โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
การฆ่าที่มีโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิตลักษณะหนึ่งคือที่เรียกว่าการ “ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน”
สังคม อาจจะสงสัยคือแล้วการฆ่าแบบไหนที่จะเข้าข่ายเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองที่สมควรได้รับการลงโทษลงทัณฑ์ที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นแนวไว้ใน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2562
การที่จำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยและแยกย้ายจากกันแล้ว จำเลยบอกผู้เสียหายที่ 1 ให้รออยู่ก่อน จำเลยจะกลับไปเอาอาวุธปืน แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปเอาอาวุธปืนของกลางกลับมายังที่เกิดเหตุโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
#นับเป็นเวลาเพียงพอที่จำเลยสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปและกลับมามีสติสัมปชัญญะได้
ดังนั้น เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนกันไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้าและไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหาได้ไม่
พฤติการณ์ของจำเลยบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยตระเตรียมการพร้อมที่จะกลับไปฆ่าผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ชึ่งมีความแตกต่างกับ คดี ลุงวิศวะ “ยิงเด็กนักเรียน ม.4 ตายทำไม่ไม่ติดคุก ลุงวิศวะให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันเกินกว่าเหตุโดยวินิจฉัยว่า ผู้ตายกับ จำเลยมีเรื่องกันมาก่อน
แม้ผู้ตายไม่มีปืนก็ตาม เมื่อ รับฟังประกอบพฤติการณ์ผู้ตายถูกยิ่งนั้น ได้เป็นฝ่ายกระทำกับจำเลยก่อน ชึ่งลุงเข้าใจว่า หากไม่ยิง ตนเองยอมได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ มีเหตุที่ ลุงวิศว ต้องยิง แต่จุดที่ผู้ตายถูกยิงไม่ใช่จุดสำคัญ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่ป้องกันตามที่ลูงต่อสู้ ศาลฎีกาลงโทษจำคุก 3ปี ปรับ 2000บาทโทษจำคุก รอการลงโทษไว้ 3 ปี