ข่าวประจำวัน » #ชัดเจนล้มเจ้า ! อดีตรองคณะบดีมธ. ชี้ หมิ่นสถาบันมากับม๊อบนศ. กลายเป็นสิ่งขาดไม่ได้

#ชัดเจนล้มเจ้า ! อดีตรองคณะบดีมธ. ชี้ หมิ่นสถาบันมากับม๊อบนศ. กลายเป็นสิ่งขาดไม่ได้

27 July 2020
873   0

  • วันที่ 27 ก.ค.63 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่า…

เห็นพฤติกรรมที่สะท้อนทัศนคติของ “คนรุ่นใหม่” ทั้งในสภาฯ นอกสภาฯ ในม็อบ และใน social media แล้วน่าเป็นห่วง
.
ไม่ได้เป็นห่วงรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่เป็นห่วงสังคมไทย ที่ขณะนี้เกิดช่องว่างระหว่างวัยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
.
นี่ไม่ใช่การแตกแยกแบบซ้ายกับขวาเหมือนในอดีต แต่เป็นการแตกแยกระหว่างคนที่เป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ที่ถูกเรียกว่าเป็น “คนรุ่นเก่า” และ ลูก หลาน เหลน ที่ถูกเรียกว่า

“คนรุ่นใหม่”
.
สำหรับคนรุ่นใหม่ การใช้วาจา หรือข้อความที่หยาบคาย ดูเป็นเรื่องธรรมดา
.
คนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะทำอะไร ผิดหรือถูก คำอธิบายคือ มันเป็นเสรีภาพ
.
การไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส กระทั่งไม่ให้ความเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นความเสมอภาค ทุกคนต้องเท่ากัน
การมอง “คนรุ่นเก่า”ว่า โบราณ คร่ำครึ
ไม่ทันโลก ดูจะเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่
.
คนรุ่นใหม่มักเรียกตัวเองว่าเป็นพวก
“liberals” แต่คนที่เป็นพวก liberals อย่างแท้จริง ต้องยอมรับมุมมองของผู้อื่นที่แตกต่างหลากหลาย แต่คนรุ่นใหม่กลับดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ที่เห็นต่าง ถึงกับรุมถล่มด้วยข้อความที่หยาบคายใน social media
.
การแสดงออกในม็อบต่างๆ ล่าสุดเรียกว่า “ม็อบเยาวชนปลดแอก” แม้จะเป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตย แต่การใช้คำหยาบคายที่มีทุกครั้งที่มีการชุมนุมจะเรียกว่าเป็นเสรีภาพได้หรือ
.
การชูป้าย และพฤติกรรมที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการการชุมนุม กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
.
พฤติกรรมที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี่แหละ ทำให้ช่องว่าง และความแตกแยกขัดแย้งระหว่างวัยขยายกว้างขึ้น
.
พ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ลุง ป้า น้า อา ที่ยังให้ความเคารพ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถจะเตือนลูกหลานในเรื่องนี้ได้ เพราะยิ่งเตือนยิ่งไม่เชื่อ ยิ่งเตือนยิ่งขัดแย้ง
.
น่าคิดว่าคำว่า “คนรุ่นเก่า” กับ “คนรุ่นใหม่” เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้
.
น่าคิดยิ่งกว่าคือ คนรุ่นใหม่เกิดชุดความคิดแบบนี้ตั้งแต่เมื่อใด มีใครตั้งใจอาศัย social media ทำให้คนรุ่นใหม่ให้คิดเช่นนี้ และมีพฤติกรรมเช่นนี้หรือไม่ ก็คงยากที่จะพิสูจน์ได้
.
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ความแตกแยกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทยขณะนี้ แล้วในอนาคต คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่จะอยู่กันอย่างไร
.
อย่าลืมว่าวันหนึ่งทุกคนต้องถูกเรียกว่าเป็น “คนแก่”ด้วยกันทั้งนั้น