ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข้อความระบุว่า
บทบาทของนายวิชา มหาคุณ กับขบวนการยุติธรรม
__________///////____________
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการทางกฏหมายศึกษากรณี คดี
นายวรยุทธหรือบ้อส อยู่วิทยา ถูกแทรกแชงโดยนักการเมือง
คดีนี้ พลอ.ปรเยุทธ จันทร์โอชา ออกมาแถลงถึงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ท่านวิชา มหาคุณกับคณะตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดี นายวรยุทธหรือบ้อส อยู่วิทยา ว่าทราบผลแล้ว
โดยนายวิชาฯเสนอแนะนายกให้ดำเนิน ให้ดำเนินการทางวินัยและอาญาต่อเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลอื่นที่ร่วมขบวนการ ให้นายวรยุทธหรือบ้อส อยู่วิทยา หลุดพ้นจากคดี คือ (1) พนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับสำนวน (2)พนักงานอัยการที่ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ(3) ผู้บังคับบัญชาที่แรกแชงการปฎิบัติหน้าที่(4)สมาชิกสภานิติแห่งรัฐแรกแชงการปฎิบัติหน้าที่(5)ผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองที่แรกแชงการปฎิบัติหน้าที่(5) ทนายความชึ่งกระทำความผิดต่อกฏหมาย(6) พยานที่ให้การเท็จ(7) ตัวการผู้ใช้ และสนับสนุนในการกระทำผิดต่อกฏหมาย
โดยอ้างคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2510
แต่ฟังท่านนายกแถลงนั้น ประการแรกสำนักงานอัยการเป็นองค์กร อิสระ ไม่กล้าล่วง ปราการที่สองส่วนทนายความทำผิดก็ส่งให้สภาทนายความไปดำเนินการต่อไป ในส่วนของตำรวจ ท่านแถลงว่า “ท่านคุมตำรวจสั่งการให้ตำรวจดำเนินคดีใหม่ได้แน่นอนในคดีที่ “ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความเห็นอื่นที่ท่านวิชา มหาคุณเสนอนั้น เช่น สมาชิกสภานิติแห่งรัฐและผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองที่แรกแชงการปฎิบัติหน้าที่ท่านไม่ได้พูดถึง
แสดงว่าท่านไม่เห็นด้วยกับท่านวิชาฯเสนอแนะ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เรื่องที่อัยการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบ นั้น ความผิดฐานขับรถประมาท รองอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดไปแล้ว ที่ท่านโพสข้อความ “ในโชเชียลเน๊ตเวริ๋ด เพสบุ๊คว่า “ผมไม่ใช่คนที่จะตัดสินได้ว่า นายวรยุทธหรือบ้อส อยู่วิทยา มีความผิดหรือไม คนที่จะตัดสินคือศาล ตามพยานหลักฐานอย่างถูกต้อง และสิงที่นายกนะทำได้คือ ให้ดำเนินคดีกับ ผู้ต้องหาภายในอายุความ นั้น
ไม่สามารถทำได้อีกในเหตุเดียวกันอีก แม้คดีอาญาไม่ระงับตามประวอาญามาตรา 39(4) ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547และตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2538
ตามที่นายวิชา มหาคุณเสนอแนะ นั้น
จะต้องเป็นกรณี “ไม่ตัดสิทธิที่ทายาทนายดาบวิเชียร์ กลั่นประเสริฐผู้ตายไปฟ้องคดีเอง ทายาทผู้ตายก็ออกมายืนยันว่าได้รับการช่วยเหลือเรื่องมนุษย์ธรรมจนเป็นที่พอใจแล้ว อันนี้ทายาทบอกว่าไม่ฟ้องแล้ว
ผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ซึ่งห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ ตำรวจไม่สามารถที่จะรื้อคดีมาสั่งฟ้องอีกได้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2557
หากคดีนี้สามารถรื้อฟื้นคดีได้ดังที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะออกคำสั่ง อีกหน่อยถ้าศาลฎีกา “ยกฟ้อง”กระแสสังคมไม่พอใจ นักการเมืองแทรกแชงขบวนการยุติธรรม ก็ต้องกลับมาตั้งต้นใหม่อย่างนั้นหรือ ความอิสระ
ในการวินิจฉัยขององค์กรอิสระ ที่มีกฏหมายรองรับสังคมกดดันได้อย่างนั้นหรือ
ด้วยความเคารพ”ต่อความเห็นท่านนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ขบวนการยุติธรรมเกิดความเชื่อมั่นในสังคม นายวิชา มหาคุณได้ยืนยันข้อเท็จจริงเป็นหนังสือว่าสมาชิกสภานิติแห่งรัฐ”และผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมือง “อัยการและตำรวจ และทนายความร่วมกับเอกชน”กระทำผิด เอื้องประโยชน์ให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากคดี นั้น หากเป็นความจริงตามที่นายวิชาฯกล่าวอ้าง
ท่านก็ไม่มีอำนาจชี้ว่าใครถูกหรือผิดแทนคณะกรรมการป้องการการปราบปรามการทุจริตได้
ท่าน นายกรัฐมนตรี จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องการการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ เป็นผู้มีอำนาจตั้งอนุกรรมการขึ้นไต่สวน
การที่ท่านนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินตั้งนายวิชา มหาคุณ เป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น มีหน้าที่เพียงรวบรวมพยานหลักฐาน ส่ง ปปช.ภายใน 30วัน หากช้ากว่านี้นายวิชาฯกับคณะอาจมีความผิดได้หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฏหมาย
หากจะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่นายวิชา มหาคุณเสนอแนะ
ท่านนายกรัฐมนตรีจะต้องปฎิบัติตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559มาตรา 3(5) คดีอาญาท่ีฟ้องขอให้ลงโทษบุคคลท่ีร่วมกระทําความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคล ตาม (1) ถึง (4 ) ไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือผู้สมคบ ประกอบมาตรา ๘ ในการฟ้องคดีอาญาสําหรับการกระทําอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบท และบทใดบทหนึ่งอยู่ในอํานาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบรับพิจารณาพิพากษาข้อหาความผิดบทอื่นไว้ด้วย
บทบาทหน้าที่ของนายวิชา มหาคุณ กับคณะได้คำสั่งจากนายกรัฐมนตรีของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยเป็นที่สุดนั้น
ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2510 ตามที่นายวิชาฯเสนอแนะนั้น หมายความว่าคำวินิจฉัยนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจมีคำสั่งและมีคำวินิจฉัยเช่นนั้นได้
แต่ สมาชิกสภานิติแห่งรัฐ”และผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมือง “อัยการและตำรวจ และทนายความร่วมกับเอกชน”กระทำผิด เอื้องประโยชน์ให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากคดี นั้น อยู่ในอำนาจขององค์กรอิสระ เช่น ปปช.และหรือ ปปท.แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจตั้งอนุกรรมการไต่สวนนายวิชา มหาคุณกับคณะจึงมีหน้าที่เดียว คือรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องชี้มูลความผิดเท่านั้น