พล.อ.วัลลพฯ พร้อม แม่ทัพภาคที่ 4 และคณะ สล.3 ร่วมระดมความคิดเห็น หารือสถานการณ์ความคืบหน้า ก่อนพูดคุยสันติสุขในเดือนกุมภาฯ เพื่อหาข้อยุติความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.อย่างยั่งยืน “ประชาชน รับรู้ เข้าใจ ปฏิเสธความรุนแรง และสนับสนุนแนวทางสันติวิธี”🔆
> วันนี้ (25 มกราคม 2566) เวลา 10.00 น. ณ ห้องน้ำพราว 2 โรงแรมซีเอสปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกียรติร่วมประชุมกับคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 2/2566 เพื่อหารือแนวทาง สร้างสันติสุข พร้อมแถลงความคืบหน้ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนแนวโน้มของการพูดคุยสันติสุขในอนาคต โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ เป็นประธาน พร้อมด้วย พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , พลตรี กรกฎ ภู่โชติ รองแม่ทัพภาคที่ 4/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5/ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ตลอดจนคณะประสานงานระดับพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี , ยะลา , นราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ร่วมประชุม
>> พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า “การประชุมวันนี้เป็นการมาพูดคุยหารือ และสรุปถึงความคืบหน้าในการพูดคุย ซึ่งรัฐบาลยังคงมีนโยบายสำคัญก็คือการพูดคุยด้วยแนวทางสันติวิธี ซึเป็นผลให้ภาพความรุนแรง ที่แม้ยังคงมีอยู่แต่เหตุการณ์ลดลงตามลำดับ โดยแนวทางการพูดคุยอีกครั้งจะมีขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในปัจจุบันมีข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการลงสัตยาบัน และในครั้งต่อไปจะมีการพูดคุยอีกครั้งช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับการเปลี่ยนแปลงคณะอำนวยการการพูดคุยสันติสุขของทางมาเลเซีย ปีนี้ คือ ตันศรี ดาโตะ ซุลกิฟลี ไซนัล อบิดิน เป็นหัวหน้าผู้อำนวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็น่าจะไม่มีผลกระทบอะไร และน่าจะสามารถบรรลุภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2566 นี้ การพูดคุยสันติสุข จะมีการจัดทำโรดแมป ในการพูดคุยและทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็น ก่อนแสวงหาทางออกตามโรสแมพต่อไป”
>> แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ กล่าวว่า “ทุกท่านในที่นี้เป็นตัวแทนของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ถือเป็นโซ่ข้อกลางที่จะเชื่อมต่อระหว่างประชาชนและภาครัฐเพื่อหารือทางออกลดความรุนแรงในพื้นที่ ด้วยเสียงประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง นำเสนอผ่านเวทีสาธารณะระดับชุมชน เพื่อหาข้อยุติความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่ม รับรู้เข้าใจ ปฏิเสธความรุนแรง และสนับสนุนแนวทางสันติวิธี ทุกคนต้องการเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และสันติสุขกลับคืนมา วันนี้ปัญหาของประชาชน คณะประสานงานระดับพื้นที่ได้นำมาร่วมกันหารือวันนี้แล้ว หลังจากนี้ คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะพิจารณานำเข้าสู่โต๊ะเจรจาด้วย”
>> สำหรับการดำเนินการของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2566 นั้น ตลอด 3 เดือน ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ดำเนินงานสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุข รับฟังปัญหา และสร้างความเข้าใจต่อประชาชน จนนำมาสู่การนำประเด็นปัญหาต่างๆ ของประชาชน มาร่วมหารือกับหัวหน้าพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการประชุม โดยการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อประเด็นสารัตธะทั้ง 3 ข้อ (การลดความรุนแรง, การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่, การแสวงหาทางออกทางการเมือง) เพื่อให้การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นผลเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป■■■