ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้โพสข้อความระบุว่า ยุทธการ “ไวรัสพินาศ ประชาชนพ้นภัย” แบ่งเป็น ปัจจัยภายนอกประเทศ (การแพร่ระบาดจากภายนอก) ปัจจุบันได้ปิดน่านฟ้าจนถึง 30 เมษายน รับเฉพาะคนไทยเข้าประเทศ ที่จะต้องผ่านการคัดกรอง ใบรับรอง และต้องนำไปกักโรคก่อนเท่านั้น ในวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นต้นไป จึงควรพิจารณาเปิดน่านฟ้า น่านน้ำ และภาคพื้นดิน อาจจะทะยอยเปิด หากสถานการณ์ยังดีขึ้นยกเว้นจุดที่เกิดการแพร่ระบาด เช่น ชายแดนไทย–มาเลเซีย โดยจะต้องยึดหลักการเข้าประเทศตามที่กำหนดไว้เหมือนเดิม ควรเข้มงวดใบรับรองแพทย์ปลอม ที่เคยเกิดการระบาด ห้ามคนป่วยเข้าประเทศ
ปัจจัยภายใน แบ่งเป็น
1.ป้องปราม (ป้องกัน–ป้องปรามการฝ่าฝืน ป้องกันอาชญากรรม) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ต้องเร่งรัดในการพิจารณาปลดล๊อคดาว์ ที่เกิดขึ้น เพราะประชาชนกำลังเครียดกับมาตรการที่ยาวนาน กระทบต่อปากท้อง เศรษฐกิจอย่างรุนแรง ประกอบกับผู้ติดเชื้อได้ลดลงอย่างต่อเนื่องรายวัน ปัจจุบันในหลายประเทศกำลังเกิดจราจล ทั้ง สหรัฐ ฝั่งเศส อินเดีย ปากีสถาน โดยยังคงเคอร์ฟิวส์ต่อไปอีก 15 วันจนถึง 15 พฤษภาคม 2563 แล้วจึงมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดนเน้นจิตสำนึก ในการเว้นระยะห่างทางสังคม
2.เยียวยา (ผู้ได้รับผลกระทบทางตรง และทางอ้อม) ในทุกสาขาอาชีพ ควรเร่งรัดชี้แจงกรณี เงินกองทุนประกันสังคมให้ชัดเจน ว่าเงินหายจริงไหม และเรื่องการตัดเงินบัตรทอง หาเป็นข่าวปลอมดำเนินการออกหนังสือเตือนไปยังบุคคล นักการเมืองที่สร้างข่าวปลอมขึ้น ส่วนสาขาอาชีพที่ตกค้างก็ปรับหลักยุทธวิธีเยียวยาให้ทั่วถึง
3.ฟื้นฟู (กระตุ้นเศรษฐกิจ) จัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ที่จะสามารถกู้ได้จากธนาคารออมสิน วงเงิน 1 หมื่น และ 5 หมื่นบาท ขยายเวลาการชำระบอกเบี้ยและเงินต้นออกไปจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือนนั้น ดำเนินการมาอย่างถูกต้องแล้ว
การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้ประเมิณว่าจะมีคนตกงานถึง 7.13 ล้านคน จากแรงงานในระบบประกันสังคมประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็น 18.5% โดยแรงงานที่อาจตกงาน 7.13 ล้านคนนี้ จะเป็นแรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน 6.773 ล้านคนคิดเป็น 95% ของแรงงานที่ตกงาน ของแรงงานทั้งหมด
สำหรับกระบวนการฟื้นฟู ในกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบนั้น ต้องดำเนินการต่อไป หลังเริ่มปลดล๊อคดาว์ แม้ยังคงเคอร์ฟิวส์ต่อไปนั้น
1.ธุรกิจบันเทิง คาดว่าจะเลิกจ้าง 6 หมื่นคน ให้สนับสนุนจัดมหรสพ รื่นเริง ร่วมค่ายเพลง จัดคอนเสิร์ต ตามแหล่งจังหวัดต่างๆ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน หลังสถานการณ์ดีขึ้น เมื่อสามารถยกเลิกเคอร์ฟิวส์ได้
2.ร้านอาหาร 2.5 แสนคน ให้จัดเทศกาลอาหาร ตามอำเภอ จังหวัด แลกเปลี่ยนอาหาร
3.สปาและร้านนวดในระบบ 3.96 หมื่นคน สปาและร้านนวดนอกระบบ 2 แสนคน ให้จัดโครงการแพทย์แผนไทย ร่วมกับงานมหรสบ บันเทิง งานวัดงานรื่นเริง ระดับจังหวัด และให้การท่องเที่ยงส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการ
4.ธุรกิจโรงแรม 9.78 แสนคน ให้จัดแพคเกจทัวร์ ร่วมกับการบินไทย สายการบินต้นทุนต่ำ ทำร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวราคาถูก กลาง แพง ตามคุณภาพ โรงแรม สายการบิน
