นับตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมามีฝนตกหนักและหนักมากทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ข่าวน้ำท่วมหลายจังหวัดปรากฏในสื่อมวลชนเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศ ฝนกระหน่ำติดต่อกันหลายวันดังกล่าว เราได้แต่ครุ่นคิดคำนึงในใจด้วยความกังวลว่า’ฝายแกนดินซีเมนต์’ น้อยใหญ่ที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆกว่า 300 ตัวจะเผชิญสภาพอากาศเหล่านี้ได้อย่างไรหรือไม่?
ช่วงต้นฝน พอทราบข่าวคราวถึงการรับมือของฝ่ายที่ทำหน้าที่ หน่วง ชลอ กัก เก็บน้ำได้ดี แต่ เมื่อฝนกระหน่ำหนักติดต่อกันหลายวัน’ฝายแกนดินซีเมนต์’ ต้องทำหน้าที่รับมึงอย่างหนักหน่วง จะบอบช้ำมากมั้ย??!!
เรารอฟังข่าวนั้น…ไม่กี่วันก็ได้รับข่าวดีจาก อาจารย์ป้อม ( นายสุภัทรดิศ ราชธา อนุกรรมาธิการฯ) บอกข่าวผ่านกลุ่มไลน์เมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาว่า
‘ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ถ้ำผาทิพย์ ต.ถ้ำวัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ได้ก่อสร้างเมื่อปี 2559 จนถึงวันนี้ได้ทำหน้าที่ หน่วง ดัก กัก ชะลอ น้ำอย่างเต็มศักยภาพ ถึงแม้ว่าจะผ่านมาแล้วถึง 7 ปี ก็ตาม‘
‘วัตถุประสงค์หลัก ของฝาย ถ้ำผาทิพย์เพื่อทำประปาภูเขาด้วยท่อ PVC 12 นิ้ว ส่งน้ำเป็นระยะทาง 8 กม. หน้าที่รองเป็นฝายป่าเปียก ที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่บนขุนเขา เพื่อสัตว์ป่าใหญ่น้อยได้อาศัย ทำให้เป็นผืนป่าต้นน้ำที่ยั่งยืนสมดังพระราชปณิธานสืบไป ‘
ขนาดฝายแกนดินซีเมนต์ ’ถ้ำผาทิพย์’ กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 1.5 เมตร ใช้ปูนประมาณ 300 ลูก สร้างในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำผาทิพย์ วัศดุก่อสร้างมีเพียงปูนอย่างเดียว ไม่มีเส้นทางรถ การขนปูนหนัก 1.5 ตัน ใช้แรงคนแบกห้ามขึ้นไปเท่านั้น ( แบกถึง 300 ถุง หนักรวม 15,000 กิโล ) ลัดเลาะตามแนวชายป่า ลำธารที่พอเดินได้ ( ดูภาพ) ไม่มีเครื่องจักรกลใดหลุดลอดเข้าไปได้ ไม่เกิดผลกระทบ ด้านลบต่อสภาพแวดล้อม ช่วงทำการก่อสร้าง… ผ่านมา 7 ปี ฝายถ้ำผาทิพย์ ได้กลายเป็นน้ำตกเล็กๆแฝงตัวอยู่ในผืนป่านี้ อย่างไม่ขัดเคืองตา ราวกับว่าธรรมชาติเป็นผู้สรรสร้างฝายตัวนี้ขึ้นมาเอง !!
ฝายแกนดินซีเมนต์’ถ้ำผาทิพย์’ นี้ นอกจากสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่า สัตว์ป่าได้มีน้ำกินตลอดปีแล้ว น้ำจากฝายนี้ ยังเป็นน้ำต้นทุนให้กับพี่น้องชาวบ้านบ่อทองราว 300 ครัวเรือนให้มีน้ำกิน น้ำใช้ และทำการเกษตรได้ตลอดปีอีกด้วย
อีกมุมหนึ่งของประเทศ ที่ภาคเหนือตอนบน ณ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา สท.พ.ต.ประสิทธ์ คำลือ รายงานว่า วันนี้ 20 กันยายน 2565 ได้ตรวจสภาพฝายหลังฝนตกหนักหลายครั้งในเดือนที่ผ่านมา พบว่า ฝายสามารถ ชะลอ หน่วงน้ำ ไม่ให้น้ำไหลเชี่ยวกราก และไหลผ่านไกลไปประมาณ 1 กิโลเมตร ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกลาง หมู่9 บ้านหลวง หมู่1 บ้านปิน หมู่3 บ้านป่าซางคำ หมู่10 บ้าน ป่าซางคำ หมู่10 บ้านสบทราย หมู่ 7 รวมประมาณ 400 หลังคาเรือน และมีประชากรราว 2000 คน
ฝาย’ท่าน้ำวัดหลวง’ กั้นลำน้ำปี้ กว้าง 26 เมตร สูง 1.50 เมตร . ..ครอบคลุมพื้นที่เกษตร 80 ไร่ ดูสภาพฝายวันนี้ มั่นคงแข็งแรง ชาวบ้านชอบใจ คิดว่า ยังสามารถทนทานได้อีกหลายปี ปีหน้าคงไม่แล้งแน่’
