“ไอติม” นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ‘ไอติม’ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในงานเสวนา “ประเทศไทยแบบไหนที่เราอยากอยู่ร่วมกัน” ที่โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เสนอไอเดียและเหตุผลประกอบว่า ประเทศไทยอาจจะใช้สภาเดี่ยว ไม่ต้องมีวุฒิสภา (ส.ว.) เลยก็ได้
พริษฐ์ ยกหลักการว่า รัฐธรรมนูญต้องมาจากหลักการที่ว่า “หนึ่งสิทธิ หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน” ในการกำหนดทิศทางของประเทศ เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ขัดกับหลักการนี้มากที่สุด คือ วุฒิสภา ซึ่งไม่มีอะไรเป็นสัญลักษณ์ของการไม่ใช่หลักหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง เท่ากับการมี ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคนไม่กี่คน มีอำนาจมาขัดกับ ส.ส. ที่มาจากคนหลายสิบล้านคนได้
พริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าเราอยากเคารพหลักหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ไม่จำเป็นว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ประเด็นสำคัญ คือ อำนาจที่ ส.ว. มีต้องสอดคล้องกับความยึดโยงกับประชาชน ถ้าอยากจะให้ ส.ว. มีอำนาจสูงมาก เหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ ส.ว. สามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้ ก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีที่มาจากประชาชน สหรัฐอเมริกาจึงให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. แต่ถ้าบอกว่า ส.ว. จะมาจากการแต่งตั้ง เหมือนกับประเทศอังกฤษ ก็ต้องลดอำนาจ ส.ว. ให้ลงมาต่ำ ดังนั้น ส.ว. ของอังกฤษจึงไม่มีอำนาจอะไร สูงสุดที่ทำได้ คือ ขอระงับกฎหมายไว้หนึ่งปี
“ปัญหาของประเทศไทย คือ อำนาจของ ส.ว. สูงมาก ถึงขั้นมาเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่ที่มากลับมาจากคนไม่กี่คน และไม่ค่อยมีความโปร่งใสเรื่องเกณฑ์การวัด และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความไม่สมดุล ตรงนี้เป็นปัญหา” พริษฐ์ ย้ำ
พริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเคยทำได้ดีที่สุดในปี 2540 เมื่อมี ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง แต่ต่อมาอำนาจของ ส.ว. ก็ถูกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีความยึดโยงกับการเลือกตั้งโดยประชาชนก็ลดลงเรื่อยๆ ความไม่สมดุลจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประวัติศาสตร์ไทย
พริษฐ์ จึงเสนอว่า การจะแก้ปัญหาความไม่สมดุลของอำนาจ ส.ว. มีสามแนวทาง แนวทางแรก คือ ในเมื่ออยากให้ ส.ว. มีอำนาจมากก็ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็จะเป็นปัญหาว่า จะออกแบบระบบเลือกตั้งอย่างไรให้ได้คนที่แตกต่างจาก ส.ส. ถ้าหากเลือกตั้งสองครั้งแล้วได้ผลออกมาเหมือนกันก็คงไม่มีความจำเป็นต้องมี ส.ว. ให้ซำ้ซ้อนกับ ส.ส.
แนวทางที่สอง คือ การลดอำนาจของ ส.ว. ให้เหลือน้อยลง ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังมีคำถามถึงความโปร่งใสในแง่ที่มาอยู่
แนวทางที่สาม คือ การตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี ส.ว. ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยก็มีช่วงที่ใช้ระบบ “สภาเดี่ยว” หรือมีแต่สภาผู้แทนราษฎรของ ส.ส. เท่านั้น ในมุมของกระแสโลก ก็มีหลายประเทศมากขึ้นที่เปลี่ยนจากการใช้ระบบ “สภาคู่” ที่มีทั้ง ส.ส. และ ส.ว. มาเป็นระบบสภาเดี่ยว
พริษฐ์ สำรวจข้อมูลระบบการปกครองของประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตยทั่วโลก และพบว่า ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา ไม่ใช่ประธานาธิบดีและไม่ใช่ระบบสหพันธรัฐ มีอยู่ 31 ประเทศ ซึ่งแค่ 11 ประเทศเท่านั้นที่ยังมี ส.ว. ส่วนอีก 20 ประเทศไม่มี ส.ว. แล้ว และใน 11 ประเทศที่ยังใช้ ส.ว. อยู่ มีเพียง 2 ประเทศที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่รวมประเทศไทยเพราะยังไม่ได้นับว่า เป็นประเทศประชาธิปไตย
สองประเทศที่ใช้ ส.ว. จากการแต่งตั้ง คือ สหราชอาณาจักรซึ่ง ส.ว. มีประวัติศาสตร์จากสภาขุนนางในอดีต มีวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และประเทศที่สอง คือ ตรินิแดดแอนด์โตเบโก ที่มีประชากรแค่ 1.3 ล้านคน และมีบริบทต่างจากไทยอย่างมาก
ข้อดีของการใช้ระบบสภาเดี่ยวที่ไม่มี ส.ว. ประเด็นแรกคือ ลดงบประมาณลง ทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายของการมี ส.ว. ประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี รวมค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ยังไม่ได้รวมอาคารที่ต้องสร้างขึ้นมาและค่าใช้จ่ายยิบย่อย ประเด็นที่สอง คือ ระยะเวลาในการออกกฎหมายแต่ละฉบับจะสั้นลง การออกกฎหมายเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลกจะคล่องตัวมากขึ้น
พริษฐ์กล่าวด้วยว่า ถ้าหากเราไม่มี ส.ว. เราอาจจะกลัวว่า จะสูญเสียความเชี่ยวชาญของแต่ละวิชาชีพ แต่ก็มีทางเลือก คือ การเพิ่มบทบาทของตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพให้เป็นกรรรมาธิการในการร่างกฎหมาย หรือหากจะกลัวว่า ส.ว. จำเป็นต้องทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น ซึ่งก็มีทางเลือก คือ การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ให้แต่ละจังหวัดจัดการตนเองได้
“บางคนอาจจะกลัวว่า ถ้าไม่มี ส.ว. แล้วใครจะทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหาร ขอตั้งประเด็นว่า สิ่งที่น่ากลัวกว่า การไม่มี ส.ว. ถ่วงดุลอำนาจบริหาร คือ การมี ส.ว. มาให้ท้ายฝ่ายบริหารอย่างเบ็ดเสร็จ” พริษฐ์ ปิดท้าย0 ล้านต่อปี (คลิป)
09/09/2019
เป็นประเด็นที่น่าสนใจของชาวเน็ตหลายคน เมื่อมีรายงานว่า ทางด้าน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ‘ไอติม’ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในงานเสวนา “ประเทศไทยแบบไหนที่เราอยากอยู่ร่วมกัน” ที่โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เสนอไอเดียและเหตุผลประกอบว่า ประเทศไทยอาจจะใช้สภาเดี่ยว ไม่ต้องมีวุฒิสภา (ส.ว.) เลยก็ได้
พริษฐ์ ยกหลักการว่า รัฐธรรมนูญต้องมาจากหลักการที่ว่า “หนึ่งสิทธิ หนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน” ในการกำหนดทิศทางของประเทศ เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ขัดกับหลักการนี้มากที่สุด คือ วุฒิสภา ซึ่งไม่มีอะไรเป็นสัญลักษณ์ของการไม่ใช่หลักหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง เท่ากับการมี ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคนไม่กี่คน มีอำนาจมาขัดกับ ส.ส. ที่มาจากคนหลายสิบล้านคนได้
พริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าเราอยากเคารพหลักหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ไม่จำเป็นว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ประเด็นสำคัญ คือ อำนาจที่ ส.ว. มีต้องสอดคล้องกับความยึดโยงกับประชาชน ถ้าอยากจะให้ ส.ว. มีอำนาจสูงมาก เหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ ส.ว. สามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้ ก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีที่มาจากประชาชน สหรัฐอเมริกาจึงให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. แต่ถ้าบอกว่า ส.ว. จะมาจากการแต่งตั้ง เหมือนกับประเทศอังกฤษ ก็ต้องลดอำนาจ ส.ว. ให้ลงมาต่ำ ดังนั้น ส.ว. ของอังกฤษจึงไม่มีอำนาจอะไร สูงสุดที่ทำได้ คือ ขอระงับกฎหมายไว้หนึ่งปี
“ปัญหาของประเทศไทย คือ อำนาจของ ส.ว. สูงมาก ถึงขั้นมาเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่ที่มากลับมาจากคนไม่กี่คน และไม่ค่อยมีความโปร่งใสเรื่องเกณฑ์การวัด และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ความไม่สมดุล ตรงนี้เป็นปัญหา” พริษฐ์ ย้ำ
พริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเคยทำได้ดีที่สุดในปี 2540 เมื่อมี ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง แต่ต่อมาอำนาจของ ส.ว. ก็ถูกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีความยึดโยงกับการเลือกตั้งโดยประชาชนก็ลดลงเรื่อยๆ ความไม่สมดุลจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประวัติศาสตร์ไทย
พริษฐ์ จึงเสนอว่า การจะแก้ปัญหาความไม่สมดุลของอำนาจ ส.ว. มีสามแนวทาง แนวทางแรก คือ ในเมื่ออยากให้ ส.ว. มีอำนาจมากก็ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็จะเป็นปัญหาว่า จะออกแบบระบบเลือกตั้งอย่างไรให้ได้คนที่แตกต่างจาก ส.ส. ถ้าหากเลือกตั้งสองครั้งแล้วได้ผลออกมาเหมือนกันก็คงไม่มีความจำเป็นต้องมี ส.ว. ให้ซำ้ซ้อนกับ ส.ส.