5.ศูนย์การค้าและค้าปลีก 4.2 ล้านคน ให้กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ การท่องเที่ยว สนับสนุนส่งเสริมห้างสรรพสินค้า ร่วมกับสายการบิน และ ค้าปลีก สนับสนุนโครงการธงฟ้าออนไลน์ ส่งสินค้า พืชผัก ผลไม้ ข้าม ภูมิภาค จังหวัด โดยส่งเสริมผู้บริโภคในและนอกประเทศ
6.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 7.76 หมื่นคน จัดโครงการดอกเบี้ยต่ำ จัดโครงการโรดโชว์ บ้าน รถราคาถูกทั่วประเทศ ทั้ง 4 ไตรมาส
7.สิ่งทอ 2 แสนคน ให้กระทรวงพาณิชย์จัดหาตลาดในต่างประเทศ และทำโรดโชว์ ฟื้นฟูโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิจ เป็นหัวหอกจำหน่ายสู่ต่างชาติ
8.ธุรกิจก่อสร้าง 1 ล้านคน ให้จัดการขุดรอก ห้วย หนอง คลอง บึง น้ำแม่แม่น้ำ ขุดบ่อในพื้นที่สาธารณะ และทำธนาคารน้ำใต้ดิน ตามโครงการพระราชดำริ ในช่วงหน้าแล้ง ในทุก หมู่บ้าน อำเภอจังหวัด แล้วส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนนั้นๆ
9.เกษตรกร เช่น ยางพาราตกต่ำ เหลือกิโลละ 13 บาท ต้องจัดโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต จัดให้มีการอบรม ให้ความรู้ เกษตรกรในการส้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตร และจัดสถานที่จำหน่ายในทุกจังหวัด จัดโรดโชว์ในโครงการหลัก เช่น ยางพารา ให้นำมาผลิตเป็น หมอน ที่นอนตุ๊กตายาง นมยาง หุ่นยาง ที่รองพื้นรถยนต์ และ ผลไม้ ทุเรียน ลองกองเงาะ แตงโม ก็ผลิตเป็น อบแห้ง หรือกระป๋อง เป็นต้น ให้เกษตรกรได้ลงมือทำเอง รัฐบาลสนับสนุน โดยให้กรมอาชีวะ และมหาวิทยาลัย เข้าทำการฝึดสอนฟรี มอบประกาศณียบัตร หลังจากจบการศึกษา
10.นักศึกษาจบใหม่และกำลังศึกษา ให้กระทรวงแรงงาน ประสานมหาวิทยาลัยทุกแห่ง และภาคเอกชนจัดการเรียนการสอน ฝึกงาน ร่วมกันและให้เอกชนรับรองทำงานทันทีหลังจบการศึกษา เช่นร้านสะดวกซื้อ ฯลฯและส่งเสริมผู้จบการศึกษาให้ประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งเกษตรกรรม ค้าขาย ร่วมโครงการฝึกอบรมชาวบ้าน ฯลฯ อันเป็นการสร้างงานอย่างถาวร มั่นคง ยั่งยืน ยังเป็นการกระจายประชากรไปพัฒนาท้องถิ่น มิให้กระจุกยังเมืองหลวง อีกด้วย
การขุดลอกในหน้าแล้ง จะทำให้อุทกภัยน้ำท่วมจะลดลง แต่อย่างไรก็ตามเตรียมสำรวจการอพยพประชาชนในช่วงหน้าฝน ในพื้นที่เคยเกิดน้ำท่วมซ้ำซากมาก่อน และทำการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำในระยะยาว ตามโครงการพระราชดำริที่คงค้าง เช่น แก่งเสือเต้น เป็นต้นโดยทำการอพยพ คนสัตว์ป่า ออกนอกพื้นที่ ก่อนจะลงมือก่อสร้าง
ส่วนการพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยการตั้ง กองบัญชาการตำรวจป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่จะมีในระดับ อำเภอ จังหวัดต่อไป นั้น ควรใช้หลัก ป้อง–ปราม ควบคู่กันไป ให้ยึดหลักรัฐศาสตร์ นำนิจิศาสตร์ ใช้การเตือนแบบเปิดเผย อย่างเป็นทางการ 2 ครั้งขึ้นไป ทั้งสื่อ บุคคล นักการเมือง พรรคการเมือง ที่กระทำความผิด ค่อยดำเนินการตามหลักนิติศาสตร์ ข่าวปลอมก็จะเบาบางลงตามลำดับ โดยนำคนรุ่นใหม่ที่มีความชำนาญ มีความรู้ ด้านการประชาสัมพันธ์ มาทำกระบวนการต่อต้านข่าวกรองเป็นหลัก ทั้งชั้นประทวน และสัญญาบัตร อันจะเป็นการสร้างงานได้อีกส่วนหนึ่ง
ได้มีสิ่งที่เรียกว่า “ลับที่สุด” ส่งไปยังที่ทำงาน มี 2 ประเด็นให้พิจารณา ส่งเสริมคนดีสร้างงาน รวมทั้งทางออกพันธบัตร หากไม่เพียงพอ และคดีสำคัญ อันจะเป็นประโยชน์ต่อชาติ ในภายนี้ และภายหน้า สิ่งเหล่านี้คือหลักยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง เพื่อ ฟื้นฟูประเทศในยามวิกฤตินั้นเอง
“ หากแม่นยำในยุทธศาสตร์ แดนศิวิไลซ์จะรออยู่ข้างหน้า “