27 ส.ค.62-นายรักษเกชา แฉ่ฉายเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงภายหลังการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินว่าที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา46 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ2561 เพื่อให้วินิจฉัยว่าการที่นายกรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา161 เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายภานุพงศ์ชูรักษ์นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นผู้ยื่นคำร้องหรือไม่โดยผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าแม้พล.อ.ประยุทธ์จันทรโอชานายกรัฐมนตรีจะส่งคำชี้แจงมาว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ครบถ้วนตามกระบวนการและขั้นตอน ถือว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ได้ปฏิบัติสำเร็จโดยสมบูรณ์ ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยและการถวายสัตย์ของครม.เป็นเรื่องของครม.กับพระมหากษัตริย์แตกต่างจากการกล่าวคำปฏิญาณตนของส.ส.
แต่รัฐธรรมนูญตามมาตรา5 วรรคหนึ่งระบุ“รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบทบัญญัติใดของกฎหมายกฎหรือข้อบังคับหรือการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้…” เมื่อนายกฯกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย รวมถึงมีปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของนายภาณุพงศ์ในฐานะผู้ร้องเรียน เป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนหรือโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา46 พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 และเป็นไปตามนัยมาตรา213 ของรัฐธรรมนูญโดยผู้ตรวจการแผ่นดินจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในช่วงบ่ายวันนี้(27 ส.ค.) ส่วนรัฐบาลจะต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนหรือไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาซึ่งผู้ตรวจการฯไม่ได้ยื่นคำร้องในประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในส่วนของคำร้องของนายศรีสุวรรณ จรรยาเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยและนายอัยย์เพชรทองเลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพร้องในประเด็นเดียวกันว่าหากการที่นายกฯถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองนั้นเมื่อผู้ตรวจฯพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีการถวายสัตย์ไม่ครบเป็นเรื่องของการกระทำไม่ใช่บทบัญญัติกฎหมายจึงไม่ได้เป็นประเด็นว่าข้อความหรือถ้อยคำในการกล่าวถวายสัตย์ฯมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญและเมื่อเป็นการกระทำก็เห็นว่าไม่ใช่การกระทำทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองจึงมติให้ยุติเรื่องในส่วนของ2 คำร้องนี้
สำหรับกรณีที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยขอให้พิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา46 พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่5 มิ.ย. เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่โดยผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าตามรัฐธรรมนูญมาตรา252 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา159 วรรคหนึ่งให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาและมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา159 วรรคสามต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาซึ่งถือเป็นบทยกเว้นมาตรา159 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แม้ไม่ได้บัญญัติยกเว้นมาตรา159 วรรคสองไว้ด้วยก็ตามแต่มาตรา159 วรรคสองเป็นเพียงกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า1 ใน10ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งจากคำชี้แจงของนายชวน หลีกภัยประธานรัฐสภาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้จัดให้มีการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีส.ส. เสนอชื่อจำนวน2 ท่านคือพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและมีส.ส.รับรองโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่า1ใน10ของจำนวนส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยไม่มีส.ส.คนใดเสนอรายชื่อเพิ่มเติม ประธานรัฐสภาจึงดำเนินการให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายและให้ความเห็นชอบต่อไป จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา159 วรรคสองการกระทำของประธานรัฐสภาจึงไม่เป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ได้มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์และฟังไม่ได้ว่าพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจึงให้ยุติเรื่อง.
Cr.thaipost
สำนักข่าววิหคนิวส์