สกู๊ปข่าว » #’ธนาธร’โป๊ะแตก!อิศรากางข้อมูลโอนหุ้นให้ blind trust 15รมต.4 รัฐบาลทำมาแล้ว

#’ธนาธร’โป๊ะแตก!อิศรากางข้อมูลโอนหุ้นให้ blind trust 15รมต.4 รัฐบาลทำมาแล้ว

19 March 2019
1794   0

18 มี.ค.62 – สำนักข่าวอิศรา รายงานข่าวหัวข้อ “โอนหุ้นให้ blind trust ‘ธนาธร’ไม่ใช่คนแรก 15 รมต. 4 รัฐบาล ‘ชวน-บิ๊กตู่’ทำมาแล้ว” โดยมีเนื้อหาดังนี้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวเมื่อ 18 มี.ค.2562 กรณีการบริหารจัดการทรัพย์สินของตนที่ถือหุ้นธุรกิจเครือซัมมิทมูลค่า 5 พันล้านบาทว่าจะใช้แนวทาง Blind trust คือโอนทรัพย์สินไปให้ trust หรือ กองทุน เป็นผู้ดูแล ส่วนใหญ่จะให้ บริษัท phatara asset management ทั้งหมดคือ หุ้นในบริษัทมหาชนหรือที่ดิน ส่วน บ้าน รถ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเก็บไว้ในนามส่วนตัว และยังบอกอีกว่า วิธีการนี้จะเป็นมาตรฐานใหม่ ไม่เคยมีนักการเมืองคนไหนใช้ private fund มาก่อน เป็นนวัตกรรมใหม่ ยกระดับมาตรฐานแสดงความจริงใจให้เกิดต่อสาธารณะ

ความจริงเรื่องนี้มาจากรัฐธรรมนูญที่ 2540 มาตรา 209 บัญญัติว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหาร หรือจัดการใดๆเกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว

ต่อมามีการออก พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 บัญญัติห้ามรัฐมนตรีและคู่สมรสถือครองหุ้นในบริษัทจำกัดได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของหุ้นจำนวนทั้งหมด ในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 จะต้องทำเป็นหนังสือแจ้ง ประธาน ป.ป.ช.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี จะต้องโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ และเมื่อได้ดำเนินการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลใดแล้ว ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น นิติบุคคลที่รัฐมนตรีจะโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นให้จัดการตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นตามกฎหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (มาตรา 4,มาตรา 5,มาตรา 6 )

ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อมิได้รัฐมนตรีและคู่สมรสมีส่วนได้เสียในธุรกิจและห้ามรัฐมนตรีผู้นั้นเข้าไปบริหารจัดการได้ใดใดในหุ้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interests)ได้

จึงเป็นที่มาของการให้กองทุน Blind trust เข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐมนตรี

จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่า ตั้งแต่ยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นต้นมาจนถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอดีตรัฐมนตรี อย่างน้อย 15 คน

รัฐบาลนายชวน 3 คน ได้แก่ นายสาวิตต์ โพธิวิหค อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใช้บริการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ เป็นผู้บริหารหุ้นแทน

รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6 คน ได้แก่

1.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยบริษัทนิติบุคคลที่นายชวรัตน์ ให้บริหารหุ้นให้ ประกอบด้วย กองทุนรวม อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิฟทีน จำนวน 100,000 หุ้น กองทุนรวมอินเตอร์เนชั่นแนล ทเวนตี้ 200,000 หุ้น กองทุนเปิดบีทีอินคัมโกรทฟันด์ 132,718.0745 หุ้น กองทุนเปิดเซ็ท 50 จำนวน 71,475,7379 หุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี 2 จำนวน 200,000 หุ้น กองทุนเปิดออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ 18,954,8306 หุ้นกองทุนเปิด เพื่อเงินทุนสร้างค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ 7,020,3273 หุ้น กองทุนเปิดเพิ่มค่าหุ้นระยะยาว 48,220,0958 หุ้น กองทนรวมโพรฟิต16 จำนวน 200,000 หุ้น กองทุนเปิด โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 2 จำนวน 300,000 หุ้น กองทุนเปิดไทยดราก้อน 100,000 หุ้น กองทุนเปิดกำไรเพิ่มพูน 40,000 หุ้น

2. นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดอาทิ B-LTF, M-SAVING (RME) , M-GSB TMBBOT 108 A , CPNRF, SPF , ABWOOF, INGASIA-E, INGBRIC INGEHD, TMBCHEQ, TISCOAU, TMBKFS9 , TMBPM6M9,TISCOAEF และ TISCOCH3

3.น.พ.พฤติชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ใช้บริหารกองทุนทหารไทยธนบดี กองทุนเปิดเคตราสารรัฐระยะสั้น กองทุนเปิด ING Thai Cash Mangement กองทุนทหารไทยพรีเมียร์ 6 M 10 และกองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาว

4.นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบอำนาจให้ กองทุนเปิดอยุธยาเอ็นแฮนซ์ไทยโน้ทพลัส 30,000 หุ้น กองทุนเปิดบัวหลวงธนาคารกรุงเทพ 30,432,7989 หุ้น กองทุนเปิดรวงข้าวธนาคารกสิกรไทย 48,545,2396 หุ้น กองทุนเปิดอยุธยา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 19,723,6233 หุ้น

5. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มอบอำนาจให้ กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ 35,232.5934 หุ้น และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์มั่นคง 100,000 หุ้น

6. ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบอำนาจให้ กองทุนรวมอสังหาริทรัพย์ไทคอน (TFUND) เป็นผู้บริหารหุ้นแทนจำนวน 2,500,000 หุ้น

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 3 คน (เท่าที่ตรวจพบ) คลิกอ่านต้นฉบับ

1.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการทำสัญญาว่าจ้างระหว่าง นางพนิดา เทพกาญจนา คู่สมรส ในฐานะ “ลูกค้า” กับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ในฐานะ “บริษัทจัดการ” สัญญาทำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2556 โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด จัดการเงินลงทุนของนางพนิดา 7 รายการ (มูลค่ารวม 421,805,160 บาท) ดังนี้

1.บริษัทโชติธนวัฒน์ จำกัด จำนวน 4,751,982 หุุ้น คิดเป็น 91.38 % มุลค่าหุุ้นที่ ชำระแล้ว 370,823,600 บาท
2.บริษัท ปิยะมาตา จำกัด จำนวน 92,250 หุุ้น คิดเป็น 92.25% มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 9,225,000 บาท
3.บริษัท สากลสถาปัตย์ จำกัด จำนวน 20,280 หุุ้น คิดเป็น 40.50% มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 20,280,000 บาท
4.บริษัท มหชนคลังสินค้า จำกัด จำนวน 202,716 หุ้น คิดเป็น 40.54% มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 2,027,160 บาท
5.บริษัท พาณี จำกัด จำนวน 23,333 หุ้น คิดเป็น 10.61% มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 2,333,300 บาท
6.บริษัท ชลาพรรณ(ง่วนเฮียงล้ง) จำกัด ถือ 240 หุ้น คิดเป็น 24% มูลค่าหุุ้นที่ชำระแล้ว 600,000 บาท
7.บริษัท สากล ทรัพยากร จำกัด จำนวน 495,635 หุ้น คิดเป็น 17.70% มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 16,516,100 บาท (ดูตาราง)

pictanaddd18 3 19

2. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นการทำสัญญาว่าจ้างระหว่าง นายประดิษฐ ในฐานะ”รัฐมนตรี” กับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ในฐานะ “บริษัทจัดการ” ทำสัญญาวันที่ 19 พ.ย.2555 มีหลักทรัพย์ที่จะโอนให้บริษัทจัดการลงทุน 5 รายการ ได้แก่ 1.บริษัทสเปซ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 419,944 หุ้น ,2.บริษัทเดคคอร์มาร์ท จำกัด จำนวน 120,000 หุ้น ,3.บริษัทเจแอนด์ดับบลิว ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 59,994 หุ้น ,4.บริษัท ซี.เอ็น.บี บิลดิ้ง จำกัด จำนวน 110,000 หุ้น ,5.บริษัท ซี แวลู จำกัด(มหาชน) จำนวน 140,000,000 หุ้น

ก่อนหน้านี้ วันที่ 1 พ.ย.2555 นายประดิษฐ ทำหนังสือถึง ประธานกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากการถือหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์และกองทุน จำนวน 8 รายการ ได้แก่ 1.บริษัทสเปซ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 419,944 หุ้น , 2.บริษัทเดคคอร์มาร์ท จำกัด จำนวน 120,000 หุ้น ,3.บริษัทเจแอนด์ดับบลิว ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด จำนวน 59,994 หุ้น , 4.บริษัท ซี.เอ็น.บี บิลดิ้ง จำกัด จำนวน 110,000 หุ้น , 5.บริษัท ซี แวลู จำกัด (มหาชน) จำนวน 140,000,000 หุ้น , 6.กองทุนรวมรวงข้าว 3 จำนวน 5,000 หุ้น (หน่วย) , 7.กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 จำนวน 37,026.9125 หุ้น (หน่วย) 8.กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว จำนวน 8,448.8954 หุ้น (หน่วย)

3.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่ามีเงินลงทุนรวม 19,997,165 บาท และได้แจ้งให้ประธาน ป.ป.ช.ทราบว่าหุ้นบริษัท คาเธย์ แอสเซท แมนเนจเนมท์ จำกัด จำนวน 1,080,000 หุ้น มูลค่าตามตราสาร 10,800,000 บาท, หุ้นบริษัทรัตนโกสินทร์ 99,993 หุ้น มูลค่า 999,930 บาท ,หุ้นบริษัท ฟุตบอลสโมสรราชประชา จำกัด จำนวน 20,000 หุ้น มูลค่า 200,000 บาท และหุ้นบริษัท เอ.ซี.ซีเนียร์ จำกัด จำนวน 5,002 หุ้น มูลค่า 50,020 บาท ได้โอนให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรีเป็นนิติบุคคลบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล ส่วนหุ้นบริษัท KGI 1,098 หุ้น มูลค่า 1,098 บาท และหุ้น Y.C.I. จำนวน 1,333 หุ้น มูลค่า 1,333 บาทของนายกิตติรัตน์ และหุ้น บริษัท D-MARK ของภรรยา (นางเกสรา ณ ระนอง) จำนวน 300 หุ้น มูลค่า 3,000 บาท ได้จัดการโอนให้บุตรชายที่บรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554

รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวน 3 คน

picsonniitt

คือ 1.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 3. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรียุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กรณีของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอเชียเวลท์ จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการเงินลงทุน3 รายการ ได้แก่ เงินสด จำนวน 200,000 บาท ,หุ้นของบริษัท เดอะซิกเนเจอร์ แบรนด์ จำกัด จำนวน 235,000 หุ้น และ บริษัท ไรท์ มูฟ จำกัด จำนวน 42,950 หุ้น รวมมูลค่า 3 รายการ ประมาณ 28 ล้านบาท (เฉพาะหุ้น 2 บริษัทประมาณ 27.8 ล.)

ฉะนั้น หากรวมนายธนาธรด้วยอาจเป็นรายที่ 16 (เท่าที่พบข้อมูล) เป็นเรื่องการบริหารจัดการความโปร่งใสในการถือครองทรัพย์สินไม่ให้มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ตามหลักธรรมาภิบาล ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ทำเป็นคนแรกช่วงก่อนเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 ขณะที่นักการเมืองจำนวนไม่น้อยโอนให้บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เครือญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจได้ถือครองแทน

Cr.สำนักข่าวอิศรา

สำนักข่าววิหคนิวส์