ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข้อความระบุว่า
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย
นำเสนอข้อกฏหมายในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และความผิดฐานดูหมื่นศาล นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ได้บัญญัติเรื่องของการ ละเมิดอานาจศาลไว้ หลักกฎหมายเรื่องการละเมิดอานาจศาล ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งยังได้บัญญัติ โดยมุ่งคุ้มครองในการดาเนินกระบวนพิจารณาของศาลให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็ว และเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล กฎหมายได้ให้อานาจศาลในการลงโทษผู้ท่ีกระทำละเมิดได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าน ขั้นตอนของการฟ้องร้องแบบปกติธรรมดาท่ัวไป
ส่วนในความผิดฐานดูหมิ่นศาล ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกหมายอาญา เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งคุ้มครองปกป้อง ชื่อเสียง ของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี
ต่อผู้ท่ีไม่ได้มีความประสงค์ดีต่อสถาบันศาล หากถ้าปล่อยให้มีการกระทาการดูหมิ่นหรือเหยียดหยามศาลหรือผู้พิพากษาอยู่เรื่อยไป จะนำไปสู่ความเสื่อม ศรัทธาต่อกระบวนการยุตธรรม แม้ศาลจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในความผิดฐานดูหมิ่นศาลนั้น
ศาลไม่มีอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดได้ทันที จะต้องร้องทุกข์หรือมีการกล่าวโทษโดยชอบ เสียก่อน ยิ่งผู้กระทำความผิดให้การรับสารภาพแล้วในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แล้ว ยิ่งเป็นการง่ายต่อการพิจารณาคดีของศาล
ดังนั้น ในความผิดฐานดูหมิ่นศาล และความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กฎหมายทั้งสองเรื่องนี้ได้ถูกบัญญัติข้ึนมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ท่ีต่างกัน หมายถึงคนละเหตุกันกับคดีที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว
ความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” จึงเป็นเหตุอื่นที่ศาลจะต้องพิจารณา และพิพากษา. โดยอาศัย เหตุที่ศาลได้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลที่ศาลได้ตัดสินไปแล้วว่ามีความผิด
มาเป็นพยานหลักฐาน ในความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” นอกจากนี้ ผู้ต้องหายังมีความผิดฐาน นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ คอมพิวเตอร์ ยิ่งผู้ต้องหานี้ได้รับสารภาพไปตามหลักฐานที่มีผู้ร้องทุกกล่าวโทษอ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน
เหตุที่ต้องมีการร้องทุกข์ กล่าวโทษในคดีความผิดฐานดูหมิ่นศาลนั่น เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูงขึ้น เป็นขั่นตอนตามปกติ. ที่จะต้องร้องทุกข์ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพราะเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน เมื่อมีผู้กล่าวโทษแทนศาล ตำรวจต้องรีบออกหมายเรียกผู้ต้องหา มารับทราบข้อกล่าวหา เพื่อให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาล จนจะต้องรับฟังเป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลย นั้นได้กระทำผิดจริง
ไม่มีเหตุผลใด ต้องทำให้คดีล่าช้าเพื่อประวิงคดี ยิ่งผู้กระทำความผิดให้การรับสารภาพแล้ว ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กับ ความผิดฐานดูหมิ่นศาล กฎหมายทั้งสองเรื่องนี้ได้ถูกบัญญัติข้ึนมา เพื่อมีวัตถุประสงค์ท่ีต่างกันหมายถึงคนละเหตุกันกับคดีที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว.
“ทะแนะ”จบการศึกษา “เป็นกรรมกร”ในวิทยาลัยเอกชนย่านบางแค นักกฏหมายก็ไม่ใช่ ส่วนใหญ่”ลักจำ” ตามคำบอกเล่าของทนายความ การไลน์สด บอกว่า ไม่ผิดนั้น เป็นเพียงความเห็นตามที่ผู้รู้กฏหมายแนะนำ และอาจเป็นการปลอบใจตนเองหรือเปล่า
แท้จริงแล้ว ศาลเท่านั้น จะเป็นผู้ตัดสินคดี หากศาลยืนยันว่า ได้รับความเสียหาย แน่นอนที่สุดผู้ต้องหานี้ต้องได้โทษ ส่วนจะถูกลงโทษเท่าไรเป็นดุลยพินิจของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี
จึงเป็นกรณีศึกษา