ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ในคดี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในขณะนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่
โดยระบุว่าการตรากฎหมาย เพื่อการอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ฝ่ายนิติบัญญัติ ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ บทกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ กระบวนการตรากฎหมายต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้การเสนอร่างกม.ทางสภา แต่เมื่อร่างกฎหมายผ่านสภา ทางศาลรัฐธรรมนูญยังมีอำนาจตรวจสอบเพื่อการถ่วงดุล
ทั้งนี้การเสนอแก้พ.รบ. ของผู้ถูกร้องที่ 1 และ ผู้ถูกร้องที่ 2 มาตรา 112 ออกจากลักษณะความผิดความมั่นคงราชอาณาจักร มีเจตนาที่จะแยกสถาบันออกจากชาติไทย อีกทั้งมุ่งที่จะให้ความผิด มาตรา 112 เป็นคดีส่วนพระองค์ กลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ไม่ใช่การกระทำความผิดกระทบต่อชาติประชาชน ทั้งที่กระทบจิตใจต่อประชาชนที่เทิดทูน
ขณะที่การนำเสนอเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง แม้จะไม่มีร่างกฎหมาย แต่เว็ปไซต์ของผู้ถูกร้องมีการนำเสนอเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ที่ยื่นต่อประธานสภาฯ อีกทั้งมีพฤติการณ์รณรงค์หาเสียงอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนทั่วไปไม่รู้เจตนาที่แท้จริงอาจหลงเชื่อ อีกทั้งผู้ถูกร้องทั้งสองแก้ไขม. 112 ลดทอนสถานะสถาบันพระมหากษัตริย์ นำสถาบันลง เพื่อหวังผลคะแนนเสียง มุ่งหมายให้พระมหากษัตริย์เป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน อาจนำมาซึ่งการโจมตี ติเตียน การเสนอกม.เพิ่มเติม 112 นำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ข้อโต้แย้งฟังไม่ขึ้น
ทั้งนี้การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสอง ล้มล้างการปกครองล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจให้เลิกการกระทำดังกล่าว