20 พ.ย. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนภาคตะวันออก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 พฤศจิกายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออก (จังหวัดในภาคตะวันออก ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว) กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,001 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนภาคตะวันออก การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนภาคตะวันออกจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 25.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร
อันดับ 2 ร้อยละ 16.64 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบอุดมการณ์ของพรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 13.64 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต ต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 4 ร้อยละ 13.09 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 8.50 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน อันดับ 6 ร้อยละ 7.25 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
(พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบผลงานในอดีตที่ผ่านมา และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 7 ร้อยละ 2.80 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร
อันดับ 8 ร้อยละ 2.35 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 11 ร้อยละ 1.40 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ มีวิสัยทัศน์ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร และร้อยละ 2.94 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเศรษฐาทวีสิน นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายวิกรมกรมดิษฐ์
เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนภาคตะวันออกจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออก พบว่า
1.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 อันดับ 1 ร้อยละ 26.27 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.92 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 13.22 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 11.78 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.97 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
2.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 อันดับ 1 ร้อยละ 23.39 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 14.98 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 14.25 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 4 ร้อยละ 11.94 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 5 ร้อยละ 9.38 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
สำหรับพรรคการเมืองที่คนภาคตะวันออกมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 33.68 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.29 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 15.79 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 10.14 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 6.95 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 3.80 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.75 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 3.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ
เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนภาคตะวันออกมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออก พบว่า
1.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 อันดับ 1 ร้อยละ 31.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 22.80 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.48 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 11.44 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.03 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
2. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 อันดับ 1 ร้อยละ 36.42 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.13 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 14.25 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 8.28 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 6.82 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์
ด้านพรรคการเมืองที่คนภาคตะวันออกมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 33.68 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.09 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 16.24 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 10.00 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 7.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 4.10 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.85 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.70 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย และร้อยละ 3.04 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ
เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนภาคตะวันออกมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออก พบว่า
1. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 อันดับ 1 ร้อยละ 32.62 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.95 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.24 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 10.76 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.12 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
2.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 อันดับ 1 ร้อยละ 35.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.12 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 14.98 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 8.89 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.55 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์