ข่าวประจำวัน » ระวังกรรม !! ส.ว.สมชาย ทวงคืนที่ธรณีสงค์จากตระกูลชิน-อุ๊งอิ๊ง

ระวังกรรม !! ส.ว.สมชาย ทวงคืนที่ธรณีสงค์จากตระกูลชิน-อุ๊งอิ๊ง

7 September 2024
6   0

ทวงคืนที่ธรณีสงฆ์ #ทวงคืนจริยธรรมการเมืองไทย

#มรดกคุณยายเนื่ิอม #สนามกอล์ฟอัลไพน์ #กรรมกำลังไล่คนก่อกรรม

แม้มีคำพิพากษาศาลฏีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับที่ธรณีสงฆ์ในคดีสนามกอล์ฟอัลไพน์แล้ว แต่จนถึงบัดนี้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่ยังคงไม่ดำเนินการใดๆ

จึงมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในการบังคับให้ที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์และหมู่บ้านจัดสรรคืนแก่วัดธรรมมิการาม กลับคืนเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพินัยกรรมและเจตนารมย์ของคุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา
ผู้บริจาคทั้งหมด924ไร่

เช่นเดียวกันกับการที่ บรรดานักการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งการกระทำเกี่ยวกับการออกโฉนด การซื้อขาย การโอนที่ดิน การจัดสรรและการหาประโยชน์ในการทำสนามกอล์ฟและหมู่บ้านจัดสรรในที่ดินดังกล่าว

ถือเป็นการกระทำผิดต่อหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาที่มีบาปมหันต์แล้ว
ยังต้องมีความผิดตามกฎหมายและถือเป็นการกระทำผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ที่ต้องร้องดำเนินการเอาผิดให้ถึงที่สุดกันด้วย
รอติดตามดูกันต่อไปครับ

สมชาย แสวงการ
6 กย 2567

@ สรุปคำพิพากษาศาลฏีกาเกี่ยวกับที่ธรณีสงฆ์

ฎีกาที่ ๒๓๘/๒๔๖๑ ที่วัด แม้ผู้ใดจะได้ครอบครองมาโดยเป็นปรปักษ์จนรับโฉนดแล้วนานเท่าใดก็ดี ที่นั้นก็หาเป็นกรรมสิทธิ์แก่ตนได้ไม่

ฎีกาที่ ๓๔๙/๒๔๖๒ การอุทิศมรดกถวายวัด ด้วยปากเปล่านั้น ถ้าทรัพย์มรดกอันอุทิศตกถึงวัดแล้ว นับว่าเป็นอันสำเร็จ ผู้ใดจะเรียกร้องเอามาแบ่งปันไม่ได้ อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๙/๑๒๘

ฎีกาที่ ๙๖๖/๒๔๗๔ ที่วัดร้างนั้น แม้ผู้ใดจะเข้าถืออำนาจปกครองมานานตั้ง ๒๐ ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์อัยการมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกเข้าปกครองที่วัดร้างได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๒/๒๔๙๗ ที่ธรณีสงฆ์นั้น ใครจะครอบครองมาช้านานเท่าใด ก็แย่งกรรมสิทธิ์ไม่ได้

ฎีกาที่ ๙๘๖/๒๔๗๔ ที่ดินซึ่งวัดได้ปกครองมาช้านาน โดยไม่ปรากฏว่าได้มาทางจับจองหรือมีบุคคลอุทิศให้ ดังนี้ สันนิษฐานว่า ที่นั้นเป็นที่ธรณีสงฆ์ ที่ธรณีสงฆ์ของวัดนั้น ท่านว่าผู้หนึ่งผู้ใดจะอ้างอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หาได้ไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกธรณีสงฆ์แทนวัดได้

ฎีกาที่ ๑๒๕๓/๒๔๘๑ วัดเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๗๒ และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิเสมือนบุคคลธรรมดาตามมาตรา ๗๐ ทั้งวัดก็ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ มาตรา ๖(พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑) วัดจึงอาจได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒

ฎีกาที่ ๘๔๓/๒๔๘๗ ที่ธรณีสงฆ์ หมายถึงที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด แต่ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นที่ที่มีผู้ยกให้ อาจได้มาโดยทางอื่น เช่น ทางซื้อก็ได้ใครจะอ้างครอบครองปรปักษ์แก่ที่ของวัดไม่ได้

ฎีกาที่ ๓๐๕/๒๔๙๗ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติ เอกชนจะอ้างว่า ได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองปรปักษ์ในที่ของวัดไม่ได้

ฎีกาที่ ๖๖๒/๒๔๙๗ ที่ธรณีสงฆ์นั้น แม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใด ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกัน ตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ มาตรา ๗ ว่า “ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับพระศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภกทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้” แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขไปโดยพ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัด ก็คงเป็นไปเช่นเดิม กล่าวคือ บุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิ์ของตน โดยอาศัยอำนาจครอบครองปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้

ฎีกาที่ ๘๕๑/๒๔๙๙ ซื้อที่วัดที่ธรณีสงฆ์โดยสุจริต จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิ์

ฎีกาที่ ๗๒๑/๒๕๐๔ ที่ธรณีสงฆ์นั้น ผู้ใดจะยกอายุความครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันกับวัดไม่ได้

ฎีกาที่ ๙๕๓/๒๕๐๘ ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ (กฎหมายที่ใช้อยู่ขณะเกิดกรณีพิพาทและในขณะฟ้อง) มาตรา ๔๑ เป็นบทบัญญัติเรื่องเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของที่ได้กำหนดบังคับไว้วิธีเดียวคือโอนโดยพระราชบัญญัติเท่านั้น นอกจากนี้แล้วใครจะเอาที่ดินวัดไปเป็นของตนไม่ได้ ไม่ว่าจะโอนไปโดยนิติกรรม หรือโดยการแย่งการครอบครอง

ฎีกาที่ ๑๗๕๘, ๑๗๕๙/๒๕๑๖ ที่ดินของวัดนั้น กรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาท ซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศไว้แต่โบราณกาลโดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแลรักษา แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทมา ได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของเป็นเวลานานเท่าใด และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด ก็หาระงับสิ้นสุดไปไม่

ฎีกาที่ ๒๑๘๔ – ๒๔๘๕/๒๕๒๕ เจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องคดีแทนวัด หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีแทนได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็นของวัด แม้บางแปลงจะได้มีการออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลย จำเลยก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่ เพราะที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราช-บัญญัติและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้วัดเรื่องทรัพย์สิน อันเป็นของวัดไม่ได้

ฎีกาที่ ๑๙๓๒/๒๕๒๖ วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๖ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีสิทธิครอบครองที่ดิน ที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้

ฎีกาที่ ๑๒๐๖/๒๕๓๐ โจทก์เป็นวัดที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้บางครั้งจะไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ในวัด โดยมีลักษณะเป็นวัดร้าง แต่เมื่อไม่มีการยุบเลิกวัด จึงต้องถือว่า ยังคงมีฐานะเป็นวัดอยู่

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๗๑/๒๕๓๑ การออกโฉนดทับที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์เป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการโอนทางทะเบียนต่อกันมาจนถึงจำเลยผู้มีชื่อรายสุดท้าย จำเลยผู้รับโอนหาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่่ตนรับโอนไม่ และเมื่อโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จะขอให้ลงชื่อโจทก์แทนชื่อจำเลยในโฉนดดังกล่าวหาได้ไม่และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้

ฎีกาที่ ๓๗๖๐/๒๕๔๕ วัดยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่พิพาทให้จำเลยไม่ การที่จำเลยนาที่ดินพิพาทไปออกเป็น น.ส. ๓ ก. เป็นชื่อจำเลย แล้วขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์อยู่เช่นเดิม

ฎีกาที่ ๒๐๒๓ – ๒๐๒๖/๒๕๕๒ การออกโฉนดในบริเวณรอบ ๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกโฉนดทับที่ธรณีสงฆ์ พระบรมราชโองการที่พระเจ้าทรงธรรมพระราชทานที่ดินให้แก่วัดมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา จึงไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้

ฎีกาที่ ๔๘๕/๒๕๕๓ แม้ในหนังสือพินัยกรรมที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินถวายวัด จะไม่มีพยาน ๒ คนลงลายมือชื่อรับรอง จึงไม่เป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย แต่เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนังสือยืนยันการยกที่ดินถวายวัด เมื่อวัดเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ที่พิพาทจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์

@ อ้างอิงข่าว “…ข้อเท็จจริงปรากฏอีกว่า ภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และหลังเกษียณราชการ ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯด้วย จึงเชื่อไ…
แหล่งที่มา: สำนักข่าวอิศรา
https://search.app/x9VmoUunvV4rnV1p7

“…เมื่อพิเคราะห์อีกว่า ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อหุ้นกลุ่มบริษัทอัลไพน์ต่อจากนายเสนาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้เป็นนายกฯ แต่เมื่อปี 2545 ในช่วงที่จำเลยรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย และไม่ปฏิบัติตามควา…

แหล่งที่มา: สำนักข่าวอิศรา
https://search.app/xV77RSCaQZLCdHZL6

แหล่งที่มา: สำนักข่าวอิศรา
…การกระทําของ ผู้ฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2482 โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือบริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จํากัด และบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จํากัด และผู้ถื…

https://search.app/FNJyCE9aHGLUkAan9
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0xUKCTpmiUvkFHAGCN8W97EYRn8iMm4DS8jJ4MUpTwKfqWzrivvgjBS5dhkaaHW3Jl&id=1114637400
https://www.facebook.com/100044137734301/posts/pfbid0Uw1N8NNvJkzTobwQNgTU8QgtUmZtcBg1uDYsu3vde3rQNuJjcXDPpc58sAJSKzsEl/?