เพจ ฤา ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
จากกระแสเรียกร้องให้มีการ “ปลดล็อกท้องถิ่น” ของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง จนกลายมาเป็นแคมเปญเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมลงชื่อสนับสนุนการเรียกร้องครั้งนี้ ทำให้หลายคนเข้าใจไปว่า ประเทศไทยอยู่ในระบบรัฐราชการรวมศูนย์ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศมาช้านาน จนทำให้คนท้องถิ่นถูกกดทับและไม่มีโอกาสในการพัฒนา
วันนี้ทีมงาน ฤๅ เลยอยากนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นว่าแนวคิด “ปลดล็อกท้องถิ่น” นั้น จริงๆ แล้วมีการริเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แนวคิดที่ว่าคือ “หลักการประชาภิบาล” หรือการปกครองในรูปแบบเทศบาล ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชกระแสตั้งแต่ปีแรกที่ขึ้นครองราชย์ ทรงริเริ่มวางแนวทาง “การปกครองท้องถิ่น” เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การปกครองตนเอง และเตรียมพัฒนาต่อไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภา
แนวคิดของพระองค์ ได้กลายมาเป็นที่มาของ “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล” ซึ่งถือเป็นกฎหมายว่าด้วย “การปกครองท้องถิ่น” ที่แท้จริงฉบับแรกของสยาม อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการกระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา ตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
รู้ไหมครับว่ากว่าจะมาเป็น “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล” นี้ มีการวางแผนการทำงานกันอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการชาวไทย และที่ปรึกษาชาวต่างชาติ มีการศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศ ทำรายงานทูลเกล้าถวาย รวมทั้งปรับแก้แนวทางกันอย่างละเอียด เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศสยามมากที่สุด
ในหลวงรัชกาลที่ 7 และคณะกรรมการทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานครั้งนี้มาก โดยเฉพาะเรื่องเทศบาลในกรุงเทพมหานคร ที่ในหลวงทรงมีพระราชกระแสว่า …
“ข้าพเจ้าอยากเห็นกรุงเทพฯ มี Municipality และเลี้ยงตัวเองได้ก่อนข้าพเจ้าสิ้นชีวิต”
ทว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่การปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล กลับมีเหตุให้ต้องหยุดชะงักงันไปเสียก่อน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่มีโอกาสได้ถูกประกาศใช้จนสิ้นสุดยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การวางแนวทาง “ปลดล็อกท้องถิ่น” ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการทำงานกันอย่างไรบ้าง ? และเกิดอะไรขึ้นกับ “พระราชบัญญัติเทศบาล” ที่พระองค์ทรงดำริขึ้น ? หาคำตอบได้ในบทความนี้ครับ https://bit.ly/3yhCR3v