ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา หากคดีมีอัตราโทษไม่เกิน 10 ปี ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องมีประกัน
วันที่ 21 มี.ค.2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยซัวคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบ้ญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ประกอบมาตรา 110 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (บับที่ 30) พ.ศ.2558 ประธานศาลฎีกาออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5.3 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องมีประกัน หากมีเหตุจำเป็นต้องมีประกันให้กำหนดวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น ก็ให้ระบุเหตุนั้นไว้โดยชัดแจ้ง”
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5.4 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ต้องมีประกันและจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ได้ แต่วงเงินประกันต้องไม่สูงเกินควรแก่กรณี”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา
หรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548
“ในกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศขอปล่อยชั่วคราว ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต่อเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมส่งมอบหนังสือเดินทางไว้ต่อศาลด้วย และให้ศาล
มีคำสั่งห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ศาลเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมส่งมอบหนังสือเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมอบสำเนาหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตังกล่าวไว้แทน
เมื่อศาลมีคำสั่งห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้ศาลมีหนังสือแจ้งคำสั่งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อระงับการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจนกว่าศาล
จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยให้ส่งสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลยแนบไปพร้อมด้วย และเมื่อคดีถึงที่สุดหรือไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาหนังสือเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ ให้คืนหนังสือเดินทางแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย พร้อมทั้งแจ้งยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยเร็ว”
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ชีพ จุลมนต์
ประธานศาลฎีกา
Cr.thaipbs
สำนักข่าววิหคนิวส์