ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้โพสข้อความระบุว่า
ทัพ 3 ปอกำลังจะถูกเผา
ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 208 ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก โจโฉสมุหนายกผู้พิชิตภาคเหนือและเมืองหลวง อ้างโองการของพระเจ้าเหี้ยนเต้ยกพลกว่า 800,000 นายและกองเรือกว่า 2,000 ลำ ลงสู่ภาคใต้ เพื่อปราบขุนศึกซุนกวนและเล่าปี่ เพื่อหวังยึดครองดินแดนของขุนศึกทั้งสอง โจโฉได้นำพลพิชิตเล่าปี่ได้อย่างง่ายดาย ทำให้เล่าปี่ต้องอพยพราษฎรออกจากเมืองซินเอี๋ย โจโฉได้นำทัพบุกโจมตีขบวนอพยพของเล่าปี่ แต่กวนอูและเตียวหุย น้องร่วมสาบานของเล่าปี่ได้นำทัพมาป้องกันระวังหลังไว้ได้ ส่วนจูล่ง ขุนพลอีกคนของเล่าปี่ได้ขี่ม้าไปช่วยเหลือครอบครัวของเล่าปี่ที่ตกอยู่ในวงล้อมของโจโฉ ถึงแม้จะช่วยภรรยาทั้งสองของเล่าปี่ไม่ได้ แต่จูล่งก็ช่วยทารกบุตรชายของเล่าปี่กลับมาหาเล่าปี่ได้สำเร็จ
หลังจากพ่ายศึก เล่าปี่ได้ส่งขงเบ้งไปเจรจาขอเป็นพันธมิตรกับซุนกวนแห่งง่อก๊ก เพื่อร่วมมือกันต่อต้านโจโฉ แต่ซุนกวนยังสองจิตสองใจว่าจะร่วมสู้หรือสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ เนื่องด้วยคณะที่ปรึกษานำโดยเตียวเจียวได้เสนอให้ยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ขณะที่คณะขุนศึกนำโดยเทียเภาได้เสนอให้ร่วมมือกับเล่าปี่สู้โจโฉ แต่ด้วยความเห็นของขงเบ้ง และกุศโลบายการโน้มน้าวอย่างแยบคายของจิวยี่แม่ทัพใหญ่แห่งง่อก๊ก ซุนกวนจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับโจโฉ โดยแต่งตั้งให้จิวยี่เป็นแม่ทัพในการสงคราม ขณะเดียวกัน ชัวมอและเตียวอุ๋นแห่งเกงจิ๋วได้มาสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ โจโฉตั้งให้ทั้งสองคนเป็นแม่ทัพเรือ
หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพโจโฉนำโดยแฮหัวเอี๋ยนได้นำกองทัพม้าไปโจมตีกองทัพพันธมิตรของเล่าปี่และซุนกวน แต่ก็ถูกกลศึกโดยปิดล้อมในกระบวนทัพที่ฝ่ายพันธมิตรได้วางแผนเอาไว้แล้วร่วมกัน แฮหัวเอี๋ยนพ่ายศึก แต่จิวยี่ได้ปล่อยตัวแฮหัวเอี๋ยนกลับทัพโจโฉไป ฝ่ายโจโฉก็นำทัพเรือมาตั้งไว้ที่ริมฝั่งตรงข้ามกับผาแดงอันเป็นที่ตั้งค่ายของจิวยี่ รอเวลาเปิดศึกต่อไป
ซุนซ่างเซียง น้องสาวของซุนกวน ได้ลอบเข้าไปสอดแนมในกองทัพของโจโฉ ขณะนั้นได้เกิดโรคระบาดในกองทัพของโจโฉ โจโฉได้วางแผนส่งศพทหารไปยังง่อก๊ก เพื่อให้การเกิดระบาดในกองทัพพันธมิตร แต่จิวยี่และขงเบ้งได้ควบคุมโรคระบาดได้ทันกาล แต่จากการเกิดโรคระบาด ทำให้เล่าปี่กลับถอนตัวจากกองทัพ ส่วนขงเบ้งยังอยู่ในง่อก๊กต่อไป ฝ่ายกองทัพของโจโฉ ชัวมอและเตียวอุ๋นได้เสนอการโยงเรือติดกันเพื่อแก้ปัญหาการเมาเรือของทหารโจโฉที่ไม่คุ้นชินการรบทางน้ำ
ต่อมา จิวยี่และขงเบ้งได้ร่วมกันวางแผนอันแยบคายในการบั่นทอนกำลังของกองทัพโจโฉ โดยขงเบ้งได้นำกองเรือที่บรรทุกหุ่นฟางมาเต็มลำ ไปหลอกให้ฝ่ายโจโฉยิงเกาทัณฑ์ใส่ขณะที่หมอกลงจัด ได้เกาทัณฑ์มาถึงแสนกว่าดอก ฝ่ายจิวยี่ เมื่อโจโฉส่งเจียวก้านมาเพื่อเกลี้ยกล่อมจิวยี่ จิวยี่ได้แสร้งให้เจียวก้านลักจดหมายสวามิภักดิ์ของชัวมอและเตียวอุ๋นที่จิวยี่ปลอมแปลงขึ้น เมื่อโจโฉได้อ่านจดหมายนั้น ประกอบกับการที่ชัวมอและเตียวอุ๋นได้ยิงเกาทัณฑ์แสนดอกให้ฝ่ายง่อก๊ก ทำให้โจโฉสั่งประหารชัวมอและเตียวอุ๋น
