เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ และลงมติในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี และ นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
โดยกรณีดังกล่าวสมาชิกวุฒิสภา 40 คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภาว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกา มีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
จากนั้น เวลา 15.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า คำร้องที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดเดิม 40 คน ยื่นคำร้องผ่านประธานวุฒิสภา ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
กรณีนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯรับทราบว่านายพิชิตถูกดำเนินคดี และมีข้อสงสัยว่า มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ดังจะเห็นว่าในวันที่ 29 ส.ค. 66 จึง ให้หารือโดยเร็ว รับฟังได้ว่ารู้และควรรู้เกี่ยวกับพฤติการณ์ของนายพิชิต ว่าอาจมีลักษณะต้องห้ามจริง ก่อนพิจารณาแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
เมื่อข้อเท็จจริงว่ารู้ แต่กลับเสนอชื่อให้โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นกรณีการขาดความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติรัฐมนตรีหรือไม่ เห็นว่า การเสนอชื่อดังกล่าว ไม่เหมาะสม
แม้กฤษฎีกาจะให้ความเห็นทางกฎหมาย แต่ก็เป็นแค่คำเสนอ นายกฯก็ต้องใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมได้ การอ้างว่าทำธุรกิจมาก่อนจึงอ้างไม่ได้ เพราะหลักเกณฑ์ซื่อสัตย์สุจริตเป็นหลักทั่วไป เป็นเรื่องสำคัญ การที่ไม่ได้ฟ้องคดีอาญา
การแต่งตั้ง นายพิชิต ทั้งที่เคยถอดชื่อไปก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่านายเศรษฐา ไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ รู้เห็นให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ใช้อำนาจหน้าที่นายกฯ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ขัดกันประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เสียเกียรติศักดิ์นายกรัฐมนตรี เป็นการสมคบ สมาคมผู้มีชื่อเสียงเสื่อมเสียง กระทบศรัทธา มาตรฐานจริยธรรมศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ 2561 ข้อ 7 – 8 -11-17-19 ที่ให้ใช้กับครม.ดัวย เป็นอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่าสมควรดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังว่านายเศรษฐา รู้พฤติกรรมของนายพิชิต แต่ยังเสนอแต่งตั้งให้เป็นรมต.ประจำสำนักฯ แสดงว่านายเศรษฐา ไม่มีความสุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม
ตุลาการเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีนายกฯสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ละเมิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง
ครม.ต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