คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธาน เห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา
สำหรับมาตรการ จะช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.ในฐานะคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้เสนอ วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
สำหรับช่วยเหลือแรงงานในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาดเพิ่มจากเดิม 4 สาขาอาชีพ เป็น 9 สาขาอาชีพ โดยสาขาที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ 5 สาขา ได้แก่
1. สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
2. สาขาการขายส่งและการขายปลีก
3. สาขาการซ่อมยานยนต์
4. สาขากิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
5. สาขาข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
โดยมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1. กลุ่มแรงงานและนายจ้างผู้ประกอบการ ระยะเวลา 1 เดือน
ในระบบประกันสังคม
ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย : จ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้าง 2,500 บาท/คน เพิ่มเติมจาก จ่ายชดเชยเยียวยาร้อยละ 50 ของรายได้ให้ลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน7,500 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน เป็นผลให้ ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท/คน
ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 สัญชาติไทย : ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
นายจ้างและผู้ประกอบการ : จ่ายให้นายจ้างตามจำนวนสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ
นอกระบบประกันสังคม
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ไม่ได้เป็นม.33/ม.39 และ ม.40) : ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน นายจ้าง/ผู้ประกอบการ
กรณีที่มีลูกจ้าง: ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.33) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ ขณะที่ลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน
กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง : ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
–ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ ในหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านคค้าบริการและกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
กรณีที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.33) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อผู้ประกอบการจะได้รับเงินตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ และลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน
สำหรับ 4 กิจการที่รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไปก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย
1 กิจการก่อสร้าง
2 กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3 กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
4 กิจการบริการอื่น ๆ
2. ประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศ
ลดค่าไฟฟ้า-ลดค่าน้ำประปา ระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค. 64) ดังนี้
–บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150หน่วย/เดือน : ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
–บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150หน่วย/เดือน : กรณีน้อยกว่าหรือเท่ากับเดือน ก.พ. 64 คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง
กรณีมากกว่าเดือน ก.พ. แต่ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ให้จ่ายเท่ากับเดือน ก.พ. 64
ผู้ใช้ไฟฟ้า 501-1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64 + 50% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64
ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 1,000 หน่วย/เดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือน ก.พ. 64+ 70% ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือน ก.พ. 64 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
–กิจการขนาดเล็ก(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
–กิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหากำไรและการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) จนถึงสิ้นเดือนธ.ค. 64 โดยให้จ่ายค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (demand Charge) ตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจริง
–ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ระยะเวลา 2 เดือน (ส.ค.-ก.ย. 64)
ล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินเยียวยาตามสิทธิฯ อาทิ เงินชดเชย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไปแล้ว 17,920 ราย คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 87 ล้านบาท
แบ่งเป็น กิจการก่อสร้าง 16,468 ราย เป็นเงิน 79,801,420.45 บาท กิจการร้านอาหารและภัตตาคาร 1,452 ราย เป็นเงิน 7,829,613.35 บาท โดยเป็นการตัดจ่ายทุกวันศุกร์ และนำจ่ายเงินให้ลูกจ้างทุกวันจันทร์ ซึ่งคนงานในกิจการก่อสร้างจะได้รับเป็นเงินสด ส่วนกิจการอื่น ๆ จะโอนเงินเข้าบัญชีลูกจ้างโดยตรง
สำหรับกรณีลูกจ้างที่ยังไม่ได้เงิน ขอให้เร่งดำเนินการ ดังนี้
1.ให้นายจ้างรับรองในระบบ e-service ว่ามีลูกจ้างกี่ราย หยุดงานตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน
2.ลูกจ้างต้องยื่นแบบ สปส. 2 – 01/7 ให้แก่นายจ้างส่งต่อให้สำนักงานประกันสังคม เพื่อการพิจารณาวินิจฉัยจ่ายเงินโดยเร็วต่อไป