วันที่ 7 พ.ค. 2565 นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 2540 เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองนับจากนี้ไปจนถึงช่วงสภาเปิดประชุม 22 พ.ค.- 19 ก.ย.2565 เป็นที่น่าจับตามอง อย่างย่ิงว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น เป็นที่น่าสังเกตุว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ค.แกนนำ 6 พรรคร่วมฝ่ายค้านนำโดยพรรคเพื่อไทยได้จัดงาน”ผนึกกำลังขีดเส้นใต้่ความล้มเหลว ขีดเส้นตายรัฐบาลที่สิ้นสภาพ พร้อมกับออกแถลงการณ์ โดยน.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยแถลงว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอำนาจ คืนชีวิต คืนความอยู่ดีกินดี คืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกคน และนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกลกล่าวว่า หมดเวลาของพล.อ.ประยุทธ์แล้ว ทางออกที่ชอบธรรมคือการยุบสภาเท่านั่น
นายบุญเลิศ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์จะไม่ยุบสภาเด็ดขาดถ้าไม่แพ้โหวตในสภาผู้แทนฯ ไม่ว่าจะเป็นร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2566 หรือการลงมติไม่ไว้วางใจ แต่มีช่องทางหนึ่งที่จะทำให้พล.อ.ประยุทธ์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยุบสภา คือส.ส.ฝ่ายค้านพร้อมใจกันลาออกจากการเป็นส.ส. โดยเลือกจังหวะการลาออกเกินกว่า 180 วันนับจากวันที่ 22 มีนาคม 2566 เลื่อนขึ้นมา ซึ่งจะตรงกับช่วงก่อนวันที่ 19 กันยายนนี้ ระยะเวลาที่คาบเกี่ยวกันนี้เป็นช่วงเวลาที่เหลือน้อยของสภารวมทั้งรัฐบาล
เหตุผลก็คือ รัฐธรรมนูญมาตรา 105 บัญญัติว่า ถ้าส.ส.ว่างลงในช่วงสภาเหลืออายุไม่ถึง180 วันให้ปล่อยตำแหน่ง ส.ส.นั้นว่างไว้ แต่นั่นหมายถึงเหตุการณ์ปกติที่อาจมีส.ส.พ้นสภาพแค่คนสองคน แต่ถ้าส.ส.พ้นสภาพกันจำนวนมากจากการพร้อมใจกันลาออก การจัดการเลือกต้ังซ่อมพร้อมๆกันหลายเขตจากการที่ส.ส.ฝ่ายค้าน นอกจากการกำหนดวันเลือกตั้งที่ทอดระยะเวลาในช่วงที่เหลือม่ถึง180 วันของสภาจะได้ส.ส.เข้ามาปฏิบัติในเวลาที่เหลือน้อยนิดเพียง 3- 4 เดือนสุดท้ายก่อนครบวาระซึ่งไม่คุ้มกัน สภาก็กลาย”สภาเป็ดง่อย” ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองงบประมาณที่จะใช้จัดการเลือกตั้งซ่อม ประกอบวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ปั่นป่วน กระทบไปถึงรัฐบาลประยุทธ์ที่ถูกโจมตีจนสั่นคลอน เท่ากับเป็นการบีบให้พล.อ.ประยุทธ์ต้องยุบสภา
“ปัญหามีอยู่ว่า พรรคฝ่ายค้านจะกล้าพร้อมใจกันลาออก หรือเสียดายเก้าอี้ เสียดายเงินเดือนค่าตอบแทน ถ้าเสียดายก็ป่วยการประกาศว่า รัฐบาลหมดเวลา การตบแถวยกขบวนกันลาออกพร้อมเพรียงกันของส.ส.ฝ่ายค้าน เป็นหมัดน็อคที่ต้องการล้มกระดาน หรือจมเรือแป๊ะ” นายบุญเลิศ กล่าว