เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ทนายปลอมมีพลิก ! ดร.สุกิจ ยันสภาทนายแจ้งจับไม่ได้ เจ้าตัวจบกฎหมายจริง

#ทนายปลอมมีพลิก ! ดร.สุกิจ ยันสภาทนายแจ้งจับไม่ได้ เจ้าตัวจบกฎหมายจริง

7 October 2022
287   0

   เอกสารปลอม – เอกสารเท็จ แตกต่างกันอย่างไร

เนื้อหาของเอกสารไม่ใช่ข้อตัดสินว่า เอกสารดังกล่าวจะเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ เพราะต้องตัดสินที่ “ตัวผู้ทำเอกสาร” ที่ปรากฎข้อมูลว่าใครเป็นผู้ทำ นั้น ไม่ได้หมายความว่า เนื้อหาในเอกสารปลอมจะต้องเป็นจริงเสมอไป

ถ้าบุคคลที่มีชื่อในเอกสาร เป็นผู้ทำเอกสารจริง และบุคคลผู้นั้นมีอำนาจทำเอกสารได้ เอกสารนั้นก็ไม่ใช่เอกสารปลอม แม้เนื้อหาในเอกสารจะเป็นความเท็จ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2558

โดยไม่มีอำนาจทำ แต่แอบอ้างว่าตนเองมีอำนาจ” เป็นการลวงให้ผู้อื่น หลงเข้าใจผิดใน “ตัวบุคคลผู้ทำเอกสาร “ ถึงแม้เนื้อหานั้นจะถูกต้องกับความจริง ก็ถือเป็นเอกสารปลอม คนธรรมดาจัดทำเอกสารเท็จ ไม่มีความผิดอาญาตามกฎหมายแต่อย่างไร

ข่าว นายพรเทพ คะเชนทร์ภักดิ์ ทนายความปลอม และถูกพนักงานสอบสวน สภอ.กำแพงเพรช จับกุมเป็นผู้ต้องหาดำเนินคดีนั้น

หลังจากผู้ต้องหาถูกจับกุมแล้ว จึงทราบจากมารดาของผู้ต้องหาที่ป่วยและแก่ชราว่า ผู้ต้องหานี้มีบุตร 2 คน เป็นผู้มีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรสองคนที่ยังเป็นผู้เยาว์ และมารดาที่แก่ชรา เมื่อตนเองถูกจับ ก็ไม่มีเงินประกันตัวทั้งศาลตีหลักประกันเพียง 50000 บาท (ห้าหมื่นบาท)

ประวัติของผู้ต้องหานี้ จบทางด้านการศึกษาทางกฏหมายจริง ผ่านการอบรมวิชาชีพทนายความมาแล้ว แต่สอบไม่ผ่าน แต่มีประสบการทางกฏหมายในการฝึกอบรมที่สำนักงานทนายความ จนมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับให้คำปรึกษา “อรรถคดี “แต่ไม่สามารถที่จะว่าความได้ นั้น

แตมีความ ความทะเยอทะยานอยากเป็นทนายความ ด้วยการเอาหมายเลขใบอนุญาตทนายความที่เป็นเพื่อนฝึกงานด้วยกัน
มาใส่ชื่อตัวเอง นั้น ก่อนถูกจับกุมมีการปลอมคำพิพากษาศาลจังหวัดกำแพงเพรช เพื่อแสดงให้ลูกความดู จึงตรวจพบว่าเป็นคำพิพากษาปลอม และตรวจพบว่าตนเองไม่ได้เป็นทนายความ แต่ เอาใบอนุญาตของเพื่อนทนายความ มาทำปลอมขึ้น

สภาทนายความออกมาแถลงข่าวในทันทีว่า จะไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายพร เทพ คะเชนทร์ภักดิ์ ที่สถานีตำรวจภูธรณ์ กำแพงเพรช ในความผิดฐานปลอม และใช้เอกสารปลอม นั้น

คดีมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ สภาทนายความเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอม และเอกสารปลอม หรือไม เห็นว่า สภาทนายความมีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้ผู้ผ่านฝึกอบรมวิชาชีพทนายความ

สภาทนายจึงเมีหน้าที่ จัดทำใบอนุญาตทนายความและควบคุมมรรยาท จริยธรรม ทนายความที่เป็นสมาชิก ทนายความไม่มีหน้าที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ใดในฐานะเป็นผู้เสียหายได้โดยชอบ

ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำต่อสภาทนายความ สภาทนายความจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในฐานความผิดดังกล่าว ไมว่าผู้ต้องหาจะปลอมคำพิพากษา หรือใบอนุญาตว่าความ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2531

ความผิดฐานปลอมคำพิพากษา กับความผิดฐานแสดงข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น ต้องกระทำต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ที่ 657/2563

ส่วนที่ผู้ต้องหา นำเอาเอกสารไปใช้แสดงต่อศาล และปลอมคำพิพากษาศาล ศาลก็ไม่เคยไปแจ้งความดำเนินกับผู้ใด แต่ศาลจะใช้วิธีการลงโทษผู้ต้องหาได้ในความผิดฐานประพฤติไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล หากไต่สวนแล้วมีความผิดก็จะถูกลงโทษ

ความผิดที่ผู้ต้องหา อ้างตนเองเป็นทนายความต่อศาล ว่าเป็นทนายความ แต่ตนเองไม่ได้เป็นทนายความ ก็ไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2550

ก็เป็นที่เสียดาย”อนคต”ของผู้ต้องหานี้ จริงๆแล้วผู้ต้องหานี้มีความรู้ ทางกฏหมาย ก็สามารถเปิดเป็นสำนักงานที่ปรึกษากฏหมายได้ เนื่องจากได้ผ่านการฝึกอบรมจากสำนักงานระดับอาจารย์มาแล้ว

เพียงแต่ทำให้ถูกต้องทำขั่นตอน เท่านั้น ชีวิตต้องดับลงเพราะอยากเป็นทนายความว่าความในศาล ทำให้บุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์ และแม่ที่ป่วย ได้รับความเดือดร้อน อาจต้องเป็นปัญากับสังคมได้

จึงเป็นอุทาหรณ์ กรณีตำรวจกระทำต่อเด็กเล็ก เมื่อเกิดความเครียด วอนสังคมให้โอกาสผู้กระทำผิด กลับตัวเป็นพลดีต่อไป

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม