ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
ฟ้อง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กับพวกรวม 12 คนต่อศาลปกครอง ละเลยต่อหน้าที่
ที่ศาลปกครอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ที่ ( 18 กรกฎาคม 2565 ) เวลา 13’30น. นายบุญชัย วสุนธรา ทนายความ เป็นผู้ฟ้องคดี เป็นโจทก์ยื่นฟัอง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายธนกฤต จิตรอารีรัตน๋ เลขานุการฐัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายถวัล รุยาพร นายกสภาทนายความ นางสาวรวิวรรณ
จาตุรพิธพร กรรมการรผู้แทนกระทรวงยุติธรรม กับพวกรวม 12 คนผู้ถูกฟ้อง
คดี ต่อศาลปกครอง
“คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำ โดยไม่มีธอานาจหน้าที่ ละเลยต่อหน้าที่อันเกิดจากการใชัอำนาจตามทกฏหมายล่าช้าเก้นสมควร”
โดยนายบุญชัย วสุนธรา ทนายความ ผู้ฟ้องคดี กล่าวกับผู้สื่อข่าว”วิหกนิว”ว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยตำแหน่งเป็นนายกสภาพิเศษตามมาตรา 10 แห่ง ตามพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ .2528 มีอำนาจตามกฏหมายตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ ให้ นายกสภาทนายความกับพวกที่ถูกฟ้องคดีออกจากตำแหน่งได้
ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาในส่วนกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 22(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำกับดูแลสำนักงานกฏหมายกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่โดยตรงตามที่ได้รับมอบหมาย แต่รัฐมนตรียุติธรรมได้ละเลยต่อหน้าที่
นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร เป็นกรรมการรผู้แทนกระทรวงยุติธรรม เป็นคณะกรรมการ คณะกรรมการสภาทนายความ ปีบริหาร 2562-2565 มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ได้เข้าฟังการประชุม ชี้แจงแสดงความเห็น และแสดงความเห็นในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2565
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ยืนยันว่า ดูตามมาตรา 19 เป็นอำนาจคณะกรรมการมรรยาททนายความ สนับสนุน ให้นำคดีไปฟ้องศาลว่า ประกาศประธานกรรมการมรรยาททนายความ (นายพนิต บุญชะม้อย) ไมผ่านที่ประชุมคณะกรรมการมรรยาททนายความ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น
นายบุญชัย วสุนธรา ทนายความ ผู้ฟ้องคดี ได้บรรยายฟ้องอันเป็นสารสำคัญว่า วันที่ 27 ธันวาคม 2564 ประธานกรรมการมรรยาททนายความ ปี พ.ศ.2562- 2565 (นายพนิต บุญชะม้อย) ประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ กับแต่งตั้ง คณะกรรมการอานวยการเลือกตั้ง โดยแต่งตั้งนายเจษฎา คงรอด เป็นผู้อานวยการเลือกตั้ง
ตาม ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทายความ พ.ศ.2529 ข้อ 3 ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2565 ผู้อานวยการเลือกตั้ง ประกาศกาหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2565 เวลา 9.00-15.00 นาฬิกา และประกาศกำหนดระยะเวลารับสมัครเป็นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 8.30-16.30 นาฬิกา
ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 18 และมาตรา 19 ข้อบังคับสภาทนายความ ว่า ด้วยการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ พ.ศ.2529 ผู้ฟ้องคดีได้ใช้สิทธิตามกฎหมาย สมัครเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาทนายความส่วนกลาง โดยได้รับเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร 1 รายละเอียด เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 1 – 4 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีนี้
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กับพวก12 คนผู้ถูกฟ้องคดี รู้อยู่แล้วว่า ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาและวินิจฉัยตามคดี คาสั่ง คำร้องที่ คร.109/2562 คำสั่งที่ คร.123/2563 ว่า การเลือกตั้งไม่ใช่อำนาจประธานคณะกรรมการมรยาททนาย ความ (ที่ถูก ประธานกรรมการมรรยาททนายความ)
