เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ดร.สุกิจ ฟันธง ! ยกฎีกาเปรียบตร.พลาด คดีบัลลาเบล ยกฟ้องแน่

#ดร.สุกิจ ฟันธง ! ยกฎีกาเปรียบตร.พลาด คดีบัลลาเบล ยกฟ้องแน่

27 September 2019
2260   0

ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข่อความระบุว่า กรณีการเสียชีวิตปริศนาของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ อายุ 25 ปี หรือ “กรณีการเสียชีวิตปริศนาของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ อายุ 25 ปี หรือ “ลันลาเบล” พริตตี้สาวสวยที่ถูกพบเป็นร่างไร้วิญญาณบนโซฟาในล็อบบีคอนโดมิเนียมย่านตลาดพลู นั้น

น้ำอุ่นให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยให้การภาคเสธ แต่ยอมรับข้อเท็จจริงตามกล้องวงจรปิดว่าเป็นการกระทำของตนเอง แต่ไม่ทราบว่า “ลันลาเบล” ตายแล้ว และให้การปฎิเสธว่า ไม่ได้ข่มขืนนั้น เป็นข้อเท็จจริงได้จากการแถลงข่าวของตำรวจ

ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาธนบุรี ว่า น้ำอุ่นได้กระทำความผิด(๑)ฐาน กักขังหน่วงเหนียวเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย(๒) พาไปเพื่อกระทำอนาจาร

และกระทำอนาจาร ศาลออกหมายจับให้ ตำรวจนำหมายศาลมาจับกุมจำเลย

สอบสวนแล้วนำไปฝากขังและคัดค้านการประกันตัว นั่น

ทั้งนี้สังคมกังขาว่า ในขณะที่ น้ำอุ่น อุ้ม “ลันลาเบล” ออกจากงานปาร์ตี้ มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่อยู่ จะกักขัง หน่วยเหนี่ยวคนไร้สติได้อย่าไร

องค์ประประกอบของความผิดนั้น “จะต้องใช้กำลังประทุษร้าย”หรือในทัน

ใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย

ตำรวจทำผิด ตำรวจต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น แต่ระบบกฏหมายไทย

เป็นระบบกล่าวหาตำรวจได้สอบพยานหลักฐานแล้ว เชื่อว่าผู้นั้นกระทพผิด

ก็ต้องจับ แต่คดีขึ้นสู่ศาล เมื่อศาลสงสัย ก็ต้องปล่อย ทั้งนี้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง เมื่อศาลมีเหตุสงสัยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้ผู้กระทำผิด

เหตุลักษณะคดี น้ำอุ่นกับ”ลัลลาเบล “นี้ พนักงานอัยการเคยฟ้องผู้ต้องหารายอื่น คล้ายกันว่า มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 288 แต่ศาลลงโทษ แต่ศาลฎีกาลงโทษผู้กระผิดฐาน พยายามข่มขืน และกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ที่นี้เรามาดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2556 ได้วางหลักไว้ว่ จำเลยที่ 1 เจตนาฆ่านางสาวเครือวัณ ผู้ตาย ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติว่า “การกระทำโดยเจตนา ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น” วรรคสาม บัญญัติว่า “ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้”

ดังนั้น การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าได้นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า และ (3) ผู้อื่น กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการ “ฆ่า” และรู้ด้วยว่าวัตถุแห่งการกระทำเป็น “ผู้อื่น” (หมายความว่าผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่)

หากจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย (เป็นศพ) แล้วก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้อื่น คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติ

แล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำ โดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งโจทก์ก็ฎีกายอมรับว่าขณะที่จำเลยที่ 1 นำผู้ตายไปทิ้งอ่างเก็บน้ำนั้นจำเลยที่ 1 สำคัญผิดว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว

ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตายหาได้ไม่เพราะจำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดอันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้

ทั้งนี้ ตามมาตรา 59 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามมาตรา 291 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

เเมื่อคดีขึ้นสู่ชั้นพนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอำนาจให้พนักงานสอบสวน สน. บุคคโล แจ้งข้อหาน้ำอั่นเพิ่มเติมในฐานความผิดดังกล่าว

สำนักข่าววิหคนิวส์