การปฏิรูป กระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการกระทำผิดทางอาญา
………………………\\\\\\\\_________
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศึกษากรณี”บ้อส อยู่วิทยา ที่สังคมกดดันให้เป็นผู้กระทำผิด
กระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อที่จะนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษ โดยมิได้ให้ความสําคัญต่อการแก้ไขปัญหาในสังคม ให้มีการยุติข้อพิพาท ในชั้นเจ้าหน้าท่ีตํารวจหรือชั้นพนักงานอัยการเท่าที่ควร
“คดีบ้อส อยู่วิทยา “ ไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรมที่กระทําต่อรัฐหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของรัฐ แต่เป็นเรื่องของความประมาท ในกรณีความผิดเกี่ยวการใช้รถใช้ถนน เชื่อว่าวิญญูชนโดยทั่วไปไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
แต่เมื่อกระแสสังคมกดดัน ที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่าง “ผู้กระทําผิด” “ผู้เสียหาย” ที่เป็นเหยื่อของกระแสสังคมให้เป็นผู้กระทำความผิด “
ทั้งที่พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุได้เป็นข้อบ่งชี้ว่า ถึงการกระทำแก่คู่กรณีว่า ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อเปลี่ยนช่องทางเดินรถ จากซ้ายสุดไปชนกับรถยนต์ที่ขับมาทางตรง ในช่องทางขวาสุด ทั้งที่รถจักยานยนของผู้ตายไม่ได้เปิดไฟหน้ารถ ของตนเองด้วย
แต่เพื่อมนุษย์ธรรม ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา คือ”บ้อส อยู่วิทยา” ได้บรรเทาความเสียหายต่อผู้ตายที่ทุกฝ่ายท่ีได้รับผลกระทบ จนเป็นที่พอใจแล้ว
ในชั้นเจ้าหน้าท่ีตํารวจหรือชั้นพนักงานอัยการ จึงควรท่ีจะได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิม ที่เน้นในเรื่อง “กระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทน” (Retributive Justice) มาเน้นในเรื่อง แนวคิด“กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(Restorative Justice) แทน ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจึงควรที่จะต้องเข้ามามีบทบาท
มีส่วนร่วมในการเข้ามาแก้ไขปัญหาท้ังระบบโดยมี จุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อสร้างสันติสุขและการนําความสมานฉันท์กลับคืนสู่สังคม
แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ คดีไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรมที่กระทําต่อรัฐหรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของรัฐ
กับกลายเป็นคดีการเมืองมีการเพิกถอนหนังสือเดินทางมีการขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีการขอให้รื้อคดีขึ้นไหม่ จากไม่ผิด
กลายเป็นผู้กระทำความผิด ทั้งที่เจตนาของกฏหมายไม่เปิดช่องให้ กระทำได้
แต่กระแสสังคมกดดันให้ขบวนการยุติธรรมของตำรวจและอัยการทำได้ โดยไม่คำนึงถึง “หลักนิติธรรม”
เผย“บอส”อยากกลับไทย มาใช้ชีวิตเหมือนผู้บริสุทธิ์ทั่วไป แต่กระแสสังคมกดดัน ทำให้กฏหมาย ไม่มีความศักดิ์สิทธิ ใช้ดุลยพินิจตามกระแสสังคม อันเป็นการประจานขบวนการยุติธรรม ผู้ถูกกล่าว เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
ทั้งนี้ เนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ชึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งคดีตามพยานหลักฐาน ว่า รถของผู้ตาย เปลี่ยนช่องทางเดินรถอย่างกระชั้นชิด
มิใช่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ กัน4883/2553
ถึงมีการรื้อฟื้นคดีใหม่ก็จะสั่งไม่ฟ้องอีก นั้น ยังถูกให้ออกจากราชการจึงเป็น กรณีศึกษา
ที่จะต้องปฏิรูป กระบวนการยุติธรรม ในชั้นตำรวจและอัยการเพื่อให้มีอำนาจถ่วงดุลกันอย่างแท้จริง ไม่ใช่ใช้อำนาจกระแสสังคมมาทำลายพยานหลักฐานจากไม่ผิดเป็นผู้กระทำผิดได้อีก
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม