เหมืองทองอัครา กำลังจะได้ข้อยุติแบบ Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย จากการที่บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำชาตรีครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ฟ้องรัฐบาลไทย ใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ระงับตั้งแต่กระบวนการผลิต การต่อใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ การสำรวจ การต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ จนนำไปสู่การปิดเหมืองทองอัครา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นมา
.
โดยระหว่างก่อนเข้าสู่และเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตฯ แล้วก็ตาม บริษัท คิงส์เกตฯ และบริษัท อัคราฯ ก็ได้พยายามเข้าหารือกับทั้งทางรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สำเร็จ!
.
เพราะต่างฝ่ายต่างก็ถือหลักฐานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะรัฐบาลไทยทำทุกอย่างก็เพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพ ‘คนไทย’ ไม่ต้องเผชิญกับมลพิษที่เกิดจากกระบวนการทำงานของเหมืองทองอัครา
.
“รัฐบาลมีหลักฐานและเหตุผลเพียงพอในการใช้ ม.44 ปิดเหมืองอัคราเป็นการชั่วคราว แต่ยังเปิดโอกาสให้บริษัท อัคราฯ สามารถยื่นขออนุญาตในการดำเนินงาน รัฐบาลมีหลักฐานและเหตุผลเพียงพอในการใช้ ม.44 ปิดเหมืองอัคราเป็นการชั่วคราว แต่ยังเปิดโอกาสให้บริษัท อัคราฯ สามารถยื่นขออนุญาตในการต่อได้ แต่อัคราฯ กลับไม่เคยมายื่น”
.
ขณะที่บริษัท อัคราฯ ก็ยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองทั้งหมด ทั้งในเรื่อง พ.ร.บ.เหมืองแร่ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม และเรื่องการดูแลสุขภาพประชาชนที่อยู่รอบๆ เหมืองทองอัครา โดยอ้างอิงเอกสารที่เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เหมืองทองอัคราได้ดำเนินการตรวจสอบทุกครั้งควบคู่กับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม
.
นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจา และเป็นแค่การเริ่มต้น แต่บอกได้ว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ซึ่งจะต้องพยายามทำให้ดีที่สุด แต่บอกไม่ได้ว่าจะจบอย่างไร จบเมื่อไหร่
..
“ต่างฝ่ายต่างมีเจตนาที่ดีต่อกัน ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด หรือที่พูดกันว่าไม่ให้เสียค่าโง่ ”
.
ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้บริษัท อัคราฯ นำกากตะกอนประกอบด้วยทองคำประมาณ 4,750 ออนซ์ และเงิน 34,800 ออนซ์ รวม 42,550 ออนซ์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการแยกแร่ ซึ่งตกค้างอยู่ที่สายการผลิตหลังจากเหมืองถูกคำสั่งระงับออกไปขายได้
.
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล บอกว่า กรณีเหมืองทองอัครา เข้าสู่กระบวนการเจรจาประนีประนอมซึ่งทุกอย่างมีแนวโน้มที่ดี และประเทศไทยไม่เสียเปรียบแน่นอน และจากการเจรจาทำให้รู้ว่าบางเรื่องเป็นความเข้าใจผิดที่ทางบริษัท คิงส์เกตฯ เข้าใจว่ารัฐบาลไทยกลั่นแกล้ง แต่เมื่อพูดคุยกันแล้วก็ทำให้เข้าใจตรงกันได้
.
แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือ เพียงแค่มีข่าวสะพัดว่ารัฐบาลบิ๊กตู่ จะอนุญาตให้เหมืองทองคำชาตรี ดำเนินการต่อไปได้ ปัญหาที่จะตามมาก็คือจะเกิดการประท้วงของประชาชนกลุ่มที่ต่อต้านเหมืองอัคราว่าเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนจะออกมาเคลื่อนไหวทันที ขณะที่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณเหมืองอัครา ซึ่งต้องการให้เหมืองเปิดดำเนินการได้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ลืมตาอ้าปากได้ มีงานทำ มีรายได้ในท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น และพวกเขากำลังจะอดตาย จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย
.
นี่คือปมปัญหาใหญ่ที่รัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องแบกรับท่ามกลางกระแสข่าวลือว่าเหมืองอัคราจะต้องเปิดให้ได้ และต้องจับตากันให้ดีจะมี ‘ทุนไทย’ เข้าไปร่วมหรือไม่?
——————————-
แหล่งข่าว อ่านรายงานเต็มได้ที่
– https://mgronline.com/specialscoop/detail/9630000103035
——————————-