นำเข้าสู่ระบบสาธารณสุขโดยเร็วและทันเวลา จะส่งผลให้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จนเกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขดังนั้น จึงขอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการใช้อาคารโกดังสเตเดียมเพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยใช้ศักยภาพและสถานที่ที่มีพร้อมอยู่แล้ว เพื่อช่วยเหลือประชาชน และเป็นไปตามบัญชาของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉึกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการปฏิบัติและสนับสนุน การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
กรุงเทพมหานคร มีผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาการติดเชื้อของผู้ป่วยในชุมชนคลองเตย ที่อาจจะเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการระบาดรอบใหม่ครั้งนี้ เนื่องจากมีประชาชนในชุมชนประมาณ 80,000-90,000 ราย ที่ทำงานกระจายกันอยู่ทั่ว กทม. ซึ่งน่าจะมีผู้ป่วยในชุมชนเป็นจำนวนมาก
จากการทำการตรวจเชิงรุก พบว่า มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 5-10% ที่โรงพยาบาลจุฬา พบผู้ป่วยปอดอักเสบจากชุมชนคลองเตยที่มารักษาตัวมากขึ้นในระยะนี้ดังนั้นจะต้องมีการร่วมกันทำงานทุกฝ่ายเพื่อควบคุมการติดเชื้อเพื่อไม่ให้กระจายวงกว้างออกไปและนำผู้ป่วยในชุมชนออกมารับการรักษา แต่จะเป็นปัญหาที่ท้าทายมากๆ ทั้งจำนวนประชาชนจำนวนมาก พื้นที่ที่กว้างขวาง และประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งผู้สูงอายุ และเด็กจำนวนมาก
ทั้งนี้พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด เขตคลองเตย ในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 มีทั้งสิ้น 304 ราย แบ่งเป็นผู้อาศัยในแหล่งชุมชนแออัด 193 ราย ส่วนอีก 111 ราย อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น คอนโด หอพัก เป็นต้น โดยผู้ติดเชื้อ 12 ชุมชนในเขตคลองเตย ประกอบด้วย
- ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย มีประชากรประมาณ 5,000 คน พบติดเชื้อ 7 คนคิดเป็น 0.14%
- ชุมชนพัฒนาใหม่ มีประชากรประมาณ 1,469 คน พบติดเชื้อ 78 คนคิดเป็น 5.31%
- ชุมชนวัดคลองเตยใน 2 มีประชากรประมาณ 2,028 คน พบติดเชื้อ 14 คนคิดเป็น 0.69%
- ชุมชนร่มเกล้า 2 มีประชากรประมาณ 2,170 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.09%
- ชุมชนแฟลต 1-10 มีประชากรประมาณ 10,490 คน พบติดเชื้อ 6 คนคิดเป็น 0.06%
- ชุมชนแฟลต 11-18 มีประชากรประมาณ 3,797 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.05%
- ชุมชนแฟลต 19-22 มีประชากรประมาณ 2,050 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.10%
- ชุมชนล็อค 1-2-3 หรือชุมชนร่มใจไพรินแดง มีประชากรประมาณ 8,325 คน พบติดเชื้อ 8 คนคิดเป็น 0.10%
- ชุมชนล็อค 4-5-6 มีประชากรประมาณ 1,736 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.12%
- ชุมชน 70 ไร่ มีประชากรประมาณ 9,685 คน พบติดเชื้อ 37 คนคิดเป็น 0.38%
- ชุมชนหมู่บ้านมั่นคง มีประชากรประมาณ 278 คน พบติดเชื้อ 3 คน
- ชุมชนริมคลองวัดสะพาน มีประชากรประมาณ 1,150 คน พบติดเชื้อ 17 คนคิดเป็น 1.48%
กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ชุมชนคลองเตยมีความเป็นอยู่แออัด แยกกักตัวได้ยาก และส่วนใหญ่ทำงานอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร และมีอาชีพที่ไม่สามารถ Work Form Home ได้ หากควบคุมการระบาดของคลัสเตอร์ดังกล่าวไม่ได้ อาจทำให้สถานการณ์ระบาดแย่ลงดังนั้นรัฐจึงควรเร่งจัดให้มีการกักตัวหรือสังเกตอาการในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อลดการติดเชื้อทั้งหมดเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนแออัดคลองเตย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งคลัสเตอร์ที่ต้องเร่งควบคุมการระบาดในเวลานี้ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดโควิดที่วัดสะพาน ระหว่างรอนำส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นการแยกผู้ติดเชื้อ และดูแล