นอกจากนี้ ‘ศักยภาพสำคัญของฝายนี้ช่วย’ หน่วงชะลอน้ำ’ตั้งแต่ต้นน้ำ ก่อนไหลสู่ลำน้ำยม ลดระดับความเชี่ยวกรากการไหลของน้ำได้’ สท.พ.ต.ประสิทธ์ มั่นใจ
สท. นางสาวรัตนา กันไจย บอกว่า “วันนี้ 20 กันยายน 2565 มาตรวจสภาพฝาย ‘ห้วยจะฮ้าง’ หลังจากที่ฝนตกหนัก น้ำไหลหลากแรงมาก พบว่าสามารถชะลอหน่วงน้ำได้ดี สภาพปกติ กักเก็บน้ำได้มาก ฤดูแล้งคาดว่าไม่ขาดน้ำ ชาวบ้านพอใจมาก” ( มีรายละเอียดเพิ่มเติม ที่เพจ สังศิต พิริยะรังสรรค์
https://www.facebook.com/100063808116007/postspfbid0QNKGzwVzVt8fJcQDZfBUjLJfVFobDq42KEVxXDoZsU5rmcvnax3DhZKJkfkc5ZAYl/?d=n 📌 https://www.facebook.com/100063808116007/posts/pfbid0EEz2GzY3j6pZcLauUDzUJUoKucFqSxVm3jeNXVcLnvQg25eRm4Mf3mdcaT4pUNGPl/?d=n ✳️✳️ และ https://www.facebook.com/100063808116007/posts/pfbid02sTC8Mf4xtqVWKXYXpqc76x83dLrzJzZyU1Fpe4BrZL6YRDhqJMrZi6xzh9PPm6til/?d=n
ขยับไปที่ จังหวัดแพร่ วันที่ 20 กันยายน 2565 นางอรสา ยอดสาร ผู้ใหญ่บ้าน บุญเจริญหมู่ที่ 1 ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ได้ตรวจสอบสภาพฝายเเกนดินซีเมนต์ในพื้นที่ของบ้านบุญเจริญหมู่ที่ 1, 8 ตำบลแม่หล่าย พบว่า
‘ตัวฝาย มีความแข็งแรง สามารถจัดเก็บน้ำได้ดี ถึงแม้ว่าน้ำยมจะขึ้นมาสมทบน้ำป่า น้ำฝนบริเวณหน้าฝายน้ำแม่หล่าย ความแรงของน้ำก็ไม่หนักมาก เพราะมีฝายชะลอคอยกั้นเศษไม้ต่างๆไว้ ชะลอความแรงของน้ำได้ ‘
‘เมื่อครั้งยังไม่มีฝายเมื่อน้ำมาแรงมาก มีการกัดเซาะ 2 ข้างฝั่ง แล้วน้ำก็ไหลผ่านไป โดยไม่ได้มีการกักเก็บ น้ำเอาไว้ ชาวบ้านจึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ ‘
‘แม้ว่าขณะนี้จะมีการกัดเซาะ 2 ข้าง(ตลิ่ง) เนื่องจากเป็นพนังดิน ไม่ได้ทำพนังดินซีเมนต์ แต่แกนฝาย สันฝาย ยังแข็งแรงปกติ ซึ่งแจ้งให้ อบจ.แพร่ทราบแล้ว โดยจะมาทำการแก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมให้ดีขึ้น ในช่วงหน้าแล้ง’
‘ฝายตัวที่ 2 อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ของตำบลแม่หล่าย ตัวฝายมีความมั่นคงแข็งแรงเก็บน้ำเอา ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้ดี แต่พนังดินด้านข้างของตลิ่งทั้งสองฝั่งถูกน้ำกัดเซาะเช่นกัน แต่ตัวฝาย สันฝาย แข็งแรง ไม่มีผลกระทบอะไร..’ นางอรสา ยืนยัน
ที่จังหวัดน่าน นางสมร ทาอิน รองนายกอบต.สถาน อ.นาน้อย จ.น่าน รายงานว่า
‘การสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ณวันนี้ฝายที่ทำร่วมกันของชาวบ้าน ได้บังเกิดผลแล้ว คือน้ำส่วนหนึ่งสามารถถูกดึงมาไช้เป็นระบบประปาเขาสู่บ้านเรือนประชาชน และตามไร่สวนที่ชาวบ้านไปทำที่พักในการทำการเกษตร ของบ้านทุ่งเจริญหมู่12’
‘ฝายบางตัวยังช่วยชะลอการไหลหลากของน้ำป่า และมีน้ำไห้สัตว์เลี้ยงได้มีน้ำกิน โดยทำลำคลองเล็กๆส่งน้ำ ทำไห้ท้องนามีการแพร่พันธุ์สัตว์น้ำ ช่วยไห้ธรรมชาติบางส่วนกลับคืนมา ปัจจุบันทั้ง 2 ฝายยังไช้การได้ดีค่ะ และดีกว่าเดิมเพราะมีน้ำ’
‘ชาวตำบลสถานยังต้องการฝายแบบนี้อีก เป็นจำนวนมาก ทางคณะกรรมการจากท้องที่ท้องถิ่นจะสานความร่วมมือสร้างฝายกันต่อไป’ รองนายก อบต.สถานกล่าวในที่สุด
สวัสดีครับ… จากผมเอง
สังศิต พิริยะรังสรรค์
ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
20 กันยายน 2565