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาศาลปกครองตามหมายเลขคดีดำที่ 189/2565 คดีแดงที่ 371/2565 วินิจฉัยว่า “คำสั่งของนายพินิจ บุญชม้อย “ที่จัดให้มีการเลือกตั้ง นายกสภาทนายความและทีมผู้บริหารสภาทนายความ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายแล้ว
การที่นายเกษม สรศักดิ์เกษม (ประธานกรรมการมรรยาททนายความคนใหม่กับนายปัญญา จารุมาศ (รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ว่า คำสั่งนายพินิจ บุญชม้อย แต่งตั้งนายเจษฎา คงรอดเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฏหมายนั้น
ย่อมขัดแย้งกับคำสั่งและคำพิพากษาศาลปกครอง อันเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งนายกและทีมผู้บริหารสภาทนายความ
นายบุญชัย วสุนธรา ทนายความ จึงรวบรวมคำพิพากษาศาลปกครองไปร้องเรียน นายถวัล รุยาพร นายกสภาทนายความ มีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ร่วมกับ คณะกรรมการและกรรมการสภาทนายความ กระทาผิดวัตถุประสงค์ของสภาทนายความ หรือกระทำ การอันเป็นความเสื่อมเสียร้ายแรงแก่สภาทนายทนายความ
ให้รัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตาแหน่งได้ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ และให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ กฏหมายเขียนไว้โดยชัดแจ้งว่า เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เฉพาะ
นอกจากนี้ รัฐมนตรียังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตืทนายความ
แต่ว่าที่ ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ (เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) ได้สั่งการแทน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยไม่มีอำนาจ ว่า นายถวัล รุยาพร นายกสภาทนายทนายความ ไม่ได้กระทำผิดต่อหน้าที่ โดยไม่เสนอให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจสั่งการโดยตรง จึงไม่ชอบอันเป็นการละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด
ทั้งนี้ ว่าที่ ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ (เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) รู้อยู่แล้วว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( สานักงาน ก.พ.ร.)
ได้ตีความปัญหาข้อกฏหมาย ครั้งที่ 4/2562 เรื่องกรมสอบสวนคดีพิเศษหารือการมอบอการยนาจของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นการปฏิบัติงานทางปกครองในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ต้องมอบอำนาจให้ปลัดกระทรวงโดยตรง
มิใช่ ราชการเกี่ยวกับเมืองอย่างใด รัฐมนตรีจึงไม่อาจมอบนาจให้เลขานุการรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนได้โดยชอบ
นอกจากนี้ ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ (เลขานุการรัฐมนตรีว่ากากระทรวงยุติธรรม) ไม่ทำตัวเป็นกลาง ได้ใช้ตำแหน่งหน้าทีช่วยผู้บริหารสภาทนายความขึ้นเวทีหาเสียง อันเป็นการทดแทนบุญคุณ
ที่นายถวัล รุยาพร รับเพื่อนสาวคนสนิทของเลขารัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา อย่างเป็นทางการด้วยการมอบชุดขาวของเจ้าพนักงานตามประมวลกฏหมายอาญาในตำแหน่งที่ปรึกษาและได้มอบประกาศเดียรติคุณ
หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งต่อไปตามที่ นายปัญญา จารุมาศ (รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ทำให้นายบุญชัย วสุนธรา ทนายความ เดือดร้อนและเสียหาย ยากที่จะเยี่ยวยาให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ส่งผลให้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรม การสภาทนายความของผู้ฟ้องคดี ที่ได้รับเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร 1 ต้องเสียไป
จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง และขอศาลปกครองกลางได้โปรดมีคาสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนศาลมีการพิพากษาให้แก่ผู้ฟ้องคดี
โดยให้เพิกถอนคำสั่งนายปัญญา จารุมาศ (รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ นั้นเสีย ศาลปกครองรับคำฟ้องไว้พิจารณาตามหมายเลขคดีดำที่ 1636/2565