ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #สงครามทะเลระทึก!!ไทยซ้อมรบอิโดอีก

#สงครามทะเลระทึก!!ไทยซ้อมรบอิโดอีก

27 July 2017
545   0

                  SEA GARUDA 2017   ส่งหมู่เรือฝึกผสม SEA GARUDA 2017 เรือหลวงคีรีรัฐ-เรือหลวงสุโขทัย ฝึกร่วมกองทัพเรืออินโดนีเซีย พร้อม นาวิกโยธิน รวมกว่า 500 นาย

Wassana Nanuam  – พล.ร.ต.โฆสิต เจียมศุภกิตต์ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีส่งหมู่เรือฝึกผสม SEA GARUDA 19 AB – 17 (การฝึก SEA GARUDA ครั้งที่ 19 Aboard:นอกประเทศ ปี 2017 ที่ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ซึ่งหมู่เรือฯ จะทำการฝึกการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่างๆ ร่วมกับการฝึกของกำลังพลนาวิกโยธิน ทั้ง 2 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ , การปฏิบัติการที่สำคัญ และเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น จนถึง- 20 ส.ค.60
เส้นทางในการฝึก ตั้งแต่ฐานทัพเรือสัตหีบ – เมืองสุราบายา – เมืองเซมารัง – ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมี น.อ.สุรศักดิ์ ประทานวรปัญญา เสนาธิการ กองเรือฟรีเกตที่ 1 เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึกผสม SEA GARUDA 2017
ในส่วนของกองทัพเรืออินโดนีเซีย กำหนดให้ RADM.Darwanto ผู้บัญชาการกองเรือภาคตะวันออก ทำหน้าที่ รับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการฝึก , CAPT.Rudhi Aviantara ผู้บัญชาการกองเรือเรือเร็วโจมตี เป็น ผู้บังคับหมู่เรือ CTG. (Commander Task Group)

กำลังที่เข้าร่วมการฝึก 
กองทัพเรือไทย ประกอบด้วย

– เรือหลวงคีรีรัฐ (ร.ล. คีรีรัฐ) ซึ่งมี น.ท.กงกฤช พลยิ่ง เป็นผู้บังคับการเรือ 

– เรือหลวงสุโขทัย (ร.ล.สุโขทัย) ซึ่งมี น.ท.นาวี เหลืองผยุง เป็นผู้บังคับการเรือ

– กำลังนาวิกโยธิน (ฝึกในระดับผู้เชี่ยวชาญ)

กองทัพเรืออินโดนีเซีย ประกอบด้วย 

เรือฟริเกตชั้น Fatahillah จานวน 2 ลำ

– เรือ KRI Fatahillah หมายเลข 361 

– เรือ KRI Nala หมายเลข 363

– กำลังนาวิกโยธิน

– เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือแบบ BO-105 

– เครื่องบินตรวจการณ์แบบ CN-235 

– กำลังนาวิกโยธิน
หัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย

ขั้นการฝึกในท่า (ระหว่าง 2 – 4 ส.ค.60) เป็นการวางแผนการฝึก , การฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX) โดยใช้เครื่องฝึกจำลองยุทธ์ , การเยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาของทั้ง 2 ประเทศ , การแข่งขันกีฬา , การแลกเปลี่ยนนายทหารติดต่อ ตลอดจนการทดลองการติดต่อสื่อสารก่อนเดินทางไปฝึกในทะเล
ขั้นการฝึกในทะเล (ระหว่าง 5 – 7 ส.ค.60) บริเวณทะเลชวา เป็นการฝึกการนำเรือผ่านช่องทางกวาด (เขตปลอดภัยจากภัยคุกคาม เช่น ทุ่นระเบิด) , การฝึกยิงปืนประจำเรือ , การฝึกป้องกันความเสียหายในเรือ , การฝึกแปรกระบวน , การฝึกรับ – ส่งสิ่งของในทะเล , การฝึกทัศนสัญญาณ , การฝึกตรวจค้นในทะเล , การฝึกค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล , การฝึกการปฏิบัติการทางเรือ ทั้ง 3 มิติ และ การฝึกแบ่งฝ่ายในการประลองยุทธ์
ขั้นหลังการฝึก (ระหว่าง 8 – 11 ส.ค.60) ประกอบด้วยการประชุมสรุปผลการฝึกเพื่อรับทราบ ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องข้อเสนอแนะ ทั้งการฝึกในท่า และในทะเล

การฝึกผสม Sea Garuda 19AB-17 ในปีนี้ มีความพิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือมีทหารนาวิกโยธิน เข้าร่วมการฝึกด้วย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีนาวิกโยธินของทั้งสองประเทศเข้าร่วมฝึก และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การฝึกกลยุทธ์ในการยกพลขึ้นบก , การดำน้ำ , การกระโดดร่ม , การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันในด้านการทหารช่าง , การส่งกาลังบารุง และการสื่อการ รวมไปถึงการฝึกภาคสนาม ซึ่งกาลังนาวิกโยธินฝ่ายไทย มี น.อ.ขวัญชัย ขาสม รองเสนาธิการกองพลนาวิกโยธิน เป็นหัวหน้าชุด
ความเป็นมาของการฝึก


การฝึกผสม SEA GARUDA เป็นการฝึกผสมระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองทัพเรืออินโดนีเซีย โดยเริ่มทาการฝึกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2518 ภายใต้ชื่อรหัสการฝึกผสม “SEA GARUDA 1″ ใช้พื้นที่การฝึก บริเวณอ่าวไทย ครั้งนั้น กองทัพเรืออินโดนีเซียจัดเรือมาร่วมการฝึก จานวน 2 ลำ ซึ่งการฝึกเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย และเสริมสร้างสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือทั้งสองประเทศ ภายหลังเสร็จสิ้นการฝึก กองทัพเรืออินโดนีเซียได้เสนอให้ทำการฝึกต่อไปในปี 2519 ที่เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย แต่ในปีดังกล่าว กองทัพเรือไทยได้ของดการฝึก และได้ทำการฝึกร่วมอีกครั้งในปี พ.ศ.2520 บริเวณทะเลชวา เส้นทาง สุราบายา – จาการ์ตา ภายใต้ชื่อรหัสการฝึกผสม ” SEA GARUDA II – 77″ และการฝึกครั้งต่อ ๆ มา ได้จัดให้มีการ ฝึกผสมทางเรือ และการฝึกผสมด้วยเครื่องฝึกจำลองยุทธ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2537 ได้มีการอนุมัติหลักการให้ ปรับวงรอบ การฝึกผสม SEA GARUDA จากเดิมปีเว้น 2 ปี เป็นปีเว้นปี โดยกองทัพเรือทั้งสองประเทศ สลับกันเป็นเจ้าภาพสืบต่อกันมาตราบจนปัจจุบัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึก


กองทัพเรือ และนาวิกโยธิน จากทั้งสองชาติกว่า 500 นาย จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ , มีความเข้าใจในทักษะพื้นฐานของการต่อต้านภัยคุกคามทางทะเล และการปฏิบัติการทางเรือ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการฝึกไปสู่ความมีมาตรฐาน (STANDARD NAVY) รวมไปถึงการพัฒนาส่งเสริมให้กำลังพลมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกองทัพเรือในการเป็น PROFESSIONAL NAVY ต่อไป และสิ่งสำคัญที่สุดของการฝึกระดับทวิภาคีในครั้งนี้จะช่วยให้กองทัพเรือทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์กันอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ทีมข่าว สำนักข่าว  vihok news