ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
ปฏิรูปกระบวนการคณะสงฆ์ไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
……………\\\\\\\………………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑ )ได้นำความแตกแยกและความยุ่งยากมาสู่ชาวพุทธในสังคมไทย คำถามที่ตามมาก็คือเกิดอะไรขึ้นแก่พระพุทธศาสนาของไทยที่ผ่านมา
แต่เดิมนั้น พระสงฆ์ควบคุมประชาชนในเชิงจิตใจ หมายความว่าพระสงฆ์มีหน้าที่หลักคือศึกษาและปฏิบัติธรรม แล้วนำความรู้ที่ได้นั้นมาสั่งสอนชี้แนะแก่ประชาชน ว่ากล่าวตักเตือนประชาชนมิให้ประพฤติตนเสื่อมเสีย ประชาชนที่ถูกพระสงฆ์ติเตียนก็จะได้สำนึกกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี
ส่วนเรื่องสถานที่ปฏิบัติธรรม ปัจจัยสี่ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นั้น ประชาชนเป็นผู้จัดหาให้ มิใช่กิจของสงฆ์ที่จะแข่งขันกันสร้างวัตถุ หรือสะสมทรัพย์สินใด ๆ เมื่อประชาชนไม่อาจควบคุมพระสงฆ์ในเชิงวัตถุได้อีก เวลามีพระสงฆ์ที่ประพฤติมิชอบเกิดขึ้น แม้ประชาชนจะรวมตัวกันต่อต้านคัดค้านพระสงฆ์ที่ต้องอธิกรณ์นั้น ถ้าผู้บังคับบัญชาปกป้อง พระสงฆ์รูปนั้นก็ยังคงอยู่ได้
จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติม พรบคณะสงฆ์หลายครั้งมา เป็น พรบ สงฆ์ พศ.2505 มาตรา 44 ตรี บัญญัติว่า ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก นั้น (เป็นกฏหมายโดยเฉพาะ) ชึ่งมีโทษทางอาญาเพื่อป้องกันการใส่ร้ายประจานคณะสงฆ์ ใช้ได้กับการให้ร้ายพระสงฆ์ทุกกรณี “ไม่ใช่กรณีใดกรณีหนึ่ง” ตามข่าวของรายการโทรทัศน์ช่องดังออกรายการ
ส่วนประชาชนใส่ความ หรือดูหมิ่น “ไม่ว่าจะเรียกประชาชนอีหรือไอ้ แล้วต่อด้วยข้อความที่หยาบคาย เมื่อนำความหมายทุกถ้อยคำมารวมกันแล้ว
หากเป็นความผิด ถ้าประชาชน จะดำเนินคดีกับพระสงฆ์ นั้น ก็ต้องใช้ประมวลกฏหมายอาญา ในเรื่องหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น เป็นต้น
กระบวนการคณะสงฆ์ไทย จึงต้องปฎิรูป ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม กล่าวคือ
ทำอย่างไร ที่พุทธศาสนาที่พระสงฆ์ เป็นตัวแทน จะเป็นยอมรับการว่ากล่าวตักเตือนของพระสงฆ์ ให้ประชาชนให้ประพฤติตนเสื่อมเสีย ให้มีสติ ไม่ใช่เอาแต่ใจ เมื่อมีความเห็นต่าง
ประชาชนที่ถูก”พระสงฆ์ติเตียน”ก็จะได้สำนึกกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีของสัมคมได้ โดยไม่นำเอาเรื่องส่วนตัวมาประจานกันทางสื่อมวลชนได้ เหมือนปัจจุบันนี้
ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม