ถ้าปฏิรูปตำรวจยังแค่ฝัน
กฎหมายทรมาน-อุ้มหาย
จะหวังอะไรได้หรือ
หลายคนหลายฝ่ายเชื่อว่าคงเอาใจช่วย หลังร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือเรียกกันสั้นๆว่า ร่างกฎหมายทรมานและอุ้มหาย ผ่านวาระรับหลักการจากสภาผู้แทนฯแบบเอกฉันท์ และตั้งกรรมาธิการ 25 คนพิจารณา
ทั้งนี้เพราะคดีอุ้มหาย ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความขวัญใจชาวมุสลิม จนป่านนี้ก็ไม่ความคืบหน้า จับมือใครดมไม่ได้ หนำซ้ำร่างของเขาก็ยังหาไม่เจอ
เช่นกันกับคดีบิลลี่ พอลละจี กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี ที่ยังรอคอยความยุติธรรมอย่างเคว้งคว้างเลื่อนลอย พบเพียงชิ้นส่วนกะโหลกอันเดียว ที่เหลือไม่รู้ถูกทิ้งทำลายแบบไหน
ขณะที่กิตติศัพท์การสอบสวนด้วยวิธีการทรมานสาระพัดรูปแบบของตำรวจไืทยบางส่วน ก็ขจรขจายมาแต่ไหนแต่ไร ถึงความป่าเถื่อนอำมหิต ที่คุ้นกันมาก คือ ลนไข่ คนโดนสุดทุรนทุราย แต่คนทำมักหัวเราะชอบใจ
เมื่อจะมีกฎหมายออกมาป้องปรามและเอาผิดกับคนทำเรื่องเหล่านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งหนีไม่พ้นตำรวจ และเป็นจำเลยสังคมอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้เรื่องนี้ถูกจุดพลุโดยกลุ่มคนที่มีบทบาทกับเรื่องคนหาย อย่างเช่น อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาทนายสมชาย ‘หนูหริ่ง’สมบัติ บุญงามอนงค์ ในฐานะผูัขับเคลื่อนมูลนิธิกระจกเงา และมีคนสำคัญในวงการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมาธิการหลายคน เช่น สมชาย หอมละออ นักฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน พล.อ.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ปลัดก.ยุติธรรม วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ รวมถึงเพชรดาว โต๊ะมีนา หลานสาวหะยีีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้ถูกบังคับสูญหายตั้งแต่ปี 2497
ที่จริงร่างกฎหมายลักษณะนี้ริเริ่มและพยายามผลักดันมานานแล้ว ที่ใกล้เคียงที่สุด คือร่างในปี 2559 แต่จนแล้วจนรอดก็แท้ง ครั้งนี้มีร่างกฎหมายถึง 4 ร่างที่ผ่านวาระแรก คือร่างรัฐบาล(ก.ยุติธรรม) ร่าง กมธ.กฎหมายฯสภาผู้แทนฯ ร่างของพรรคปชป.(สุทัศน์ เงินหมื่นและคณะ) และร่างของพรรคประชาชาติ (วัน มูหะมัด นอร์ มะทา และคณะ)
สาระหลักคล้ายๆกัน คือกำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือผู้สมรู้ร่วมคิดมีความผิดทางอาญา มีการกำหนดบทลงโทษ แต่แตกต่างในรายละเอียดเรื่องจำนวนปีที่ต้องโทษ สูงสุดหากทำให้เหยื่อเสียชีวิต คือจำคุกตลอดชีวิต ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท ยกเว้นร่างของรัฐบาลโทษปรับสูงสุด 4 แสนบาท และไม่ได้กำหนดอายุความ แต่อีก 3 ร่าง อายุความ 50 ปีถึงไม่มีอายุความเพื่อป้องกันการเตะถ่วงหรือหลบหนี
