ข่าวประจำวัน » เศรษฐกิจ » #นายกฯ หญิงคนใหม่นิวซีแลนด์ประณาม !!การไร้ที่อยู่อาศัยเป็นความล้มเหลวทุนนิยม

#นายกฯ หญิงคนใหม่นิวซีแลนด์ประณาม !!การไร้ที่อยู่อาศัยเป็นความล้มเหลวทุนนิยม

22 October 2017
984   0

นายกรัฐมนตรีหญิงคนใหม่ของนิวซีแลนด์ประณามว่า “การไร้ที่อยู่อาศัยเป็นความล้มเหลวแบบโจ่งครึ่มของระบบทุนนิยม” ทั้งในประเทศและทั่วโลก

วันที่ 22 ต.ค.60 Sputnik พาดหัวข่าวว่า “การไร้ที่อยู่อาศัยได้เผยให้เห็นถึง ‘ความล้มเหลวที่ชัดเจน’ ของระบบทุนนิยม: นรม.ใหม่ของนิวซีแลนด์กล่าว” (Homelessness Reveals the ‘Blatant Failure’ of Capitalism: New NZ PM)

นาง Jacinda Ardern จากพรรคแรงงาน ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนหน้า ได้ตกลงที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมกับแบบกลาง-ซ้าย (center-left government) กับพรรค New Zealand First ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหาภาวะไร้ที่อยู่อาศัยของประชาชนที่กำลังรุมเร้าประเทศนิวซีแลนด์อยู่ในขณะนี้ อย่างเป็นระบบ

ในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกหลังชนะการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี นาง Ardern กล่าวกับสำนักข่าว The Nation ว่า “ค่าแรงงานตามอัตราเงินเฟ้อไม่ทัน”

“อะไรคือจุดเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเรามีภาวะคนไร้บ้านที่เลวร้ายมากในโลกที่พัฒนาแล้ว?” นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของนิวซีแลนด์กล่าว

นาง Jacinda Ardern ซึ่งมีอายุ 37 ปี ได้แนะนำว่า รัฐบาลชุดก่อนของนิวซีแลนด์ล้มเหลวต่อประชาชนในประเทศของตนเอง “เมื่อคุณมีเศรษฐกิจด้านการตลาด ทั้งหมดก็มารวมกันที่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ว่าตลาดล้มเหลวจุดไหน และควรจะมีการแทรกแซงจุดไหนบ้าง” นาง Jacinda Ardern กล่าว

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของนิวซีแลนด์กล่าวอีกว่า “เมื่อเร็วๆนี้ มันได้ล้มเหลวต่อประชาชนของพวกเราหลายต่อหลายครั้งแล้วใช่ไหม? ใช่ค่ะ แล้วคุณยังจะอ้างได้อีกหรือว่าคุณประสบความสำเร็จ เมื่อพวกคุณเพียงแค่แค่สามเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เติบโต แต่คุณก็เจอกับภาวะคนไร้บ้านที่เลวร้ายที่สุดในโลกที่พัฒนาแล้วนี่นะ?”

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของนิวซีแลนด์ได้เสนอว่า รัฐบาลของตนเองจะใช้ (มาตรการต่างๆ) มากกว่ามาตรการเกี่ยวกับผลผลิตมวลรวมของประเทศแบบลวกๆ (GDP) เพื่อวัดความสำเร็จทางเศรษฐกิจ และยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ชีวิตมีความซับซ้อนมากกว่าตัวเลขสถิติทางการเงินเท่านั้น อ้างคำพูดโดย Newshub.co.nz

“พวกเราต้องการที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า เรากำลังมองไปที่ศักยภาพของประชาชนที่จะมีชีวิตที่มีแก่นสาร (meaningful life / มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น) ชีวิตที่มีความสุข ซึ่งการทำงานของพวกเขาเพียงพอที่จะเลี้ยงชีวิตของตนเองและครอบครัวได้”

รัฐบาลผสมชุดใหม่ของเธอจะเพิ่มเป้าหมาย “การลดความยากจนของเด็ก” ลง ในกฎหมายของประเทศด้วย และจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้ถึง $16.50 และตั้งใจว่าในอนาคตก็จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย

“เราจะต้องมั่นใจว่าเราได้สร้างสมดุลความต้องการ เพื่อทำให้เห็นว่าได้มีการเพิ่มค่าแรงขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องมั่นใจว่าเราได้ให้ความสำคัญที่เพียงพอ เพื่อที่ว่าเราสามารถจะรับประกันว่ามีการคุ้มครองผู้ที่กำลังจ่ายค่าแรงเหล่านั้นด้วย $16.50 (ประมาณ 561 บาทต่อวัน) เป็นก้าวแรกของเรา เราเล็งว่าจะก้าวไปให้เหนือกว่านั้นอยู่เสมอ” นาง Ardern กล่าว

[อันนี้เป็นมุมมองของแอดมินปอกเปลือก ทรราช… จะมองว่าปัญหา หรือภาวะ หรือสถานการณ์ หรือวิกฤต “ประชาชนไร้บ้านไร้ที่อยู่อาศัย” มีสาเหตุมาจาก “ค่าแรงต่ำ” ก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะว่าคนที่มีงานทำ แม้ว่าจะได้รับค่าแรงต่ำ ก็ยังคงมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ แต่บางรายก็อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หรืออาจจะใช้จ่ายเกินตัวจนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้นมาก็ได้

แต่ปัญหาคนไร้บ้านก็คือ พวกเขาไม่มีงานที่จะทำ จึงไม่มีค่าแรงงานใดๆ และก็ไม่มีที่พักอาศัยด้วย ประทังชีวิตด้วยการขอทาน และรอรับสวัสดิการจากรัฐ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านที่ตรงจุด ณ ปัจจุบันนี้นิวซีแลนด์และอีกหลายประเทศซึ่งรวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาความยากจนนั้น โดยคร่าวๆ สามารถแบ่งผู้ที่ประสบปัญหาได้เป็นสองกลุ่ม คือ 1.) กลุ่มที่มีงานทำแต่ได้รับค่าแรงต่ำ 2.) กลุ่มที่ไม่มีงานทำและไร้ที่อยู่อาศัย

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ของนิวซีแลนด์จะช่วยได้เฉพาะคนกลุ่มแรกเท่านั้น แต่การสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนไร้บ้านจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนกลุ่มที่สองด้วย แม้ว่าตอนแรกจะได้รับค่าแรงต่ำก็ตาม แต่อย่างน้อยก็มีงานทำและมีรายได้ที่ชัดเจน ดังนั้น จึงมองว่านโยบายของรัฐบาลใหม่นิวซีแลนด์นี้ จึงดูคล้ายกับ “ประชานิยม” ซึ่งบางประเทศล้มเหลวมาแล้ว

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตะวันตกเป็นระบบแบบ “ใครมือยาวสาวได้สาวเอา” มุ่งเน้นที่ผลกำไรจากการประกอบการเป็นหลัก ยิ่งใช้ต้นทุนน้อยเท่าไรและกอบโกยกำไรได้มากเท่านั้น ก็ยิ่งถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบรวยกระจุกจนกระจาย จนนำไปสู่การปฏิวัติทางเศรษฐกิจในคริสตศตวรรษที่ 19 และการกำเนิดแนวคิดใหม่แบบ “สังคมนิยม” ของคาร์ล มาร์ก และลัทธินาซีเยอรมัน โดยระบอบสังคมนิยมจะเน้นการกระจายความร่ำรวยให้ทั่วถึงประชาชนทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน กำจัดระบบนายทุนที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค แต่ถูกต่อต้านจากฝ่ายทุนนิยม อันที่จริงทั้งสองขั้วนี้ต่างก็ต่อต้านกันและกัน

โดยอุดมการณ์นั้นระบอบสังคมนิยมก็ไม่ได้เป็นระบอบที่เสียหายอะไร เป็นระบอบที่ดีระบอบหนึ่งในการกระจายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ทั่วถึงประชาชนทุกระดับ แต่ในทางปฏิบัตินั้นมีปัญหาเยอะมาก และมักจะถูกโจมตีและถูกมองในแง่งบจากฝ่ายตรงข้ามเสมอ

จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดโดยการใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตะวันตก ภายใต้การกำกับดูแลด้านการปกครองทางการเมืองของระบอบคอมมิวนิสต์แบบสังคมนิยม (ลูกผสม) เวียตนามก็เช่นกัน คิวบาและเกาหลีเหนือใช้ระบอบสังคมนิยมแบบต้นตำหรับตามแนวคิดของมาร์ก แต่ถูกสหรัฐและตะวันตกกลั่นแกล้งด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี

จึงทำให้ประเทศพัฒนาได้ช้ากว่าหลายประเทศอย่างที่ควรจะเป็น และเกิดความเขัาใจที่ผิดเพี้ยนว่าระบอบสังคมนิยมมีแต่จะทำให้ประชาชนยากจนเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เกาหลีเหนือหรือคิวบาที่ทำให้ตนเองยากจนกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เป็นเพราะว่าถูกกีดกันทางการค้าอย่างยุติธรรมจากนานาชาติโดยมีสหรัฐชักใยอยู่เบื้องหลังต่างหาก แม้จะยากจนเพราะถูกกีดกันทางการค้า แต่เกาหลีเหนือก็ไม่เคยประสบปัญหาวิกฤตคนไร้บ้านเหมือนกับที่สหรัฐผู้ร่ำรวยประสบครั้งแล้วครั้งเล่าเลย – แอดมินปอกเปลือกทรราช]

ที่มา : เพจ ปอกเปลือก ทรราช

22/10/2560

https://sputniknews.com/society/201710221058439819-homelessness-reveals-failure-capitalism-new-zealand-prime-minister/

สกฤษฏ์ สุวรรณรัตน์

สำนักข่าววิหคนิวส์