โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศึกษา กรณี “ องค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184 กับวิชาชีพทนายความ
“ทนาย-แอม” ฟ้องศาลอาญาเอาผิด พยานตำรวจ แล้ว ขูู่ถ้าตำรวจออกหมายเรียก ฟ้องทันที “บิ๊กโจ๊ก” ยืนยันตำรวจทำทุกอย่างตรงไปตรงมา มั่นใจหลักฐานเอาผิดเพียงพอ
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น ก็เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีในความผิดที่มีโทษจำคุก
ทนายความ จึงมีหน้าที่ ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิและหน้าที่
ตามกฎหมาย และมีบทบาทในการสร้างและรักษาความเป็นธรรมให้แก่สังคมให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย
แต่ถ้าทนายความ กลับมากระทำความผิดเสียเอง พฤติการณ์แห่งการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นเรื่องร้ายแรงส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาล ย่อมมีความผิด #คำพิพากษาศาลฎีกาที่10211/2559
“ทนายพัช” ถูกกล่าวหาว่า ช่วยจัดฉากอำพรางคดีแอมไซยาไนด์
ตำรวจไปขอศาลให้ออกหมายจับ ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 184 ศาลไม่อนุญาต”ยกคำร้อง” แต่ให้ทางตำรวจออกหมายเรียกแทน
ที่นี้เรามาดูข้อกฏหมาย องค์ประกอบของความผิด ที่ตำรวจไปออกหมายจับ ทนายความ เป็นอย่างไร
ศาลฎีกาได้วางหลักไว้เป็นแนวทางว่า “การกระทำที่จะเป็นความผิด”ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184 นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง
แต่ถ้าจำเลยกระทำไปด้วยเจตนาเพื่อช่วยให้ตนเองพ้นจากความผิดที่ตนอาจได้รับ การกระทำนั้นย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2532
ทรัพย์สินของผู้ตายทถือเป็นหลักฐานสำคัญในการคลี่คลายคดี การที่ทรัพย์สินของผู้ตายหายในวันเกิดเหตุ หลังผู้ต้องหาตกเป็นข่าว ได้มีผู้นำทรัพย์ สินของผู้ตายมามอบให้ตำรวจเป็นหลักฐาน
จากการสอบปากคำพยานที่ครอบครองทรัพย์ผู้ตาย ก็ดี หรือการสอบสวนของตำรวจ มีเหตุเชื่อมโยงว่า ทนายความ แนะนำ หรือมีเอี่ยวจัดฉาก อำพราง ก็ดี อันมีเจตนาพิเศษ เพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ก็ดี เป็นเพียงพยานบอกเล่า
ทนายความมืออาชีพ จึงได้รับการฝึกอบรมจากโรงเรียนสอนกฏหมายว่า ไม่ให้หวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านี้
ทั้งนี้ในชั้นสอบสวน ทนายความที่ถูกกล่าวหาไม่มีโอกาส ได้ชักถามพยาน หรือพยานหลักฐานที่ตำรวจอ้างว่า มีเหตุเชื่อมโยง ว่าทนายความจัดฉาก หลักฐาน อำพรางคดี
ทนายความจึงต้องแสวงหา พยานหลักฐานจากการที่ตนเองตกเป็นข่าว ยิ่งพลเมืองดี ตำรวจให้ข่าว มากเพียงใด สื่อมวลชนนำเสนอข่าวตามแนวทางการสอบสวนของตำรวจที่บอกใบ้ กับผู้สื่อข่าว
“แม้เป็นสิทธิ” ที่ตำรวจจะตั้งข้อสันนิษฐานได้ แต่จะให้ข่าวที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ ย่อมเป็นจุดอ่อนไหว ที่ทนายความจะนำมาเป็นในการฟ้องคดีได้
การพูดจาใส่ร้ายผู้อื่น ด้วยลักษณะการยืนยันข้อเท็จจริง ในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือสิ่งที่เป็นความจริง 2. ผู้อื่น คือ ผู้เสียหายที่ถูกกล่าวหา 3. ต่อบุคคลที่สาม จะจริงหรือไมก็ตาม
ตำรวจก็ไม่มีสิทธิที่จะไขข่าว ให่เค้าได้รีบความอับอายที่ตำรวจพูดแม้จะเป็นความจริง “ ยิ่งมีความผิด
ถ้าทนายความ เห็นว่า การทำหน้าที่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยตำรวจตั้งข้อหาเกินกว่าความเป็นจริง
ทนายความ เค้า มีกฏหมายคุ้มครองวิชาชีพรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย Constitution) หมายถึง กฎหมายสูงสุดของรัฐ เป็นบทบัญญัติค้มมครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย การพูด การเขียน การประกอบอาชีพ”ตำรวจก็มีสิทธิถูกฟ้องได้”
ไม่ใช่ศาลให้ออกหมายเรียก หรือออกหมายจับ แล้วผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นผู้กระทำความผิดเสมอไป
#เคยมีตัวอย่างให้เห็น และเป็นบทเรียนของตำรวจ “คดีทัวร์สูญเหรียญ#
ตำรวจไปขอออกหมายจับผู้ต้องหา ศาลออกหมายจับให้ ตำรวจก็ยกไปทั้งกรมไปจับผู้หญิงคนหนึ่ง ทำให้ข่าวใหญ่โต สังคมพิพากษาไปแล้วว่า มีความผิด
นำผู้ต้องหามาสอบสวนแล้วก็นำไปฝากขัง คัดค้านการประกันตัว” ผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว ถูกจับและคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลานาน กว่าศาลจะพิจารณาคดีเสร็จสิ้น ปรากฏว่าเป็นผู้บริสุทธิ ศาลยกฟ้อง “ขบวนการเหล่านี้ ยังไม่ถูกแก้ไข หรือเยียวยาให้เหยื่อ กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
ตัวอย่างที่สอง อดีต อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นนักกฏหมายจบเนติบันทิต เคยรับราชการ เป็นอัยการ ถือว่าเป็นผู้มีความรู้
ทางกฏหมาย มีเพื่อนเป็นผู้พิพากษาระดับสูง เมื่อถึงคราวมีอำนาจสูงสุด คิดว่าตนเองใหญ่
มีอำนาจคุมการสอบสวนคดีใหญ่ๆ ไปขอให้ศาลออกหมายจับนักการเมืองคนหนึ่ง เป็นอตีดนายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกที่
อดีตนักการเมืองคนนี้ แต่งตั้งให้มาเป็นใหญ่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ
แต่อำนาจบังตา เพราะผู้กระทำผิดเป็นบุคคลสำคัญ แทนที่จะออกหมายเรียก ไปขอให้ศาลออกหมายจับ
ศาลก็ออกให้ เพราะพยานหลักฐานผู้มีอำนาจแสวงหามาเอง แต่เจอของแข็งครับ “ปั้นปลายชีวิต” อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องถูกจำคุก
ศาลเห็นว่าอตีด ผู้ยิ่งใหญ่ในกรมสอบสวนใช้อำนาจในทางที่ผิด ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้แจ้งเกิดเลยครับ “กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนา อำนาจเป็นเพียงหัวโขน ไม่มีใครใหญ่เหนือกฏหมาย
ดังนั้น ตำรวจต้องไม่ลืมถึงจุดอ่อนอันนี้ ทนายความเค้าไม่ได้กลัวตำรวจหลอกครับ ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ถ้าทำถูกต้องก็ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง
ผู้หญิงคนหนึ่งชึ่งประกอบวิชาชีพทนายความ ต้องถูกสังคมประจาน ทั้งที่กำลังทำหน้าที่ ถ้าจำเป็นจริงๆไม่มีใครอยากรบกับตำรวจหรอกครับ
ทนายความมืออาชีพ “อย่าง”ทนายพัช” แม้สังคมและผู้ประกอบวิชาชีพทนายความด้วยกัน กล่าวหาว่า “ทนายพัช” ชั่วโมงบินจะมีน้อย แต่เบื้องหลัง ไม่ธรรมดา จึงเป็นกรณีศึกษา
ยิ่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการแล้ว ตำรวจต้องเคารพชีวิต ใช้สิทธิตามกฎหมาย
การกระทำของตำรวจ ถ้า”ทนายพัช”เค้าได้รับกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจแล้ว เค้าก็มีสิทธิฟ้องได้นะครับ
เมื่อพยานมาสู่ศาลแล้วใครเท็จใครจริง พยานนั้นก็จะปรากฏแก่ศาลเอง ทนายความเค้ามีวิธีการ ที่จะทำให้ข้อเท็จจริงปรากฏ
ขั่นตอนขบวนการยุติธรรมทางศาลกับตำรวจ จึงมีความแตกต่างกัน ขบวนการยุติธรรมจึงได้มีการทวงดุลอำนาจกัน อย่างแท้จริง
ความผิดที่ ทนายพัช”ฟ้อง พยานต่อศาล จึงเป็นบทเรียน สำหรับ
พยาน ที่ชอบให้ข่าว ก่อนศาลมีคำพิพากษา
ดร.สุกิจ พูนเกษม