ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้โพสข้อความระบุว่า การบินไทยไม่มีวันเจ๊ง
หากศึกษาประวัติ การบินไทย จำกัด (มหาชน) กำเนิดจากที่รัฐบาลไทยให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับสายการบินสแกนดิเนเวียน ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศโดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จึงเป็นสายการบินแห่งชาติ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี และในที่สุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2505 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ของเครื่องบินไอพ่น คอนแวร์990 โคโรนาโด ขนาด 99 ที่นั่ง อันมีสมรรถนะรวดเร็วที่สุดในขณะนั้น ซึ่งจัดซื้อเข้าประจำการเป็นลำแรก นอกจากนั้น การบินไทยยังเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 40 ล้านบาท
พ.ศ. 2520 – หลังจากครบสัญญาร่วมทุนเป็นระยะเวลา 17 ปี กระทรวงการคลังก็ซื้อหุ้นคืนจากเอสเอเอส ส่งผลให้การบินไทยตกเป็นของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์
พ.ศ. 2533 – ครบรอบ 30 ปีการบินไทย ผลประกอบการก่อนหักภาษี ได้รับกำไร6,753.6 ล้านบาท ถือเป็นลำดับรองจากจุดสูงสุดของผลกำไรตลอดมา และให้บริการผู้โดยสารสูงสุดตลอดมาที่ 8.3 ล้านคน ทั้งนี้ยังจัดซื้อเครื่องบินโบอิง 747-400 ลำแรกและมีการพัฒนานาเพิ่มทุนมาอย่างต่อเนื่อง
ผลขาดทุน/กำไร 6 ปี การบินไทย (ล้านบาท)
2557 |
2558 |
2559 |
2560 |
2561 |
2562 |
-15,572 |
-13,047 |
+15.14 |
-2,107 |
-11,625 |
-12,042 |
ปัจจุบันสายการบินทั่วโลก ขั้นเจ๊งกันหมดเพราะไม่มีผู้โดยสารมาใช้บริการจากพิษโควิด-19 สายการบินแห่งแรกที่เจอปัญหาสภาพคล่องคือสายการบินฮ่องกง ขั้นไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน และไม่มีเงินพอจะจ่ายค่าที่จอดเครื่องบิน จนโดนยึดเครื่องไว้เป็นประกัน
ในการบริหารประเทศ ที่รัฐบาลมีหน้าที่บริหารองค์การ และองค์กรของรัฐ ก็มีทั้งกำไรและขาดทุน เป็นเรื่องธรรมชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างสมดุลเชิงการบริหาร หากเป็นองค์การขนาดใหญ่ การขาดทุนเพื่อกำไร ย่อมมีความจำเป็นในการบริหารองค์การ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ อันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการท่องเที่ยว แต่ผลกำไรย่อมจะดีกว่าการขาดทุน
การอุดหนุนการบินไทยของรัฐบาลมูลค่า 5 หมื่นล้าน ในยามประเทศเกิดวิกฤติ แม้จะถูกตำหนิว่าเอาภาษีประชาชนมาใช้อุดหนุนนั้น ในทางกลับกันถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ประชาชนได้รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าการบินไทยเจ็งเพราะการซื้อเครื่องบินฝูงใหญ่ในสมัยทักษิณ การลงทุนร่วมกับมาเลเซียของทักษิณ ใช้อำนาจเปิดเสรีให้สายการบินมาเลเซียที่ตนเองถือหุ้นมาแข่งกับไทยจนสายการบินไทยเจ๊ง ทำให้พนักงานการบินไทยจึงต่อต้านทักษิณเสมอมา
อีกทางหนึ่งก็จะมีการปฏิรูปการบินไทยให้ดีขึ้น ปรับขนาดองค์กร ให้กระชับ มีคุณภาพ “ตัดแขนขา เพื่อรักษาชีวิต” การเจรจาผ่อนชำระหนี้ บอร์ด-ผู้บริหาร-พนักงาน ย่อมจะต้องรวมกันระดมความคิด อย่าให้ผู้บริหารสั่งการ เพราะจะเกิดแรงต่อต้านจากภายใน ยิ่งจะสร้างความโกลาหลหนักขึ้นไปอีก ในการช่วยเหลือกัน ลดบรรดา VIP ที่ได้สิทธิพิเศษในการเดินทาง และให้กระทรวงท่องเที่ยว-คมนาคม ร่วมกันสร้างจุดร่วมการท่องเที่ยวร่วมกัน
หากเดินตามหลักยุทธศาสตร์ “ไวรัสพินาศ ประชาชนพ้นภัย” ที่ยึดกรอบเวลา แบ่งเป็น ระยะสั้น กลาง ยาว ที่มียุทธวิธี ป้องปราม เยียวยา และฟื้นฟู ที่กำหนดเวลาไว้ในเดือน เมษายน(ป้องปราม) เข้าสู่ล๊อคดาว์ พฤษภาคม(เยียวยา) คลายล๊อคดาว์ ภายในประเทศทั้งหมด-ยกเลิกเคอร์ฟิว มิถุนายน(ฟื้นฟู) เปิดล๊อคดาว์นอกประเทศ-ฟื้นฟูการท่องเที่ยว กรกฎาคม(เก็บเกี่ยว) จัดการเลือกตั้งท้องถิ่น-เตรียมรับมือน้ำท่วม-กระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจ การบินไทยจึงเปรียบเหมือนสะพาน-หน้าตา ที่เชื่อมต่อโลกสู่การท่องเที่ยวไทย-ความเชื่อมั่นสู่การลงทุน
การบินไทยและธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่การท่องเที่ยวอันเป็นรายได้หลักของประเทศ ก็จะเริ่มมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป และจะดีมากตั้งแต่ปี 2564 ที่จะเกิดการลงทุน การเดินทาง ที่สำคัญจะเกิดเซอร์ไฟรส์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปประเทศ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ครั้งใหญ่เกิดขึ้น
“ การบินไทยหาก ตัดแขนขา เพื่อรักษาชีวิต มินานก็จะเติบโต กลับมาต่อแขนขายืนหยัดได้อย่างมั่นคงได้อีกครั้ง ”
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
10 พฤษภาคม 2563