ลูกลักทรัพย์พ่อแม่ เป็นความผิดอันยอมความกันได้
……………………\\\\\\\………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
ศึกษากรณี ลูกสาว”อาม่าฮวย”ลักเงิน กว่า 200 ล้านโอนเข้าบัญชีตัวเองขณะแม่ป่วย
กฎหมายอาญากำหนดไว้ว่า ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์,วิ่งราวทรัพย์, ฉ้อโกง, ยักยอก, ทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก
ถ้าผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการี กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิออันยอมความกันได้
นอกจากนี้ศาลจะลงโทษน้อย กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 71 วรรคสอง
แม้จะเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน ตามพจนานุกรม หมายความว่า ผู้สืบสันดานหมายถึงผู้สืบสายโลหิตโดยตรง ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1586.1587.และมาตรา 1627
บุตรบุญธรรมไม่ได้อยู่ในความหมายของผู้สืบสันดาน ย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรบุพการีโดยตรงอยู่หลายปราการ ตามมาตรา 1586. และมาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบุญบุญธรรมในทางแพ่ง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว และมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 71 วรรคสอง
บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานหากบุตรบุญทำกระทำผิด ย่อมเป็นความผิดต้องได้รับโทษตามกฏหมาย ไม่มีข้อยกเว้น ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม