“มงคลกิตติ์”ควง “มาร์ค พิทบูล”ลุยพื้นที่มุกดาหาร หารือ นายกสมาคมอ้อยฯ เร่งแก้ปัญหาราคาอ้อยตกต่ำ ปี 61 สงสัยราคาอ้อยต่ำแต่ดันตั้งโรงงานเพิ่มอีกว่า 10 โรงงาน
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561 นามงคกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และ ว่าที่หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ พร้อม นายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล ประธานชมรมคนคุณภาพ และ ว่าที่รองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และคณะฯ ได้เดินมาพบ แกนนำชาวไร่อ้อยกว่า 100 ราย ที่ สมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร จ.มุกดาหาร โดยมี นายนิคม ศรีลาศักดิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร , นายจิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร และ อดีต สมาชิกวุฒิสภา จ.มุกดาหาร พร้อม กรรมการบริหารสมาคมฯ ให้การต้อนรับ
นายนิคม ศรีลาศักดิ์ นายกสมาคชาวไร่อ้อยมุกดาหาร กล่าวว่า ตอนนี้ปัญหาราคาอ้อยตกต่ำมากราคาแค่ 880 บาท/ตัน เนื่องจากผลผลิตอ้อยในประเทศไทย ปี 2560/2561 มีมากถึง 130 ล้านตัน อีกทั้ง รัฐบาลได้ยกเลิกเงินชดเชยที่รัฐจะช่วยเหลือเกษตรกรไป เนื่องจากต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก ซึ่งถ้าเกษตรจะอยู่ได้ต้องราคา 1,050-1,150 บาท/ตัน ถึงจะพออยู่ได้แต่ไม่ได้กำไร
ด้าน นามงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และ ว่าที่หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า เท่าที่สัมผัสราคาพืชผลเกษตรกร ปี 61 ที่ผ่านมาราคาตกต่ำแทบทุกชนิค อาธิ ราคา ข้าวเปลือกเจ้า 7,600-8,600 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ 10,900-11,000 บาท/ตัน ราคามันสำปะหลัง 2.95 -3.5 บาท/กิโลกรัมราคาปาร์มรับซื้อหน้าโรงงาน 2.90 บาท/กิโลกรัม ลานมันเทรับซื้อผลปาล์ม 2.60 บาท/กิโลกรัม(ราคาต่ำลง 50%) และ ราคาอ้อยตกหนักถึง 830 – 880 บาท/ตัน น่าจะเกิดจากปัจจัย 2 ส่วน คือ 1.ปี 60/61 จำนวนยอดการผลิตอ้อยทั้งประเทศได้มากถึง 130 ล้านตัน ซึ่งมีมากกว่าปี 59/60 ถึง 30% ทำให้ราคาต่ำลง 2.รัฐบาลยกเลิกการชดเชยราคาให้กับเกษตรกรปลูกอ้อยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก ราคาที่เกษตรจะอยู่ได้และมีกำไรสัก 10% จะอยู่ที่ราคา รับซื้อที่ ประมาณ 1,250 บาท/ตัน เพราะฉะนั้นเมื่อทราบราคาต้นทุนการผลิตแบบนี้ก็ควรที่รัฐบาลจะหาทางช่วยเหลือเกษตรกร จับเข่าคุยกับ โรงงานน้ำตาลที่มีมากถึง 50 แห่ง และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีโรงงานเพิ่มมากถึง 60 แห่ง และ ต้องการอ้อยป้อนเข้าโรงงานไม่น้อยกว่า 150 ล้านตัน/ปี
