ปม 8 ปี นายกรัฐมนตรี ความเห็นคณะร่างรัฐธรรมนูญ มีผลเป็นกฏหมาย ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือไม
ความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500ซึ่งมีการประชุมกันเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 19 คน โดยในการประชุมวันนั้น นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 ให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า หากนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับ เมื่อประเทศไทยยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย
เป็นกฏหมาย หรือไม่
เห็นว่าการยกร่างกฏหมายของไทยนั้น ได้รับเอาแนวความคิดของระบบ Commom Law แนวคำพิพากษาของศาลฎีกา มาใช้เป็นเครื่องมือในการตีความของกฏหมาย
ในการศึกษากฏหมายไทย “คำพิพิพากษาศาลฎีกา”ไม่ใช่กฏหมาย เพราะไม่มีกฏหมายใดยอมรับให้อำนาจศาลออกกฏหมายได้ เจตนารมณ์ ของผู้ร่างกฏหมายจึงเป็นความรู้สึก ตราบใดที่ยังไม่ประกาศ “ใช้”ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง”
คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมมีสถานะเป็นตัวอย่าง ในการตีความของกฏหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2565 (การบังคับใช้กฎหมายภายใต้หลักนิติธรรม: กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษ) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ”วิเคราะห์ฎีกาคดียาเสพติด”
ด้วยเหตุดังกล่าวความเห็นของผู้ยกร่างกฏหมาย ป่ม 8 ปี ของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จึงไม่ใช่กฏหมายที่จะใช้บังคับได้ จึงต้องนับตั้งแต่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2560
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม