ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์การเมืองการปกครองได้โพสต์ระบุว่า…..
นิติธรรม นำชาติไทยสู่สันติสุข
ยามบ้านเมืองเริ่มระส่ำระสาย แก่งแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ต้องการแสวงหาอำนาจ โดยอ้างประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้อำนาจมาปกครอง ทำทุกวิถีทาง แย่งชิงการใช้งบประมาณภาษีของประชาชน ข่มขู่ กดดัน สภาสูง ลามปามไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการชนะการเลือกตั้ง หลอกเด็ก เยาวชน ประชาชน มาเป็นเครื่องมือ ทางการเมือง อันเป็นภัยร้ายแรง ต่อความมั่งคงของชาติ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ได้อำนาจ ก็จะนำมวลชนบุกลุกฮือขึ้นต่อต้าน การจราจล ก่อการร้าย สงครามกลางเมือง ต่างชาติก็จะเข้ามาแทรกแซง จนนำพาประเทศสู่ภัยสงคราม
หลักนิติธรรม (rule of law) แนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยแอริสตอเติล (Aristotle)
“…หลักนิติธรรม หมายถึง หลักการปกครองที่บุคคลทั้งหลาย สถาบัน หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณะหรือเอกชนรวมไปถึงรัฐ ความรับผิดชอบทาง กฎหมายที่ได้มีการประกาศอย่างเป็นการทั่วไป มีการบังคับใช้อย่างเสมอกันและ สอดคล้องกับธรรมเนียมและมาตรฐานของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หลัก ดังกล่าวนี้จะต้องมีมาตรการเพื่อเป็นการประกันการเคารพและปฏิบัติต่อหลักการ ความสูงสุดของกฎหมาย ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย มีความโปร่งใสและ ยุติธรรมในการใช้กฎหมาย การแบ่งแยกอำนาจ การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจ ความชัดเจนแน่นอนของกฎหมาย หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ความโปร่งใสของกฎหมายและกระบวนการทางกฎหมาย”
หลักนิติธรรม เป็นหลักปรัชญาทางกฎหมาย โดยนักวิชาการและนักกฎหมายมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ หลักนิติธรรม หมายถึง “หลักพื้นฐานของกฎหมาย”ไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว ทั้งนี้ เพราะหลักนิติธรรม เป็นหลักนิติปรัชญา ทางกฎหมายที่สำคัญยิ่งของรัฏฐาธิปัตย์ สำหรับการปกครองและบังคับใช้กฎหมายภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (ราชาธิปไตย) เพื่อประกันให้เกิดความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองอย่างแท้จริง
หลักนิติธรรม เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของหลักธรรมาภิบาล คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งเรารู้จักกันในนาม “Good Governance” หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุม ถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤต ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะ สำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้นำหลักนิติธรรม ควบคู่นิติรัฐ ในการบัญญัติทางกฎหมาย เพื่อให้ประเทศเกิดความสงบเรียบร้อย และเตรียมการป้องกันปัญหาทางการเมือง ที่มุ่งสู่ความขัดแย้งในอนาคต โดยมี 128 มาตรา ที่ได้เพิ่มเติมเชิงกลยุทธ์ทางการเมือง ไว้ตั้งแต่ต้น เช่น หมวดคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๖๗ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๙๐
(๒) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๓) คณะรัฐมนตรีลาออก
(๔) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔ เมื่อรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตาม (๑) (๓) หรือ (๔) ให้ดำเนินการเพื่อให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
มาตรา ๑๖๘ ให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้อยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับทำหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๔) เพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘ ตามมาตรา ๑๖๐ (๔) หรือ (๕) นายกรัฐมนตรีจะอยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อมิได้ เป็นต้น
นั้นหมายถึงนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทำให้มีอำนาจเต็ม มิใช่รักษาการ เว้นแต่ช่วงการเลือกตั้ง หากใช้งบประมาณจะต้องแจ้งขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในช่วงเลือกตั้ง ก่อนเท่านั้น และได้เพิ่มการพ้นจากตำแหน่งเรื่องคุณสมบัติ อันเป็นลักษณะต้องห้ามเอาไว้ ต่างจากรัฐธรรมนูญ 16 ฉบับที่ผ่านมา
ในหมวดเลือกตั้ง ยังได้กำหนดข้อห้ามร้ายแรงไว้ในบทบัญญัติอันสำคัญ ทั้ง สัญญาว่าจะให้ หลอกลวง ครอบงำทางการเมือง การอนุญาต ห้าม ใช้สื่อเก่า-ใหม่ในการเลือกตั้ง ที่สำคัญการห้ามนำพระมหากษัตริย์มาทำการหาเสียงทั้งทางบวกหรือลบ โดยเฉพาะการแก้ไข หรือยกเลิก มาตรา 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” อันเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในหมวดพระมหากษัตริย์ มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
การนำพระมหากษัตริย์มาหาเสียง มีโทษทั้ง จำคุก ปรับ ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต และต้องจ่ายค่าเสียหายจากการให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ โดยมีบทเรียนการเลือกตั้งของไทยตลอด 90 ปี มาทำการถอดบทเรียน หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกก็จะได้มีบทลงโทษ ที่ร้ายแรงกับนักการเมือง และ พรรคการเมืองที่ได้กระทำการ ให้เกิดความหลาบจำ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้มีสิทธิเด็ดขาด เปรียบดั่งศาล ที่มีอำนาจในการชี้มูลความผิด ตัดสิทธิ ให้สิทธิ์ กับผู้สมัครเลือกตั้งได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เช่น
ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงระบุใน หมวด 4 (ข้อ 17 และ 18) ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อบังคับต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ
(๒) ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๓) อาจก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างชนในชาติ
(๔) ครอบงำหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตามรัฐธรรมนูญ
หมวด ๔ ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ ๑๗ ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับ
การหาเสียงเลือกตั้ง
มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้ พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ
กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่า
โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
มาตรา 30 ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด สมัครเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เว้นแต่สิทธิหรือประโยชน์ซึ่งบุคคลจะพึงได้รับในฐานะที่เป็นสมาชิก
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
จากพรรคการเมืองหรือจากผู้ใดเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก
เป็นที่ทราบกันดีว่าบ้านเมืองในปัจจุบันแม้จะผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว แต่กลับเห็นการโกงการเลือกตั้ง จนมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการเลือกตั้งมากเกือบ 3 พันคดี มากที่สุดในประวัติศาสตร์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ชาติเกิดความสงบ ร่มเย็นเป็นสุข ด้วยการบังคับใช้กฎหมาย โดยยึดหลักนิติธรรม เอาผิดกับผู้กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง พรรคการเมืองฝ่ายใด อย่างทัดเทียมกัน ลงโทษหนักเบา ตามฐานการกระทำความผิด ที่ได้บัญญัติไว้ตามกฎหมาย อันจะเป็นการยุติความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย
การเมืองไทย คือธุรกิจการเมือง การแย่งชิงอำนาจ จึงมิได้เป็นปัญหาของประชาชน 65 ล้านคน แต่เป็นปัญหาของนักการเมืองไม่ถึง 1 พันคน โดยอ้างประชาชนเป็นเครื่องมือในการแย่งชิงอำนาจ เพื่อมาใช้ภาษีของประชาชน การใช้หลักนิติธรรม จึงจะนำชาติไทยสู่สันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นั้นเอง
“ การเมืองคือการแสวงหาอำนาจ นักการเมืองคือนักแสวงหาอำนาจ อำนาจที่ยิ่งใหญ่คืออำนาจการปกครองประเทศ ประชาชนจึงต้องรู้จักนักการเมือง และพรรคการเมืองอย่างลึกซึ้ง ก่อนจะมอบอำนาจให้กับนักการเมือง “
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
28 พฤษภาคม 2566