ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
บทบาทศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนายก 8 ปี ต้องเป็นไปตามหลักสากล
หลักทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้และการตีความกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ต้องตีความตามลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 นั้น ไม่ได้ระบุว่าให้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 มาใช้ด้วย นั้น
ปัจจุบันใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อานานิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมาย
โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ส่วน ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้ เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้ เป็นกฎหมายบังคับอยู่
แท้จริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในปี 2557 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไปถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ขณะนั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว การประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระราชโองการ คือนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 นั้น ต้องตีความไปตามลายลักษณ์อักษร
แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคําร้อง”ปม”นายกรัฐมนตรี 8 ปี ”ไว้พิจารณาตาม
มาตรา 210 (2) ขบวนการพิจารณาของศาลก็ต้องดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ หากจะให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจครอบจักวาลต้องแก้ไขกฎหมาย
ทั้งนี้ใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 256 (9)ให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบในทางเนื้อหาของรัฐธรรมนูญมาตรา 264 ”ขัดต่อกฎหมาย” หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอํานาจพิจารณากระบวนการในการแก้ไข รัฐธรรมนูญในลักษณะเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 148 วรรคสามแต่อย่างใด ต้องพิจารณาใจความสำคัญและเนื้อหาแห่งรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้ววินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ต่อได้ตามรัฐธรรมนูญ ถึงปีไหน หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นับตั้งแต่ปี 2560 นายกรัฐมนตรีก็จะสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2568
กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมาย มีลักษณะ เป็นคาสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ แม้บ่อเกิด แห่งรัฐธรรมนูญจะบัญญัติในปี 2560 ก็ต้องพิจารณาว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อใด และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อใด
เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2562 ย่อมมีความหมายว่าก่อนหน้านั้น ตราบใดที่คณะรัฐมนตรียังไม่เห็นชอบ ย่อมไม่มีผลเป็นกฎหมาย นั้น
เป็นไปตามบรรทัดฐาน ของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ10 ว่ากฎหมายมีผลบังคับเมื่อประกาศใช้ และศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในปัญหาการบังคับใช้กฏหมาย นับตั้งแต่ประกาศใช้เป็นบรรทัดฐานแล้ว
ดังนั้นการสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 9 มิถุนายน 2570
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม