◾️มีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในมหาวิทยาลัยอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา◾️
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อขออนุมัติ ร่าง พรบ. มหาวิทยาลัยพระนคร (ฉบับ ก.ค.2564) เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจะมีการเปลี่ยนชื่อจาก “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร“ เป็น “มหาวิทยาลัยพระนคร” โดยตัดคำว่า”เทคโนโลยี่ราชมงคล”ออกไป
การตัดชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล“ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2531 นั้น นับว่าเป็นการมิบังควรอย่างยิ่ง
ท่ามกลางการคัดค้านของสมาคมศิษย์เก่า แต่สภามหาวิทยาลัยฯก็ผ่าน พรบ.นี้ออกมาจนได้
อย่างไรก็ตาม ทาง สมาคมศิษย์เก่าอ้างว่า ศ.ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่าง พรบ.ขึ้นมาเองโดยไม่ผ่านกรรมการหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัย และไม่สนใจต่อความเห็นต่าง ๆ จากการทำประชาพิจารณ์ ทั้งที่การเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยทิ้งคำว่า “ราชมงคล” ซึ่งเป็นชื่อพระราชทาน ให้เหลือเพียงชื่อ “มหาวิทยาลัยพระนคร” เป็นเรื่องที่มิบังควร แต่สภามหาวิทยาลัยกลับอ้างว่า “มีการทำประชาพิจารณ์แล้ว”
เรื่องนี้สื่อถึงอะไร
1️⃣ ความห่วยของหน่วยงานรัฐที่ควบคุม มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่
2️⃣ กรรมการสภามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องเห็นด้วยจึงผ่าน พรบ.นี้ออกมาได้
3️⃣ คำว่า “เทคโนโลยี”เป็นจุดแสดงตัวตนของสถาบัน แต่ก็อยากตัดทิ้งออกไป
แบบให้ลืมรากเหง้ากันไปเลยไม่ได้มีความรู้สึกรู้สม
ส่วนคำว่า “ ราชมงคล “นั้น ไปขอพระราชทานมาเอง แทบเป็นแทบตาย แต่ไม่เห็นคุณค่า
กรณีนี้เองที่ ทางสมาคมศิษย์เก่ากังวลว่าการเปลี่ยนชื่อ จะทำให้รากฐานความเป็นมาและความเชื่อมโยงของศิษย์เก่าถึงปัจจุบันขาดหายไป และที่สำคัญคือสภามหาวิทยาลัยมีวาระซ้อนเร้นอะไรหรือไม่ ทำไมต้องตัดชื่อ”ราชมงคล” อันเป็นนามมงคลที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งมีหมายความว่า “มหาวิทยาลัยอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา” ทิ้งออกไป ซึ่งไม่อยากคิดเป็นอย่างอื่นเลยครับ
พลโท นันทเดช / 16กัยา64