คุณภาพอากาศ จังหวัดเชียงใหม่
วันนี้มีดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 160.25 จัดอยู่ในระดับ “แย่”
ประชาชนทั่วไป
ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ
ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)
เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่
1. PM2.5 หรือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม
ผลกระทบต่อสุขภาพ
สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด
PM 2.5 โดยรวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่
วันนี้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 76 ug/m3 จัดอยู่ในระดับ “แย่”
PM 2.5 ต.ช้างเผือก จ.เชียงใหม่
วันนี้วัดได้ 93 ug/m3 จัดอยู่ในระดับ “แย่”
PM 2.5 ต.ศรีภูมิ จ.เชียงใหม่
วันนี้วัดได้ 89 ug/m3 จัดอยู่ในระดับ “แย่”
PM 2.5 ต.สุเทพ จ.เชียงใหม่
วันนี้วัดได้ 91 ug/m3 จัดอยู่ในระดับ “แย่มาก”
PM 2.5 ต.ช่างเคิ้ง จ.เชียงใหม่
วันนี้วัดได้ 31 ug/m3 จัดอยู่ในระดับ “ดีมาก”
2. PM 10 หรือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน
เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง
ผลกระทบต่อสุขภาพ
เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ
3. ก๊าซโอโซน (O3)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูงจากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลกที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น
5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ก๊าซนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้
อ้างอิงข้อมูลจาก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
บทความเกี่ยวข้อง
ฝุ่นละออง PM2.5 ฆ่าคนเชียงใหม่ไม่รู้ตัว
ฝุ่นละออง PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง!!!
เลือกให้ถูก ! หน้ากากอนามัยแต่ละแบบใช้อย่างไร
รับมือฝุ่น PM2.5 ด้วยวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ
Cr.เชียงใหม่นิวส์
สำนักข่าววิหคนิวส์