ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ปลุกกัญชาแห่งแรก ! มข.ปลุกเจ้าแรกในอิสาน

#ปลุกกัญชาแห่งแรก ! มข.ปลุกเจ้าแรกในอิสาน

14 January 2021
665   0

#เริ่มแล้ว! ม.ขอนแก่น ทดลองปลูกกัญชง #แห่งแรกในอีสาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นย้ำชัด เดินหน้าพัฒนากัญชงสู่วงการแพทย์ คู่ขนานกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทุกการใช้งานได้ทั้งต้น
.
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 12 ม.ค.2564 ที่หมวดพืชผัก สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีปลูกต้นกัญชง ตามโครงการประเมินและพัฒนาสายพันธุ์กัญชงเพื่อการแพทย์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ มข. ได้กำหนดจัดการปลูกขึ้นตามแผนการปลูกกัญชงลงแปลง ระยะที่ 1 ท่ามกลางความสนใจจากนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมทำการปลูกต้นกัญชงและชมแนวทางการวิจัยที่ มข.ได้กำหนดจัดขึ้นอย่างมาก
.
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ มข.ได้รับหนังสือแสดงการอนุญาตผลิต (ปลูก) กัญชง ตามหนังสือสำคัญที่ 19/2563 ที่สามารถปลูก เก็บเกี่ยวหรือแปรสภาพเฮมพ์ได้อย่างถูกกฎหมาย ดังนั้นทีมงานนักวิจัย มข. โดยคณะเกษตรศาสตร์ จึงทำการกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกในพื้นที่ 1,664 ตารางเมตร โดยใช้เมล็ดพันธุ์จากสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ราบสูง (องค์กรมหาชน) รวม 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์ อาร์พีเอฟ 1 อาร์พีเอฟ 3 และ อาร์พีเอฟ 4 โดยสายพันธุ์ อาร์พีเอฟ 1 และ 3 นั้น ใช้สายพันธุ์ละ 2 กิโลกรัม ขณะที่ สายพันธุ์ อาร์พีเอฟ 4 ทำการปลูกจำนวน 50 เมล็ด
.
“กัญชงที่นำมาลูกในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัย ประเมิน ในการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงเพื่อการแพทย์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นที่แรกของขอนแก่น และแห่งแรกในภาคอีสานที่ได้รับการอนุญาตให้ปลูกในการใช้ช่อดอกในกาวิจัยและประเมินสายพันธุ์ ทั้งนี้ที่ผ่านมานักวิจัยได้ทำการเพาะพันธุ์ต้นกล้าจากเมล็ดพันธุ์ มาตั้งแต่เดือน ธ.ค.2563 จำนวนกว่า 700 ต้น โดยครบกำหนดย้ายลงแปลงแล้วในวันนี้ ซึ่งต้นกัญชงทั้งหมด จะใช้ระยะเวลาประมาณ 120-150 วัน ที่จะผลิตดอก และครบกำหนดการเก็บเกี่ยวดอกเพื่อนำไปวิจัย ประเมิน และพัฒนาสายพันธุ์เพื่อการแพทย์ต่อไป”
.
รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินงานตามขั้นตอนของกัญชงลงแปลง นั้นสถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ มข. จะประสานการทำงานร่วมกันกับทุกคณะและทุกภาควิชา ในการร่วมกันวิจัยและต่อยอดต้นกัญชงให้สามารถใช้งานได้ทั้งต้น โดยมีการกำหนดแผนงานวิจัยพืชกัญชงและกัญชาแบบบูรณาการศาสตร์ เริ่มตั้งแต่คณะเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยด้านการปลูก ปรับปรุงพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยสกัดน้ำมันกัญชงและกัญชา ทำการวิเคราะห์สารองค์กรประกอบสำคัญ คณะเภสัชศาสตร์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อเตรียมรูปแบบขนาดผลิตภัณฑ์ยา เพื่อส่งต่อให้ทีมคณะแพทยศาสตร์ เพื่อนำไปวิจัยด้านคลินิกผู้ป่วยเฉพาะโรค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ยาที่รักษาเฉพาะโรคหรือเฉพาะรายบุคคล ขณะที่ทีมสัตวแพทย์มีการศึกษาวิจัยด้านการนำวัสดุเศษเหลือจากการศึกษาด้านต่างๆแล้วไปพัฒนาเป็นอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตามสำหรับแปลงทดลองปลูกต้นกัญชงแปลงแรกในภาคอีสานนั้นจะปลูกในพื้นที่โล่ง มีการใช้ต้นทานตะวันเป็นตัวดักแมลง และจะทำการปลูกตามเทคนิควิธีที่คณะเกษตรศาสตร์ได้กำหนดและกำกับต่อไป

Source : Khon Kaen Link : ขอนแก่นลิงก์
https://www.khonkaenlink.info/home/news/12033.html