แนวทางที่สอง คือ การลดอำนาจของ ส.ว. ให้เหลือน้อยลง ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังมีคำถามถึงความโปร่งใสในแง่ที่มาอยู่
แนวทางที่สาม คือ การตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี ส.ว. ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยก็มีช่วงที่ใช้ระบบ “สภาเดี่ยว” หรือมีแต่สภาผู้แทนราษฎรของ ส.ส. เท่านั้น ในมุมของกระแสโลก ก็มีหลายประเทศมากขึ้นที่เปลี่ยนจากการใช้ระบบ “สภาคู่” ที่มีทั้ง ส.ส. และ ส.ว. มาเป็นระบบสภาเดี่ยว
พริษฐ์ สำรวจข้อมูลระบบการปกครองของประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตยทั่วโลก และพบว่า ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา ไม่ใช่ประธานาธิบดีและไม่ใช่ระบบสหพันธรัฐ มีอยู่ 31 ประเทศ ซึ่งแค่ 11 ประเทศเท่านั้นที่ยังมี ส.ว. ส่วนอีก 20 ประเทศไม่มี ส.ว. แล้ว และใน 11 ประเทศที่ยังใช้ ส.ว. อยู่ มีเพียง 2 ประเทศที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่รวมประเทศไทยเพราะยังไม่ได้นับว่า เป็นประเทศประชาธิปไตย
สองประเทศที่ใช้ ส.ว. จากการแต่งตั้ง คือ สหราชอาณาจักรซึ่ง ส.ว. มีประวัติศาสตร์จากสภาขุนนางในอดีต มีวัฒนธรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และประเทศที่สอง คือ ตรินิแดดแอนด์โตเบโก ที่มีประชากรแค่ 1.3 ล้านคน และมีบริบทต่างจากไทยอย่างมาก
ข้อดีของการใช้ระบบสภาเดี่ยวที่ไม่มี ส.ว. ประเด็นแรกคือ ลดงบประมาณลง ทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายของการมี ส.ว. ประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี รวมค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ยังไม่ได้รวมอาคารที่ต้องสร้างขึ้นมาและค่าใช้จ่ายยิบย่อย ประเด็นที่สอง คือ ระยะเวลาในการออกกฎหมายแต่ละฉบับจะสั้นลง การออกกฎหมายเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลกจะคล่องตัวมากขึ้น
พริษฐ์กล่าวด้วยว่า ถ้าหากเราไม่มี ส.ว. เราอาจจะกลัวว่า จะสูญเสียความเชี่ยวชาญของแต่ละวิชาชีพ แต่ก็มีทางเลือก คือ การเพิ่มบทบาทของตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพให้เป็นกรรรมาธิการในการร่างกฎหมาย หรือหากจะกลัวว่า ส.ว. จำเป็นต้องทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น ซึ่งก็มีทางเลือก คือ การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ให้แต่ละจังหวัดจัดการตนเองได้
“บางคนอาจจะกลัวว่า ถ้าไม่มี ส.ว. แล้วใครจะทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหาร ขอตั้งประเด็นว่า สิ่งที่น่ากลัวกว่า การไม่มี ส.ว. ถ่วงดุลอำนาจบริหาร คือ การมี ส.ว. มาให้ท้ายฝ่ายบริหารอย่างเบ็ดเสร็จ” พริษฐ์ ปิดท้าย