ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ดร.สุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชี้ !! จับพระเถระตร.ไม่มีอำนาจสอบสวน มิต่างหวย30ล้านเป็นหน้าที่ปปช.

#ดร.สุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชี้ !! จับพระเถระตร.ไม่มีอำนาจสอบสวน มิต่างหวย30ล้านเป็นหน้าที่ปปช.

27 May 2018
581   0

ดร สุกิจพูน ศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้โพสข้อความระบุว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกหน่วยงานหรือประชาชนฟ้องว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ โดยเฉพาะความผิดต่อมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญาในกรณีที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้อง หรือโดยทุจริตนั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และสำหรับระบบยุติธรรมของไทย ประชาชน ผู้ฟ้องมีสิทธิเลือกได้ด้วยว่าจะฟ้องเองโดยตรงต่อศาลอาญาในกรณีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ที่มีโทษทางอาญา หรือจะฟ้องต่อองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ไต่สวน ชี้มูล ความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. ก็ได้ ซึ่งในแง่มุมหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่เห็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริต หรือไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ใครก็แล้วแต่ ที่ฟ้อง ที่จะใช้สิทธิ์ในการได้รับความยุติธรรมเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกันการเปิดโอกาสให้ประชาชนฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในความผิดตามมาตรา 157 ได้โดยตรงในระบบศาล ก็เหมือนกับการเปิดช่องให้มีการ “เล่นงาน” หรือ “เอาคืน” เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม

ขออนุญาตยกตัวอย่าง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนนครไชยศรี ได้อ่านคำสั่ง ไม่รับฟ้องคดีของนายตำรวจชั้นผู้น้อยนายหนึ่งของสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินที่ฟ้องนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นผู้บังคัญบัญชา 2 คน ของโรงพักที่ตัวเองทำงานอยู่ ว่าบังคับขู่เข็ญให้บริจาคเงินจากเบี้ยเลี้ยงเพื่อลงขันซื้อเครื่องปรับอากาศมาใช้ในสำนักงานโดยตัวเองไม่เต็มใจ จึงถือว่าผู้บังคับบัญชาทั้ง 2 คนนี้ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามมาตรา 148 และ 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา การที่ศาลฯ ไม่รับฟ้องคดีที่ลูกน้องฟ้องเจ้านายในครั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลว่า ความผิดตามมาตราทั้งสองนี้ ต้องเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งในกรณีนี้คือการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย และเกี่ยวกับการสืบสวน ไม่ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาทั้งสองมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงแก่โจทก์ผู้ฟ้องแต่อย่างใด จึงไม่เข้าข่ายเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ จึงไม่รับฟ้อง

เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจทางกฎหมาย หรือใช้อำนาจแทนรัฐ อาจจะละเมิดหรือใช้อำนาจที่ผิดหรือเกินเลยไปได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีบทลงโทษทางอาญาที่จำเพาะเจาะจงกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ศาลก็ต้องคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ไม่ให้ถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้องโดยไม่เป็นธรรม วิธีที่ศาล (และป.ป.ช. และ ป.ป.ท) ใช้คือการตีความคำว่า “อำนาจหน้าที่” อย่างเคร่งครัด ในลักษณะที่ว่าถ้าการกระทำนั้นไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงหรือเป็นการกระทำนอกหน้าที่ ก็จะไม่มีความผิดมาตรา157
บทบัญญัติให้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ละประเภทอยู่แล้ว ประมวลจริยธรรมเหล่านี้ย่อมถือได้ว่า คือกรอบของอำนาจหน้าที่ในภาพกว้างที่จะควบคุมพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนได้ หากมีความผิดจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมนี้ ในขณะนี้ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย

แต่รัฐอาจจะเพิ่มให้เป็นความผิดทางอาญาด้วยก็ได้ ใน กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ข้าราชการพลเรือน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 82(1) ก็ระบุไว้ว่า ข้าราชการพลเรือนต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ซึ่งความซื่อสัตย์ สุจริต

คำนิยามที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่า คือการไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์อันไม่ชอบแก่ตนเองหรือพรรคพวก
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้มาตรา 157 เพื่อจัดการกับการปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อการทำงานของระบบยุติธรรมของไทยในปัจจุบัน มีช่องว่างให้ถูก “บิดเบือน (abused)” กับการใช้มาตรา 157 ในขณะนี้
อย่างกรณีเงินทอตวัด ที่จับพระสึกไปถึง 5 รูป ได้ระบุลักษณะความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐชัดเจน เป็นการรับสินบนตามมาตรา 149 ถ้าเป็น ผลประโยชน์ทับซ้อนก็มาตรา 152 ประเด็นความผิดที่เป็นการทุจริตนั้น ถ้าจะนิยามให้เป็นมาตรฐานว่า หมายถึง การได้ประโยชน์โดยมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งหน้าที่

แม้ตำรวจจะได้รับแจ้งความเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวไว้. ก็เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่ แต่ตำรวจไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดเจ้าหน้ารัฐ
ประพฤติมิชอบหรือทุจริต ต้องรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้คณะกรรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตั้งอนุกรรมการไต่สวนภายใน30วัน. ผิดหรือถูกยังไม่รู้

การที่เอาพระบั้นผู้ใหญ่ไปฝากขังและผลัดฟ้องและจับสึก ก็ต้องดูว่าตำรวจเอาอำนาจตามกฏหมายใดจึงกระทำได้
แต่เจตนาของกฏหมายระบุชัดว่าอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นผู้ตั้งอนุกรรมการไต่สวน

ส่วนทางพระผู้ใหญ่นั้นก็สามารถร้องต่อศาลว่าถูกจับและคุมขังโดยมิชอบได้ ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา90 ศาลมีหน้าที่ตรวจเมื่อมีคำร้องร้องขอ.

แนวฎีกาทนายความของพระทั้ง5รูป สามารถยื่นคำร้องแทนพระได้เลย ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร์ไทยได้คุ้มครองพระทั้งห้ารูปที่ถูกกักขังอยู่ในเรือนจำให้ปล่อยตัวได้

สำนักข่าววิหคนิวส์