24 ก.ค. 2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง รัฐมนตรีคนไหนรอด เสียงโหวตนอกสภา กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,175 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.7 รู้อยู่แล้วว่าจะอภิปรายอะไร ไม่มีอะไรใหม่ โจมตีกัน เสียดสีกันทางการเมืองและสถาบัน หวังทำลายความน่าเชื่อถือศรัทธาของคนไทย หาเสียงก่อนการเลือกตั้ง ในขณะที่ ร้อยละ 70.9 ระบุ มีแต่สาดโคลน เอาเรื่องส่วนตัวมาโจมตี เหมือนดูละคร น้ำเน่า ไม่ได้ประโยชน์ ร้อยละ 69.6 ระบุ เห็นฝ่ายค้านบางคนอภิปรายได้ดี รัฐบาลควรนำไปแก้ไข ร้อยละ 64.3 ระบุ เห็นชัดการเมืองไทย และหลักประชาธิปไตยไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มอำนาจผลประโยชน์และคนต่างประเทศ ร้อยละ 53.6 ระบุอื่น ๆ เช่น พรรคเล็ก พรรคใหญ่ต่อรองผลประโยชน์ มีทั้ง ดาวร่วง ดาวรุ่ง ไร้ค่ายสังกัด ประชาชนรู้ทัน เป็นต้น
ผลสำรวจพบด้วยว่า รัฐมนตรีที่ประชาชนวางใจให้ทำงานต่อ อันดับแรกคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร้อยละ 61.1 รองลงมาคือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 59.2 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 58.7 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 53.2 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 52.1 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร้อยละ 51.9 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ร้อยละ 51.4 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานร้อยละ 50.8 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 50.5 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 50.3 และ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 50.3 เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ระบุ ควรปรับคณะรัฐมนตรี หาคนเก่งมาร่วมงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนได้ดีกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 30.9 ระบุ ไม่ควรปรับ เพราะ ทำงานดีอยู่แล้ว ปรับไปก็เท่านั้น ไม่มีประโยชน์ ยิ่งเกิดปัญหาขัดแย้งแก่งแย่งตำแหน่ง ใครจะเป็นอะไรไม่เกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ 5 อันดับแรก คุณลักษณะเฉพาะของบุคคลสำคัญที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 55.8 ระบุ เป็นชาย สูงวัย ซื่อสัตย์ ไม่โกงบ้านโกงเมือง เด็ดขาด ปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ มีผลงาน มากประสบการณ์ เคยผ่านการเป็นผู้นำสูงสุดในอาชีพ อดทน คุมความขัดแย้งของคนในชาติได้ รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย นานาประเทศยอมรับ รองลงมาคือ ร้อยละ 54.6 ระบุ เป็นชาย อดีตนักธุรกิจ นักบริหาร มีผลงานประสบความสำเร็จทั่วโลกยอมรับ มากประสบการณ์การเมือง อดทน จิตใจดีช่วยเหลือคนตัวเล็กตัวน้อย กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าทำ มีความสามารถแก้วิกฤตต่าง ๆ ได้ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม เด็ดขาดเมื่อต้องเด็ดขาด มีจุดยืนปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ
อันดับสามคือ ร้อยละ 51.9 เป็นชาย สูงวัย มีประสบการณ์ กล้าทำ แก้ปัญหาใหญ่ ๆ ปราบปรามอิทธิพลเถื่อน แก้ต้นตอปัญหาทำกิน มีบารมีเครือข่าย คอนเนคชั่น คุมความขัดแย้งของคนในชาติ ปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ อันดับสี่คือ ร้อยละ 39.4 ระบุ เป็นชาย คนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์กว้างไกล โลกเสรีประชาธิปไตย พูดจาดีน่าฟัง มีเหตุผล เคยเป็นนักธุรกิจ และอันดับห้า คือ ร้อยละ 24.8 ระบุ เป็นหญิง คนรุ่นใหม่ อายุน้อย แต่ มีฐานะ มีตระกูลแกนนำการเมือง ตั้งใจจริงจะพัฒนาประเทศให้เจริญ มุ่งมั่นรวบรวมนักการเมืองเป็นครอบครัวเดียวกัน
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า รัฐมนตรีที่รอดจากเสียงโหวตนอกสภาไว้วางใจให้ทำงานต่อมากที่สุดและเรียงลำดับคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายอนุทิน ชาญวีรกูล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นกลุ่มรัฐมนตรีในสามอันดับแรกที่ประชาชนวางใจและที่แตกต่างจากผลโหวตในสภาคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ที่ขึ้นมาเป็นอันดับสี่ และที่น่าพิจารณาคือ สี่รัฐมนตรีในผลสำรวจครั้งนี้ที่รอดครึ่งหนึ่งเฉียดฉิว
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ที่เด่นในโพลนี้คือ เมื่อไม่บอกชื่อว่าคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี คือใคร เพื่อลดอคติเพราะชื่อคน ผลสำรวจที่พบคือ มีหลายคุณลักษณะของผู้ที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีตรงใจมีความสอดคล้องตรงกัน เช่น เป็นชาย มากประสบการณ์ มีผลงานความสำเร็จบริหารจัดการได้ดี นานาประเทศทั่วโลกยกย่องยอมรับ เช่น แก้วิกฤตโควิด มีความกล้าเปลี่ยนแปลง ช่วยเหลือประชาชน เด็ดขาด อดทน ทนแรงเสียดทาน มีจุดยืนปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ ควบคุมความขัดแย้งของคนในชาติได้ ที่พอจะนำไปคาดเดากันได้ว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปน่าจะเป็นใครในเสียงโหวตนอกสภาบ