ซุนซ่างเซียงได้เดินทางกลับจากการสอดแนมแล้วนำแผนที่ค่ายโจโฉนำมาเสนอ จิวยี่และขงเบ้งวางแผนที่จะเผากองทัพเรือของโจโฉ ฝ่ายเสียวเกี้ยว ภรรยาของจิวยี่ได้เดินทางไปหาโจโฉเพื่อถ่วงเวลาโจโฉ เพื่อให้แผนการของจิวยี่สัมฤทธิ์ผล สงครามได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อลมตะวันออกเฉียงใต้ได้พัดมา อันเป็นประโยชน์ต่อกองทัพง่อก๊กในการเผาทัพของโจโฉ จิวยี่ได้ส่งเรือไฟไปเผาทัพเรือที่โยงติดกันของโจโฉจนวอดวายสิ้น ขณะเดียวกัน เล่าปี่ได้กลับมาร่วมในการโจมตีโจโฉอีกแรง (แท้จริงแล้วเป็นกลลวงซ้อนระหว่างจิวยี่,ซุนกวนและเล่าปี่ เพื่อสร้างสถานการณ์ให้โจโฉเกิดความชะล่าใจว่าแผนแพร่โรคระบาดของตนเองสำเร็จ) โจโฉได้ถอยกลับมาที่ค่าย กองทัพพันธมิตรได้นำทัพไปตีค่ายของโจโฉ และสามารถชิงตัวเสียวเกี้ยวคืนกลับมาได้ จิวยี่ได้ปล่อยโจโฉกลับไป กองทัพพันธมิตรเล่าปี่และซุนกวนได้รับชัยชนะในที่สุด
การทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม 36 กลยุทธ์ (อังกฤษ: Thirty-Six Stratagems; จีนตัวย่อ: 三十六计; จีนตัวเต็ม: 三十六計; พินอิน: Sānshíliù Jì) ซึ่งมาจากตำรา ชีวประวัติของหวังจิ้งเจ๋อ
กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน
กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (อังกฤษ: Kill with a borrowed knife; จีนตัวย่อ: 借刀杀人; จีนตัวเต็ม: 借刀殺人; พินอิน: Jiè dāo shā rén) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็งและแข็งแกร่งในศึกสงคราม ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือจัดการด้วยตนเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรูโดยไม่ต้องออกแรง เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋น แม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างเล่าปี่และซุนกวนจนโจโฉถูกเผาเรือพ่ายแพ้ย่อยยับ
กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก
กลยุทธ์ไส้ศึก หรือ ฝ่านเจี้ยนจี้ (อังกฤษ: Let the enemy’s own spy sow discord in the enemy camp; จีนตัวย่อ: 反间计; จีนตัวเต็ม: 反間計; พินอิน: Fǎn jiàn jì) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อศัตรูแสร้งวางกลอุบายหลอกล่อให้เกิดการแตกแยกภายในกองทัพ ขาดความไว้ใจ พึงซ้อนกลอุบายสร้างแผนลวงให้ศัตรูเกิดความแตกแยกร้าวฉาน ให้ศัตรูเกิดความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ใช้ประโยชน์จากความระแวงแล้วฉกฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีแย่งชัยชนะมาเป็นของตน คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า “มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” โดยคำว่า “ช่วย” หมายความถึงเมื่อมีการช่วยเหลือจากภายในของศัตรู ย่อมเป็นประโยชน์ในการทำศึก จึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการบุกเข้าโจมตีศัตรูให้ย่อยยับสิ้นซาก ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ไส้ศึกไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่แสร้งรับชัวต๋งและชัวโฮนายทหารไส้ศึกของโจโฉไว้ในคราวศึกเซ็กเพ็ก และวางกลอุบายซ้อนแผนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวาย จนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ความล้มเหลวของผู้นำที่คิดว่าจนเองนั้นชาญฉลาด แต่ขาดความเฉลียว ระเริงในอำนาจ
ในไทยกลยุทธ์เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในหลายครั้ง โดยถูกปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ทางการเมือง ใช้ในการปกครองประเทศ หลังจากรัฐประหารปี 2557 วันที่ 22 พฤศภาคม เวลา 16.30 น.ภพจอมฟ้า 3 ชั้นฉัตรมงคล หรือภพบัวตูม จนประสบความสำเร็จ แต่ความขาดประสบการณ์ หลงในอำนาจจนตามือมัว ทำให้บางครั้ง สิ่งควรทำก็ไม่ทำ สิ่งที่ไม่ควรทำกลับทำ จากไส้ศึกที่คอยยุแยงจะแคงรั่ว ล่อให้ฆ่ากันเอง ขัดแย้งกันเอง เพราะศัตรูนั้นไร้ซึ้งหนทางอื่นที่จะเอาชนะได้ การทำให้แตกกันเองจึงเป็นเรื่องง่าย
หากสังเกตุให้ดีตัวละครที่ทำให้เกิดความแตกแยก หรือไส้ศึกนั้น มักเป็นนายทหาร ที่ได้รับการไว้วางใจจากผู้นำ เอาอกเอาใจ สามารถทำได้ทุกอย่างที่ถาม ที่สั่ง ทำให้เป็นที่ไว้วางใจ เพื่อใช้หลัก ยืมดาบฆ่าคน ให้ศัตรูนั้นสู้รบกันเอง โดยมิต้องเสียแรง การเอาชนะในการเผาทัพเรือโจโฉ เป็นหลักพื้นฐาน 36 กลยุทธ์ของซุนวู
ซุนวู (จีนตัวย่อ: 孙武; จีนตัวเต็ม: 孫武; พินอิน: Sūn Wǔ; ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (จีนตัวย่อ: 孙子; จีนตัวเต็ม: 孫子; พินอิน: Sūn Zǐ; เวด-ไจลส์: Sun Tzu, แปลว่า “ปราชญ์แซ่ซุน”) เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (ซุนจื่อปิงฝ่า – 孙子兵法) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำรา รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยซือหม่าเชียน นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ได้บรรยายถึงซุนวูว่าเป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยุ่ในยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่
การเอาชนะกลยุทธ์ไส้ศึก และยืมดาบฆ่าคนนั้น มิได้ยากเย็นแสนเข็น เพียงแต่ต้องหาไส้ศึกให้เจอ ที่มักจะแฝงตัวอยู่ทั้งสองขั้วอำนาจ ที่ฐานอำนาจเดียวกัน ที่จะคอยให้ข้อมูลเป็นเท็จ หรือขยายเพิ่มเติมข้อมูล เพื่อทำลายแม่ทัพอันแข็งแกร่งให้พ้นทางเสมอ เมื่อทราบตัวไส้ศึกมิพ้นต้องกำจัด เหมือนดั่งเคยจัดการกับ 4 กุมาร ที่แฝงเร้นกาย เข้ามาทำลายหลายปี กว่าจะรู้ตัว แล้วจึงประสานขั้วอำนาจที่แตกร้าวกันไป ให้กลับมาประสานอีกครั้ง ชาติก็จะมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตลอดไป
“ สามปอ อยู่ยั้งยืนยง ชาติก็คงอยู่ยงชีพด้วย สามปอพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา
เราก็เหมือน มอดม้วย หมด สิ้นสกุลไทย “
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
11 กันยายน 2564