ถ้าธุรกิจโรงงานน้ำตาลไม่มีกำไรทำไมถึงตั้งโรงงานเพิ่ม แสดงว่าธุรกิจนี้มีกำไรมากแต่กำไรไปอยู่ที่จุดใดจึงไม่ตกถึงเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เท่าที่ สำรวจราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดสากลอยู่ที่ 11.131 บาท/กิโลกรัม แต่ราคาที่ประชาชนบริโภคปลีกเดิมอยู่ที่ 23-25 บาท/กิโลกรัม ช่วง เม.ย.61 เพิ่งลดราคาขายปลีกมาที่ 18-20 บาท/กิโลกรัม(ระยะเวลาสั้นๆ) ซึ่งราคารับซื้ออ้อยดิบจากเกษตรกร ราคาที่ 880 บาท/ตัน ผลิตน้ำตาลทรายดิบและแปลงเป็นน้ำตาลทรายขาวได้ 100-120 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหักราคาเข้าห้างไป 3 บาท/กิโลกรัม และราคาขายที่ 23.5 บาท/กิโลกรัม โรงงานน้ำตาลจะได้เงินจากประชาชน กว่า 2,050-2,460 บาท/รับซื้ออ้อยจากเกษตรกรในราคา 880 บาท/ตัน ซึ่งเป็นกำไรถึง 3 เท่าตัว นี่ยังไม่รวมผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากอ้อย อาทิ กากอ้อยที่ได้ถึง 250-300 กิโลกรัม เอาไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าขายต่อ และ สามารถนำไปทำอิฐทนไฟหรือใช้ปรับปรุงสภาพดินเพื่อการเพาะปลูกได้ กากน้ำตาล(โมลาส) 50-60 กิโลกรัม ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน 91 หรือ 95 หรือที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ ทั้งนี้ กากน้ำตาลปริมาณ 1 ตัน จะผลิตเอทานอลได้ประมาณ 250 ลิตร และ อุตสาหกรรมผลิต แอลกอฮอล์ และ สุรา ผลิตกรดมะนาว กรดน้ำส้ม และกรดแลคติก ผลิตผงชูรส ซอส และซีอิ๊ว ผลิตยีสต์ และขนมปัง ผลิตอาหารสัตว์ กากตะกอน 30-40 กิโลกรัม สามารถผลิตปุ๋ยหมักหรือสารบำรุงดิน เพื่อส่งให้เกษตรกรนำไปใช้ปรับปรุงที่ดิน ทั้งหมดนำไปสร้างรายได้แก่โรงงานน้ำตาลมหาศาล
***ถ้าคำนวณการใช้จ่ายการตั้งโรงงานน้ำตาล 1 โรงงาน ลงทุน 5,000 ล้านบาท กำลังการผลิต 20,000 ตัน/วัน หรือ 7.3 ล้านตัน/ปี ผลิตมูลค่าน้ำตาลทรายขาวได้ 0.8 ล้านตัน/ปี ขายได้ 1.6 หมื่นล้านบาท/ปี หักค่าตั้งโรงงาน 5 พันล้านบาท/ปี ต้นทุนซื้ออ้อย 6.5 พันล้านบาท/ปี หักค่าใช้จ่ายแรงงาน การผลิต 2 พันล้านบาท/ปี ยังมีกำไรถึง 2.5 พันล้านบาท/ปี/โรงงาน ยังไม่นับมูลค่าผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ปีเดียวคืนทุนบวกกำไร ถึงว่าตั้งโรงงานกันอุตลุดอย่างเฉียบพลัน แต่ชีวิตเกษตรกรอยู่บนเส้นได้ เลี้ยงไม่โต ยากจนเหมือนเดิม พอจะไม่มีคนปลูกก็เร่งออกนโยบายชดเชยให้ ให้พอไปได้ แต่ไม่ให้โต
นายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล ประธานชมรมคนคุณภาพ และ ว่าที่รองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่คิดว่าปัญหาเกษตรกรชาวปลูกอ้อย จะมีปัญหามาก แต่รัฐบาลก็แก้ปัญหาไม่ได้ แก้แบบพอไปที ราคาผู้บริโภคก็สูงแต่เกษตรกรก็ยังได้ราคาต่ำ
ฐานะที่เป็นนักธุรกิจพอทราบเรื่องค่าการตลาดแต่รู้สึกว่าไม่สมดุล มันต้องมีใครสักคนเอาเปรียบเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติแน่ๆ
สำนักข่าววิหคนิวส์