ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ศาลลงโทษไม่ได้ ! ดร.สุกิจ ยันคดีน้องชมพู่ นิติวิทยาศาสตร์ใช้ไม่ได้

#ศาลลงโทษไม่ได้ ! ดร.สุกิจ ยันคดีน้องชมพู่ นิติวิทยาศาสตร์ใช้ไม่ได้

14 June 2021
583   0

หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ถึงสาเหตุการตายมาตราฐาน “เครื่องตรวจ # ซินโครตอน #
………………\\\\\\\:………………………;;
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย ศึกษา กรณี พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร๋ เครื่องตรวจ “ซินโครตอน”

ข่าว”ลุงพล” ถูกพนักงานสอบสวนขออำนาจศาลให้ออกหมายจับ ผู้กระทำความผิด ในความผิดฐาน

(1) พรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันควร ชึ่งบัญญัติไว้ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 317 นั้น

ฐานความผิดดังกล่าว . พนักงานสอบสวนเป็นเพียงพยานบอเล่า. มีเหตุสงสัยว่าผู้ที่ศาลออกหมายจับนั่น เป็นคนร้าย “ตำรวจสงสัย” ต้องจับ

แต่ตำรวจจะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ผู้กระทำความผิด มีมูลเหตุจูงใจอะไร ที่กระทำต่อเด็ก “ประสงค์ต่อผลและย่อมเล่งเห็นผล อย่างไร ที่ทำให้ศาลเชื่อว่า “ผู้ถูกออกหมายจับ” เป็นผู้กระทำความผิดได้ “

ตามข่าว.…แม้ผู้กระทำความผิด ตามหมายจับ เป็นผู้สนิทสนมกับผู้ตาย ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นคนร้ายเสมอไป แนวทางการสอบสวนได้จากพยานแวดล้อมว่า ผู้กระทำผิดชอบ”เรื่องไสยศาตร์” ระยะเวลาที่ผู้ตายหายออกจากบ้าน เป็นข้อบ่งชี้ว่า อยู่กับใกล้ชิดกับผู้กระทำผิด ” นั้นและข้อสันนิษฐานตามกฏหมาย ที่มีน้ำหนักน้อย

ในความผิดฐานนี้ ตำรวจจึงต้องมีประจักพยานรู้เห็นว่าผู้กระทำผิดเป็นคนร้าย จึงจะรับฟังเป็นโทษได้ ลำพังแต่มีเพียงพยานแวดล้อม ตามข่าวที่ให้การกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอยนั้น มีเหตุทำให้ศาลสงสัยได้ และศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่ผู้กระทำผิดคือ“ศาลต้องยกฟ้อง” ภาพรวมสรุปได้ว่า “ตำรวจสงสัย”จับ ถ้าศาล”สงสัย “ปล่อย”

ทั้งนี้ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยให้เป็นแนวทาง ว่า ,การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน

เนื่องจากการพูดชักชวนเด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้

สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึง ต้องมีการกระทำที่พาไป ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายจนผู้เสียหายใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2550

(2) การ ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย นั้น ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฏหมายอา 306 ประกอบมาตรา 308 ที่แก้ไขใหม่นั้น

“เจตนารมย์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดขึ้นเพื่อให้”พ่อแม่”หรือผู้ปกครองเด็กเลี้ยงดูเด็ก อย่างเหมาะสมและหากละเลยตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

แต่คณะทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้แต่งตั้งขึ้น ไม่ได้ตั้งข้อหานี้กับ ผู้ที่ถูกศาลออกหมายจับนั้น จึงมีเหตุระแวงสงสัยว่า “คำว่าผู้ปกครองเด็กเลี้ยงดูเด็ก”#ตามพจนานุกรม# ผู้กระทำผิดตามที่ศาลออกหมายจับ นั้น จึงไม่ใช้ผู้ปกครองหรือเลี้ยงดูเด็ก”ด้วยความยินยอมของ บิดามารดา ผู้ตาย ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้

ดังนั้น ในความผิดฐานฆ่าคนตาย ข้อหานี้น่าเชื่อว่าคณะทำงานของท่าน ผบ.ตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งขึ้นนั้น น่าจะมีการจับผู้ต้องหาเพิ่ม ตามบทบัญญัติของกฏหมายดังกล่าวข้างต้น

(3) ผู้ใดกระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่า จะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ทวิ นั้น

คดีนี้ข้อเท็จจริง”ตามข่าว” แพทย์สถาบันนิติเวช จังหวัดอุบลได้ชั้นสูตรพลิกศพแต่แรกเสร็จสินแล้ว ว่า “สาเหตุการตายของน้องชมพู่”นั้น “ระบุชัเจน ว่า “ขาดสารอาหาร”ตำรวจก็ไต่สวนถึงสาเหตุการตายไปแล้วต่อศาลตามที่กฏหมายกำหนดภายใน30วัน

การไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาล ได้ความว่า”ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้ทำให้น้อง”ชมพู่ตาย” การไต่สวนและทำคำสั่งของศาลแห่งมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อาจเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนมีเส้นผมเพียง 26 เส้นในที่เกิดเหตุ เป็นกุญแจสำคัญ

ส่วนเส้นผมอีก 3เส้น ที่พบในรถของผู้กระทำผิดนั้น กับเครื่องพิสูจน์”ชินโครตอน”ที่ใช้ในอุตสหกรรม”ซีพี “นำมาตรวจ “เส้นผม” นั้น เป็นเรื่องที่ได้จากภายหลังที่ศาลชันสูตรศพผู้ตายเสริฐสิ้นแล้ว

ไม่ใช่เป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่มีกฏหมายรองความเป็นมาตราฐานสากล และผู้ตรวจเองต้องมีผู้เชี่ยวชาญตามหลักเกณท์ของแพทย์สภาเป็นที่ยอมรับด้วย

เชื่อว่าทางฝ่ายทนายผู้ถูกศาลออกหมายจับ นั้น ต้องขอหมายเรียกจากศาลมาใช้ประกอบการทำค้าน

เพื่อทำลายน้ำหนัก ว่าผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจเส้นผม 3 เส้น ไม่ใช่ผู้เชียวชาญที่มีองค์ความรู้ตาม มาตราฐานแพทย์สภา และเครื่องตรวจพิสูจน์
“ซินโครตอน”ไม่มีมาตราฐานที่เป็นสากลที่มีกฏหมายขึ้นทะเบียนเป็นที่ยอมรับ ตามกฏหมาย

กรณี จึงไม่ใช่สาเหตุทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปตามที่เป็นข่าวว่ามีการเอาศพผู้ตายไปอำพรางข้อสันนิษของตำรวจรับฟังประกอบกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นหมอผี ผู้ทรงเจ้าเข้าผี หมอผี ปราบสัมพะเวสี หรือการที่พระนั่งทางใน แม่ชี ที่พบเห็น ต่างๆ มาในนิมิตรนั้น นั้น เรื่องทางไสยศาสตร์ เจตนารมย์ของกฏหมาย ไม่เปิดช่องให้ศาลลงโทษได้

จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม