เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ปัญหาความขัดแย้ง !สภาทนายในยุค ถวัล รุยาพร เป็นผู้บริหาร

#ปัญหาความขัดแย้ง !สภาทนายในยุค ถวัล รุยาพร เป็นผู้บริหาร

14 February 2022
700   0

ประการแรก เรื่องอำนาจผู้บริหารสภาทนายความยุค นายถวัล รุยาพรนั้น จะใช้กับสมาชิกทนายความด้วยที่มีความเห็นต่าง ด้วยการประเคนความผิดฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ ทั้งที่สมาชิกสภาทนายความบางคนต่อสู้เพื่อให้เพื่อนทนายความ ให้ได้ห้องพักของทนายความจากศาล

เมื่อนายถวัล รุยาพร กับเลขาคู่ใจถูกร้องกับพวกถูกกล่าวหาบ้าง ก็ดิ้นรนไปฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งที่ประธานมรรยาททนายความ รับเป็นการกล่าวหาโดยไม่ชอบ

โดยท่านนายกสภาทนายความและเลขาคู่ใจท่านนี้ไม่คำนึงถึงเนื้อหาที่ผู้ร้องได้กล่าวหา ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และเป็นความรู้และเป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนสมาชิกสภาทนายความทั้งสิ้น

แต่กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ศาลปกครองไม่รับเนื่องจาก เนื้อหาที่ผู้ร้องกล่าว ล้วนแต่กล่าวหาว่า นายถวัล รุยาพร ผู้บริหารสภาพทนายความกับเลขาคู่ใจกับพวก ไม่เป็นกลาง สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อสมาชิกสภาทนายความ ชึ่งผู้บริหารเป็นบุคคลสาธารณะ ที่จะต้องรับสภาพถึงปัญหาความขัดแย้งในองค์กรสภาทนายความ

ปราการที่ สอง การที่นายบุญชัย วสุนธรา ทนายความชั้นผู้ใหญ่กล่าวหา นายกสภาทนายความ ถวัล รุยาพรกับเลขาคู่ใจกับพวกนั้น เป็นปัญหาข้อกฏหมาย

ศาลปกครองมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานว่า การประกาศให้มีการเลือกตั้ง
นายกสภาทนายความและกรรมการ เป็นกฏหมายโดยเฉพาะที่ให้อำนาจประธานมรรยาทแต่เพียงผู้เดียวที่ทำได้
แต่นายกสภาทนายความ กับเลขาคํ่ใจกับพวก ยังฝ่าฝืนต่อกฏหมายกระทำในสิ่งที่กฏหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

การออกแถลงการณ์ของนายนิพนธ์ จันทเวช เลาขาคู่ใจท่านนายถวัล รุยาพรและข้อเขียนไลน์ของนายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร กรรมการมรรยาททนายความ สร้างความเสื่อมเสียให้องค์กรสภาทนายความ
มีเจตนาสร้างความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงเป็นการทำลายความสามัคคี เป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ

ผู้ที่เข้าร่วมประชุมครั้งที่ 1/2565 มีมติให้ฟ้องศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่งของประธานมารยาททนายความ ที่ไม่เห็นด้วย ที่จะต้องเข้าร่วมประชุม ยกเว้นลาป่วย ประกอบด้วย

๑ นายถวัลย์ รุยาพร ๒ นายทัศไนย ไชยแขวง (อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ)นายกฝ่ายบริหาร) ๔ นายเกษม รังสุวรรณ์ (กรรมการวิชาการ)
๕ นายภักดี บุษยะบุตร (อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ) 6 นายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร (อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย) ๗ นายสมพงษ์ สิงห์สมบุญ (กรรมการบริหาร และ นายเสาวภัคดิ์ สกุลโรมวิลาศ และกรรมการภาค ๑) ๘ นายนิพนธ์ จันทเวช (กรรมการภาค ๖) ๙ นายนุกูล ศิริสุวรรณ์ (กรรมการภาค ๗) ๑๐ นายลือชา เปี่ยมสุวรรณ (กรรมการภาค ๔) ๑ด นายจำแลง มลคลนิสภกุล (กรรมการภาค ๔)นั้น หมดวาระต้องเว้นวรรค ต้องห้ามลงสมัคร

ส่วน ๑๒ นายสมพร ดำพริก (อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ) ๑๓ นายมะโน ทองปาน (อุปนายกฝ่ายวิชาการ) ๑๔ นายสมพงษ์ จู่ตันช่วน (อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน) ๑๕ นางสาวกิตติมา สิริศุภชัย (กรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและปฏิคม) ๑๖ นายสมศักดิ์ อัจจิกุล (นายทะ เบียนและกรรมการประชาสัมพันธ์) ๑๗ นาย สมพล วงศ์มณฑา (อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ) ๑๘ นายภากร ชัชวาลวงศ์ (เหรัญญิกและผู้ช่วยเลขาธิการ) ๑๙ นายวิทยา ทองกุ้ง (อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์) ๒๐ นายซนนท์ ตันยะไพบูลย์ (กรรมการบริหาร ภาค ๒) ๒๑นายชัช วงศ์สิงห์ (กรรมการบริหาร ภาค ๓) ๒๒ นายสมศักดิ์ วาทบัณฑิตกุล (กรรมการบริหาร ภาค ๔) ๒๓ นายพรศักดิ์ สังข์สังวาล (กรรมการบริหาร ภาค ๕)

ท่านที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับที่ 12 ลงมานั้น สามารถสมัครเป็นผู้บริหารและกรรมการของสภาทนายความได้อีกหนึ่งวาระ หมายถึงสามารถลงสมัครได้อีกครั้งหนึ่ง

ท่านทนายผู้ทรงเกียรติ ที่ร่วมลงมติคัดค้านการเลือกตั้งไว้แล้วในที่ประชุม ย่อมที่จะต้องแสดงถึงจุดยื่นที่ที่คัดค้าน ต้องไม่ลงสมัครเป็นกรรมการหรือผู้บริหารสภาทนายความในครั้งนี้ เว้นผู้ที่ไม่ออกเสียง หรือมีมติไม่มีเหตุที่จะฟ้องศาลปกครอง

ถ้าผู้ลงมติในที่ประชุม ให้ฟ้องศาลปกครองลงสมัครเป็นผู้บริหารหรือกรรมการในครั้งนี้ ถือว่า กลืนน้ำลายตัวเอง ถึงได้เป็นผู้บริหาร ย่อมไม่มีศักดิ์ศรีการเป็นทนายความและการเป็นผู้นำ องค์กรสภาทนายความให้สู่ความเป็นเลิศได้ องค์กรย่อมไม่มีความน่าเชื่อถือต่อสังคม

การกระทำนั้น ย่อมผิดมรรยาททนายความตาม ข้อ 18 เป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนาย ความ ข้อ 21 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับอย่างเคร่งครัดด้วย