การดำเนินคดีกับกลุ่มองค์กรเครือข่ายที่กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศต่าง ๆ จะต้องถูกดำเนินคดีตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีผลผูกพันที่เอกอัครราชทูต อุปทูต ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 211 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐทุกองค์กร ประกอบมาตรา 52 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต และเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ และความมั่นคงของรัฐ มาตรา 43 รัฐต้องดูแลให้ปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ผู้ร้องจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 51 การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ถ้าการนั้นเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ผู้ถูกร้อง กลุ่มองค์กรเครือข่ายที่ได้กระทำความผิดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หมวดความมั่นคง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่กลุ่มบุคคลที่กระทำความผิดดังกล่าว มีถิ่นพำนักอยู่ต่างประเทศ และใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter Line Tiktok Instagram และ Clubhouse เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เคลื่อนไหว กล่าวหา โจมตี ล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นความผิดตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย และยังเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ของประเทศต่าง ๆ เรื่องการหมิ่นประมาท บุคคลที่ระบุว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำผิดหรือมีวิถีชีวิตที่เข้าใจได้ หรือให้ข้อมูลที่ต้องรับผิดชอบในการเปิดเผยบุคคลนั้น ต่อการดูหมิ่นผู้อื่น มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และตามความผิดตามกฎหมายไซเบอร์ของแต่ละประเทศ กระผมในฐานะผู้ร้อง จึงขอให้เอกอัครราชทูตและอุปทูตในประเทศต่าง ๆ ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยเป็นผู้เสียหายดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระผมได้ทำเอกสารแจ้งให้สถานทูตต่าง ๆ ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลและคณะบุคคล เช่นในประเทศญี่ปุ่นมีนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นต้น
ดร.ณฐพร โตประยูร ผู้ร้อง