อย่างไรก็ตาม แม้นานาชาติโดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจจะส่งสัญญาณสนับสนุนให้ไทยผลักดันร่างกฎหมายนีัออกไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่ชั้นแปรญัตติและการกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในกฎหมาย ที่ส่อเค้าว่าผู้บังคับใช้กฎหมาย คือเจ้าหน้าที่ตำรวจมีโอกาสจะต่อต้านหรืออย่างน้อยที่สุดทัดทานข้อกำหนดในรายละเอียด อาจจะด้วยเหตุผลเกรงไม่ไดัรับการคุ้มครองอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ กระทั่งข้ออ้างจะโดนกลั่นแกล้ง หรือแม้แต่ไม่ได้มีเจตนา
ไม่ต้องดูอื่นไกล การปฏิรูปตำรวจ ขนาดถูกกำหนดไว้ในรธน.60 ว่าต้องปฏิรูปภายใน 1 ปี นับจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า แมัจะมีภาคประชาชนในนามเครือข่ายปฏิรูปตำรวจเฝัาติดตามกดดันมาตั้งแต่ต้นก็ตาม โดยเฉพาะกว่าจะผ่านความเห็นของผู้บริหารสตช.กลับมาก็ถูก’ดอง’อยู่นาน ทั้งมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข จนแทบจะไม่เหลือเค้าโครงเดิมจากชุดมีชัย ฤชุพันธ์ ยกร่างแก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ทั้งเรื่องอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย เรื่องงานสอบสวน เรื่องการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชน เป็นต้น
ขณะที่ร่างกฎหมายทรมานและอุ้มหาย แม้จะมีคนสำคัญและต้นทุนสูงเรื่องความเชื่อมั่นในความรู้สึกของผู้คน แต่ในทางปฏิบัติ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเข้าไปในฐานะพรรคฝ่ายค้าน หรืออยู่ในฐานะกรรมาธิการเสียงน้อย โหวตเสียงเมื่อไหร่ หากไม่ตรงกับโมเดลที่กรรมาธิการเสียงข้ามมากกำหนดไว้ โอกาสชนะเพื่อผลักดันสิ่งที่ตนเองคาดหวัง จะมีน้อยหรืออาจเป็นศูนย์ในที่สุด
เพราะบ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ครับ
ถ้าปฏิรูปตำรวจยังแค่ฝัน
กฎหมายทรมาน-อุ้มหาย
จะหวังอะไรได้หรือ
หลายคนหลายฝ่ายเชื่อว่าคงเอาใจช่วย หลังร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือเรียกกันสั้นๆว่า ร่างกฎหมายทรมานและอุ้มหาย ผ่านวาระรับหลักการจากสภาผู้แทนฯแบบเอกฉันท์ และตั้งกรรมาธิการ 25 คนพิจารณา
ทั้งนี้เพราะคดีอุ้มหาย ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความขวัญใจชาวมุสลิม จนป่านนี้ก็ไม่ความคืบหน้า จับมือใครดมไม่ได้ หนำซ้ำร่างของเขาก็ยังหาไม่เจอ
เช่นกันกับคดีบิลลี่ พอลละจี กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี ที่ยังรอคอยความยุติธรรมอย่างเคว้งคว้างเลื่อนลอย พบเพียงชิ้นส่วนกะโหลกอันเดียว ที่เหลือไม่รู้ถูกทิ้งทำลายแบบไหน
ขณะที่กิตติศัพท์การสอบสวนด้วยวิธีการทรมานสาระพัดรูปแบบของตำรวจไืทยบางส่วน ก็ขจรขจายมาแต่ไหนแต่ไร ถึงความป่าเถื่อนอำมหิต ที่คุ้นกันมาก คือ ลนไข่ คนโดนสุดทุรนทุราย แต่คนทำมักหัวเราะชอบใจ
เมื่อจะมีกฎหมายออกมาป้องปรามและเอาผิดกับคนทำเรื่องเหล่านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งหนีไม่พ้นตำรวจ และเป็นจำเลยสังคมอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้เรื่องนี้ถูกจุดพลุโดยกลุ่มคนที่มีบทบาทกับเรื่องคนหาย อย่างเช่น อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาทนายสมชาย ‘หนูหริ่ง’สมบัติ บุญงามอนงค์ ในฐานะผูัขับเคลื่อนมูลนิธิกระจกเงา และมีคนสำคัญในวงการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมาธิการหลายคน เช่น สมชาย หอมละออ นักฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน พล.อ.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ปลัดก.ยุติธรรม วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ รวมถึงเพชรดาว โต๊ะมีนา หลานสาวหะยีีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้ถูกบังคับสูญหายตั้งแต่ปี 2497
ที่จริงร่างกฎหมายลักษณะนี้ริเริ่มและพยายามผลักดันมานานแล้ว ที่ใกล้เคียงที่สุด คือร่างในปี 2559 แต่จนแล้วจนรอดก็แท้ง ครั้งนี้มีร่างกฎหมายถึง 4 ร่างที่ผ่านวาระแรก คือร่างรัฐบาล(ก.ยุติธรรม) ร่าง กมธ.กฎหมายฯสภาผู้แทนฯ ร่างของพรรคปชป.(สุทัศน์ เงินหมื่นและคณะ) และร่างของพรรคประชาชาติ (วัน มูหะมัด นอร์ มะทา และคณะ)
สาระหลักคล้ายๆกัน คือกำหนดให้เจ้าหน้าที่หรือผู้สมรู้ร่วมคิดมีความผิดทางอาญา มีการกำหนดบทลงโทษ แต่แตกต่างในรายละเอียดเรื่องจำนวนปีที่ต้องโทษ สูงสุดหากทำให้เหยื่อเสียชีวิต คือจำคุกตลอดชีวิต ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท ยกเว้นร่างของรัฐบาลโทษปรับสูงสุด 4 แสนบาท และไม่ได้กำหนดอายุความ แต่อีก 3 ร่าง อายุความ 50 ปีถึงไม่มีอายุความเพื่อป้องกันการเตะถ่วงหรือหลบหนี
อย่างไรก็ตาม แม้นานาชาติโดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจจะส่งสัญญาณสนับสนุนให้ไทยผลักดันร่างกฎหมายนีัออกไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่ชั้นแปรญัตติและการกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในกฎหมาย ที่ส่อเค้าว่าผู้บังคับใช้กฎหมาย คือเจ้าหน้าที่ตำรวจมีโอกาสจะต่อต้านหรืออย่างน้อยที่สุดทัดทานข้อกำหนดในรายละเอียด อาจจะด้วยเหตุผลเกรงไม่ไดัรับการคุ้มครองอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ กระทั่งข้ออ้างจะโดนกลั่นแกล้ง หรือแม้แต่ไม่ได้มีเจตนา
ไม่ต้องดูอื่นไกล การปฏิรูปตำรวจ ขนาดถูกกำหนดไว้ในรธน.60 ว่าต้องปฏิรูปภายใน 1 ปี นับจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า แมัจะมีภาคประชาชนในนามเครือข่ายปฏิรูปตำรวจเฝัาติดตามกดดันมาตั้งแต่ต้นก็ตาม โดยเฉพาะกว่าจะผ่านความเห็นของผู้บริหารสตช.กลับมาก็ถูก’ดอง’อยู่นาน ทั้งมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข จนแทบจะไม่เหลือเค้าโครงเดิมจากชุดมีชัย ฤชุพันธ์ ยกร่างแก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ทั้งเรื่องอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย เรื่องงานสอบสวน เรื่องการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชน เป็นต้น
ขณะที่ร่างกฎหมายทรมานและอุ้มหาย แม้จะมีคนสำคัญและต้นทุนสูงเรื่องความเชื่อมั่นในความรู้สึกของผู้คน แต่ในทางปฏิบัติ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเข้าไปในฐานะพรรคฝ่ายค้าน หรืออยู่ในฐานะกรรมาธิการเสียงน้อย โหวตเสียงเมื่อไหร่ หากไม่ตรงกับโมเดลที่กรรมาธิการเสียงข้ามมากกำหนดไว้ โอกาสชนะเพื่อผลักดันสิ่งที่ตนเองคาดหวัง จะมีน้อยหรืออาจเป็นศูนย์ในที่สุด
เพราะบ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ครับ
ประจักษ์ มะวงศ์สา