ภัยใกล้ตัว’โลกออนไลน์’
ดีอีเอส-ปอท.-กสทช. อืด
ปชช.’ติดเบ็ด’เหยื่อรายวัน
เคยเสนอพรรคการเมืองบางพรรค เอาเรื่องภัยใกล้ตัวทางโซเชียล-ออนไลน์ ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีดีอีเอสและรัฐบาลจะดีกว่าไหม แทนการไปหยิบยกเอาเรื่องสัญญาสัมปทานไทยคมเอื้อกลุ่มธุรกิจการเมืองมาซักฟอก เพราะชาวบ้านไม่้ได้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ไม่เห็นมีพรรคการเมืองไหนสนใจ
ทั้งที่ปัจจุบัน โลกออนไลน์เต็มไปด้วยกับดักลวงล่อผู้คนเป็นเหยื่อต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่ SMS หรือข้อความสั้่นผ่านโทรศัพท์มือถือของค่ายต่างๆที่ให้บริการ และอินเตอร์ใช้งานหน้าสมาร์ทโฟน รวมกระทั่งคอนเทนน์หรือเนื้อหาบนหน้าสื่อออนไลน์ อย่างเวบหรือเพจข่าวของสำนักข่าวต่างๆ ทั้งของจริงมีต้นทุน และลองลวงตั้งชื่อให้ดูใกล้เคียงคล้ายคลึงกับเพจที่มีคนสนใจติดตาม หรือไม่ก็ตั้งชี่อใหัดูดีน่าเชื่อถือ เช่น สำนักข่าวด่วนประเทศไทย หรือ money ไทย ซึ่งไม่มีอยู่ในสาระบบสำนักข่าวที่แท้จริง
วิธีการคือซื้อพื้นที่หน้าสื่อข่าวลักษณะเป็นโฆษณา แต่จัดเลย์เอ้าท์ รูปแบบพาดหัวแบบเหมือนข่าวเหตุการณ์ทั่วไป แล้วผูกเรื่องเป็นเขียนเป็นตุเป็นตะเพื่อให้คนอื่นคล้อยตามหรือหลงเชื่อ เข้าข่ายหลอกลวงผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ข้อหา นำเข้่าข้อมมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ต่างจากกรณีกรณีแชร์แม่มณีที่โด่งดังเมื่อ 2-3ปีก่อน โดยจัดฉากหลังการไลฟ์สดเป็นร้านขายทองเพิ่มความน่าเชื่อถือให้คนที่ติดตาม แต่ภายหลังตำรวจบุกตรวจค้นพบเป็นทองปลอมทั้งหมด
ความจริง กสทช.ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติด้านสื่อสารโทรคมนาคม เคยโดนมูลนิธิผู้บริโภคร้องเรียนให้เอาผิดกับค่ายมือถือ กรณีปล่อยปละให้มีการส่ง เอสเอ็มเอส เวบพนัน
และการปล่อยเงินกู้มาแล้วหลายครั้ง
ล่าสุด กสทช.ก็เพิ่งจะตื่นอีกรอบ กำชับให้โอเปอเรเตอร์ทั้งหลาย ให้ตรวจสอบและบล็อคข้อความลักษณะเชิญชวนและหลอกลวง ทั้งกรณีเล่นพนัน ลามกอนาจาร นับตั้งแต่ 23 กันยายนเป็นต้นไป แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า การละเลยที่ผ่านมาของค่ายมือถือต้องรับผิดชอบอย่างไรหรือไม่ รวมทั้งผู้ใช้บริการมือถือที่ตกเป็นเหยื่อ หรือสูญเสียทรัพย์สินจากการส่ง SMS มีมากน้อยเพียงใด เพราะเรื่องนี้ได้รับการขยายผลเพิ่มจากประชาชนที่หลงเชื่อถูกหลอก แล้่วไปร้องขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนที่ยังไม่มีใครขยับเลย คือข้อตวามโฆษณาหลอกล่อผ่านทางเพจและเวบไซต์สื่อ หรือเวบไซต์ที่มีคอนเทนน์หรือสินคัาที่มีคนติดตามมากๆ เพราะคนทั่วไป จะไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า เนื้อหาใดเป็นข่าว บทความ หรือเป็นโฆษณาแฝงในรูปข่าว พร้อมเล่าเรื่องให้คนเชื่อ อาทิ เหรียญโชคลาภ มีติดตัวไว้เงินทองจะไหลมาเทมาจนไม่มีที่เก็บ โดยจะว่าจ้างนายแบบนางแบบ ทั้งระหว่างใส่เสื้อพนักงานห้าง(มีโลโก้) หรือขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหาร ประกบกับภาพที่มีทรัพย์สินมากมาย ทั้งสร้อยทอง กำไลข้อมือ เงินสดเป็นปึก ก่อนจะอ้างมีการสัมภาษณ์ถึงชีวิตที่ยากลำบากมาก่อน แต่พอมีคนแนะนำและซื้อเหรียญดังกล่าวไว้กับตัว ชีวิตก็พลิกผันร่ำรวย โฆษณาขิ้นนี้ มีปรากฎในแทบจะทุกเวบไซต์สื่อ สะท้อนให้เห็นว่า มีคนตกเป็นเหยื่อมากมาย หาไม่แล้่วคงจะถอนไปจากการโฆษณาไปนานแล้ว
ความจริงหากจะพิสูจน์ก็ไม่ยาก ไปติดตามหาคนเป็นนายแบบนางแบบเพื่อตรวจสอบว่าในความเป็นจริง รวยจริงหรือไม่ หรือเพียงอุปโลกน์ แต่หากรวยจริง ก็ต้องให้แสดงหลักฐานการเสียภาษีด้วย นอกจากนี้ ทางห้างที่ถูกแอบอ้างเป็นพนักงาน หรือร้านกาแฟชื่อดังของโลก ก็ควรต้องตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยว่า ถูกแอบอ้างหรือรู้เห็นเป็นใจ
ย้ำว่า กรณีเช่นนี้ เป็นการสร้างเรื่องหลอกลวงให้คนหลงเชื่อ มีความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ 2560
ไม่เพียงโฆษณาชิ้นนี้เท่านั้น ยังมีอีกหลายชิิ้นที่สร้างเรื่องหลอกลวง เช่น สร้างเรื่องอุปโลกน์ใครสักคนว่าคิดค้นสูตรลดน้ำหนัก แต่เมื่อไม่ยอมขายให้บริษัทในต่างประเทศ จึงถูกไล่ออกจากประเทศ มีการนำภาพตำรวจในต่างประเทศจับคนร้ายจากหนังเรื่องอะไรก็ไม่รู้ มาประกอบให้ดูจริงจังเข้ากับเนื้อหาที่นำเสนอ
เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตั้งแต่ดีอีเอส กองบังคับการปราบปรามอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ หรือปอท. และกสทช. ที่ต้องเป็นเจ้าภาพแจ้งความเอาผิด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องทำหน้าที่จับกุมดำเนินการตามกฎหมาย ยังละเลยไม่ใส่ใจเอาจริงเอาจัง ตราบนั้นเรื่องแบบนี้จะยังไม่จบ แถมจะลุกลามขึ้นทุกวัน
ชาวบ้านก็ต้องพึ่งพาตัวเอง อย่ายอมให้โดนหลอกนะครับ
ประจักษ์ มะวงศ์สา