วันนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ ศาบอาญา ถนนรัชดาภิเษก พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ นำม็อบ นปช. พร้อมทนาย ได้เดินทางมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาในคดีชุมนุมปิดสภา หมายเลขดำอ.887/63 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ต เสงี่ยม สำราญรัตน์ อายุ 69 ปี ชาวจ.ชุมพร แกนนำกลุ่ม นปช.เป็นจำเลยในความผิดฐาน “ร่วมกันชุมนุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, ทำร้ายร่างกาย, หน่วงเหนี่ยวกักขัง , ทำให้เสียทรัพย์และอื่น ๆ”
จากกรณีเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 53 จำเลยกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาชนประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคน โดยจำเลยนำกลุ่มผู้ชุมนุมหลายร้อยคนขย่มทำลายประตูรั้วอาคารรัฐสภา เพื่อขัดขวางปิดทางเข้าออกเพื่อมิให้รัฐมนตรี และ สส.พรรคร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้าประชุมรัฐสภา ทำให้ทรัพย์สินเสียหายประมาณ 6 พันบาท หลังจากนั้นจำเลยกับพวกได้ขับรถยนต์ติดตั้งเครื่องขยายเสียงสำหรับใช้ปราศรัยปลุกระดมผู้ร่วมชุมนุม เป็นเหตุให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกหลายคน รวมทั้ง สส. ต้องติดอยู่ภายในอาคาร และต้องหลบซ่อนตัวไม่สามารถหลบหนีออกมาได้
นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ รปภ.ที่ดูแลอาคารได้รับบาดเจ็บหลายนาย รวมทั้งแย่งอาวุธปืนขนาด 11 มม. และปืน เอ็ม 16 ของเจ้าหน้าที่ไปโดยทุจริต โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย สำหรับคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด และได้รับการประกันตัว
เมื่อถึงเวลาศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยมีความผิด ร่วมกันบุกรุกรัฐสภา จำคุก 1 ปี ปรับ 12,000 บาท แต่จำเลยก็ให้การเป็นประโยชน์ จึงรถโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 8 เดือน ปรับ 8,000 บาท อีกทั้งจำเลยยังทำตัวเป็นประโยชน์พยายามป้องกันไม่เกิดเหตุรุนแรง โดยการนำอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ไปคืนให้กับตำรวจทันทีหลังจากเกิดเหตุ และไม่เคยต้องโทษกระทำความผิดมาก่อน จึงให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
พันตำรวจตรี เสงี่ยม เปิดเผยภายหบังศาลพิพากษาว่า รู้สึกพึงพอใจผลคำพิพากษาที่ศาลให้ความยุติธรรม เนื่องจากการชุมนุมในครั้งนั้นเป็นการชุมนุมตามสิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนเองเป็นเพียงแค่ผู้ร่วมชุมนุมไม่ได้เป็นแกนนำ แต่กลุ่มมวลชนไปพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจพกพาอาวุธสงคราม และอาวุธปืน 11 มม. อยู่ในรัฐสภา จึงไปยึดอาวุธมาเพราะเกรงว่ามวลชนอาจจะไม่ปลอดภัย ซึ่งหลังจากเกิดเหตุดังกล่าวตน เองมีเจตนาดี นำอาวุธปืนทั้ง 2 กระบอก ไปคืนให้แก่ตำรวจทันทีหลังจากเกิดเหตุ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ว่าไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงตามมา
ด้าน นายกฤษณ์ ขำทวี ทนายความ เปิดเผยว่า ศาลเห็นว่าจำเลยมีความผิดในข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ แม้ว่าในขณะเกิดเหตุกลุ่มผู้สุขุมได้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่เข้าไปในรัฐสภาก็ตาม แต่ศาลมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการนำมวลชนไปกดดันเพื่อที่จะเข้าไปในรัฐสภา ทางเจ้าหน้าที่จึงอนุญาตเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง จึงพิพากษาให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวเพียงข้อหาเดียว
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 จำเลยกับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาชนประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. และกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคน โดยจำเลยนำกลุ่มผู้ชุมนุมหลายร้อยคนขย่มทำลายประตูรั้วอาคารรัฐสภาเพื่อขัดขวางปิดทางเข้าออกเพื่อมิให้รัฐมนตรี และ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าประชุมรัฐสภา ทำให้ทรัพย์สินเสียหายเป็นมูลค่าประมาณ 6,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยกับพวกได้ขับรถยนต์ติดตั้งเครื่องขยายเสียงสำหรับใช้ปราศรัยปลุกระดมผู้ร่วมชุมนุมเป็นเหตุให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรี และ สส.ต้องติดอยู่ภายในอาคาร และต้องหลบซ่อนตัวไม่สามารถหลบหนีออกมาได้
นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ รปภ.ที่ดูแลอาคารได้รับบาดเจ็บหลายนาย รวมทั้งแย่งอาวุธปืนขนาด 11 มม. และปืน เอ็ม 16 ของเจ้าหน้าที่ไปโดยทุจริต โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด และได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณา